เจ. วาย. ปิลไล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ. วาย. ปิลไล
ประธานาธิบดีสิงคโปร์
รักษาการ
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2560 – 14 กันยายน พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง
ก่อนหน้าโทนี ตัน เค็ง ยัม
ถัดไปฮาลีมะฮ์ ยากบ
ประธานสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดี
ดำรงตำแหน่ง
กันยายน พ.ศ. 2548 – 2 มกราคม พ.ศ. 2562
ประธานาธิบดีเซลลัปปัน รามนาทัน
โทนี ตัน เค็ง ยัม
ฮาลีมะฮ์ ยากบ
ก่อนหน้าซิม คีบุน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 มีนาคม พ.ศ. 2477 (90 ปี)
กลัง รัฐเซอลาโงร์ บริติชมาลายา (ปัจจุบัน มาเลเซีย)
คู่สมรสบีทริซ ราซัมมะฮ์ (สมรส 2506)
ศิษย์เก่าราชวิทยาลัยลอนดอน

โจเซฟ ยุวราช ปิลไล (อังกฤษ: Joseph Yuvaraj Pillay, เกิด 30 มีนาคม พ.ศ. 2477) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เจ. วาย. ปิลไล (อังกฤษ: J. Y. Pillay) ดำรงตำแหน่งประธานสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดีของประเทศสิงคโปร์ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาการประธานาธิบดีสิงคโปร์ หลังจากการสิ้นสุดตำแหน่งของประธานาธิบดีโทนี ตัน เค็ง ยัม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เขาปฏิบัติงานในฐานะข้าราชการระดับสูง อดีตผู้บริหารร่วมของมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ และเป็นประธานคนแรกของสิงคโปร์แอร์ไลน์ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมบุกเบิกและพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ หลังจากการแยกตัวออกจากมาเลเซีย

ชีวิตและการทำงาน[แก้]

เจ. วาย. ปิลไล เกิด ณ เมืองกลัง รัฐเซอลาโงร์ บริติชมาลายา (ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) จบการศึกษาจากราชวิทยาลัยลอนดอน[1]

ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางคือการเป็นประธานของสิงคโปร์แอร์ไลน์คนแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2515 - 2535 ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นหนึ่งในสายการบินชั้นนำระดับโลก[1][2] และเป็นข้าราชการระดับสูง เพียงไม่กี่คนของสิงคโปร์[3]

ดำรงตำแหน่งประธานตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ระหว่าง พ.ศ. 2542 - 2553[4] และประธานของไทเกอร์ แอร์เวย์ ใน พ.ศ. 2554 - 2557[5] ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดีสิงคโปร์[6]

เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 หลังจากการสิ้นสุดตำแหน่งของประธานาธิบดีโทนี ตัน เค็ง ยัม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จนกระทั่งการเข้าดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีฮาลีมะฮ์ ยากบ ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลารักษาการ 14 วัน[7]

รางวัล[แก้]

พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ได้มอบตำแหน่งศาสตราจารย์เพื่อเป็นเกียรติแก่การบริจาคเงินช่วยเหลือของเจ. วาย. ปิลไล[8][9]

ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ Darjah Utama Nila Utama ระดับเฟิร์สท์คลาส ในฐานะผู้ที่มีเกียรติสูงสุดในงานมอบรางวัลประจำวันชาติสิงคโปร์ เมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "J Y Pillay Profile". มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-05. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2012.
  2. Lee, S.H. (10 เมษายน 1998). "Ex-SIA chiefs honored as "legends'". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 2017-11-22.
  3. Ibrahim, Zuraidah (26 มีนาคม 1995). "J. Y. Pillay: Visionary with a clear focus". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 2017-11-22.
  4. "J Y Pillay to step down as SGX chairman at year-end". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-02. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2010.
  5. "Tiger Airways: Appointed Mr. J Y Pillay As Non-Executive Chairman". ShareInvestor. สืบค้นเมื่อ 29 August 2012.
  6. "Istana — Council of Presidential Advisers". Istana, Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2012.
  7. "Pillay takes on role of acting president". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2017.
  8. "NUS honours Prof J Y Pillay".
  9. "NUS honours J Y Pillay". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2012.
  10. "J Y Pillay awarded highest public service honour". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-10. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2012.