ข้ามไปเนื้อหา

ฮาลีมะฮ์ ยากบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาลีมะฮ์ ยากบ
Halimah Yacob
ฮาลีมะฮ์ใน ค.ศ. 2019
ประธานาธิบดีสิงคโปร์ คนที่ 8
ดำรงตำแหน่ง
14 กันยายน 2017 – 14 กันยายน 2023
นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง
ก่อนหน้าเจ. วาย. ปิลไล
ถัดไปตรรมัน จัณมุกรัตตินัม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1954-08-23) 23 สิงหาคม ค.ศ. 1954 (70 ปี)
อาณานิคมสิงคโปร์
พรรคการเมืองอิสระ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคกิจประชาชน (2001–2017)
คู่สมรสโมฮัมเม็ด อับดุลละฮ์ อัลฮับชี (สมรส 1980)
บุตร5
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสิงคโปร์ (LLB)
มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (LLM)
ลายมือชื่อ

ฮาลีมะฮ์ ยากบ (มลายู: Halimah Yacob; เกิดวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1954) เป็นนักการเมืองและทนายชาวสิงคโปร์ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสิงคโปร์คนที่ 8 ใน ค.ศ. 2017 ถึง 2023 ฮาลีมะฮ์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2017 อย่าง่ายดาย เธอเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศสิงคโปร์[2][3]

ก่อนดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เธอเคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาใน ค.ศ. 2013 ถึง 2017 ทาง Singapore University of Social Sciences (SUSS) ประกาศแต่งตั้งอดีตประธานาธิบดี ฮาลีมะฮ์ ยากบ เป็นอธิการบดีคนใหม่ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2023[4]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

ฮาลีมะฮ์เกิดในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1954 ในบ้านครอบครัวที่ควีนสตรีท ประเทศสิงคโปร์[5] จากพ่อเชื้อสายอินเดียและแม่เชื้อสายมลายู[6][7] พ่อเธอเป็นยามรักษาการณ์ที่เสียชีวิตจากอาการหัวใจล้มเหลวตอนเธออายุ 8 ขวบ ทำให้เธอกับพี่น้อง 4 คนได้รับการเลื้ยงดูจากแม่จนเป็นผู้ใหญ่[8][9][10] ตอนที่พ่อเสียชีวิต ครอบครัวของเธอยากจน และเธอช่วยแม่ขายนาซีปาดังนอกอดีตสิงคโปร์โพลิเทคนิค (ปัจจุบันคือ Bestway Building) ริมถนนพรินซ์เอ็ดเวิร์ด[11][12]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ฮาลีมะฮ์แต่งงานกับโมฮัมเม็ด อับดุลละฮ์ อัลฮับชี[13][14] ผู้มีเชื้อสายอาหรับ[15] และให้กำเนิดลูก 5 คน[16] โมฮัมเม็ดจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาฟิสิกส์ ที่นั่นเป้นบริเวณที่เขาพบกับฮาลีมะฮ์ครั้งแรก[17][18]

แม้ว่าฮาลีมะฮ์ถูกจัดเป็นมุสลิมเชื้อสายอินเดีย เนื่องจากเชื้อสายของพ่อ[6][8] เธอหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 2017 ในฐานะผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งชาวมลายู และเธอระบุตนเองเป็นมุสลิมเชื้อสายมลายู[10][19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Singapore's former President Halimah Yacob awarded nation's highest civilian honour". Channel NewsAsia. 25 ตุลาคม 2023.
  2. "PM Lee accepts Halimah Yacob's resignation from the PAP". Channel NewsAsia. 7 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2017. สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
  3. "Halimah Yacob named Singapore's first female president". Al Jazeera. 13 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2019. สืบค้นเมื่อ 2017-09-14.
  4. "Former president Halimah Yacob named as new SUSS chancellor". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 25 Sep 2023.
  5. hermesauto (2017-09-11). "Halimah Yacob set to be Singapore's first female president: A timeline of her career". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  6. 6.0 6.1 Long, Susan (25 January 2013). "New Speaker of Parliament Halimah Yacob tells Susan Long how she went from selling pushcart nasi padang and almost getting expelled from school to one of the highest offices in the land". The Straits Times.
  7. Low, Patrick Kim Cheng (2018). Leading successfully in Asia (Second ed.). Cham, Switzerland. ISBN 9783319713472.
  8. 8.0 8.1 Rajan, Uma (28 June 2016). "To Singapore with Love...". ใน Pillai, Gopinath & Kesavapany, Krishnasamy (บ.ก.). 50 Years of Indian Community in Singapore. World Scientific Publishing Co. p. 107. ISBN 978-9-813-14058-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2020. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017. Notable female politicians include Dhanam Avadai, PAP Member for Moulmein (1965–1968), lawyer Indranee Rajah, the current Senior Minister of State, Ministry of Law and Ministry of Education, and Indian-origin politician Halimah Yacob, former Minister and current Speaker of Parliament.
  9. Cheam, Jessica (10 January 2013). "A strong advocate for workers, women and minorities". The Straits Times. Singapore. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2017. สืบค้นเมื่อ 21 July 2017. Her Indian-Muslim father was a watchman who died when she was eight years old.
  10. 10.0 10.1 Tham, Yuen-C (17 July 2017). "More consultation needed before my decision to run for president: Halimah Yacob". The Straits Times. Singapore. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2017. สืบค้นเมื่อ 21 July 2017.
  11. Chang, Clarence (25 October 2006). "I feared for my life". New Paper. Factiva.
  12. Mokhtar, Faris (18 August 2017). "Mom's the inspiration for former Speaker". Today (newspaper). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2018. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.
  13. Tham, Yuen-C (17 July 2017). "More consultation needed before my decision to run for president: Halimah Yacob". Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2017. สืบค้นเมื่อ 29 July 2017.
  14. Nur Asyiqin Mohamad Salleh (29 August 2017). "Halimah Yacob unveils presidential election campaign slogan and team". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2017. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.
  15. "Getting to know Mohamed Abdullah Alhabshee, husband of Madam Halimah Yacob". Thoughts of Real Singaporeans. 11 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2017. สืบค้นเมื่อ 29 July 2017.
  16. Zhang, Laura (8 August 2017). "Our First Gentleman to be, Mohamed Abdullah Alhabshee". www.theindependent.sg. The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2017. สืบค้นเมื่อ 17 August 2017.
  17. "Our First Gentleman to be, Mohamed Abdullah Alhabshee". The Independent Singapore News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  18. "StackPath". theindependent.sg. 8 August 2017. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  19. "Halimah Yacob named Singapore's first female president". Al Jazeera. 14 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2019. สืบค้นเมื่อ 14 September 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]