เจ้าชายหฤทเยนทระแห่งเนปาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หฤทเยนทระ ศาหะ (เนปาล: हृदयेन्द्र शाह; ประสูติ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2545) เป็นสมาชิกของราชอาณาจักรเนปาลในอดีตและเป็นรัชทายาทอันดับ 2 ของเนปาล ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พระองค์จึงเป็นที่รู้จักในประเทศเนปาลในพระนามว่า นวยุวราช

หฤทเยนทระ วีรพิกรม ศาหะ
ประสูติ (2002-07-30) 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (21 ปี)
พระราชวังนารายันหิติ กาฐมาณฑุ ราชอาณาจักรเนปาล
พระนามเต็ม
หฤทเยนทระวีรพิกรมศาหเทวะ
ราชวงศ์ราชวงศ์ศาห์
พระราชบิดาเจ้าชายปารัสวีรพิกรมศาหเทวะ มกุฎราชกุมารแห่งเนปาล
พระราชมารดาเจ้าหญิงหิมานี มกุฎราชกุมารีแห่งเนปาล
ศาสนาศาสนาฮินดู

นวยุวราช[แก้]

เจ้าชายหฤทเยนทระ ประสูติเมื่อเวลา 12:49 น. ในพระราชวังนารายันหิติ ในกาฐมาณฑุ ราชอาณาจักรเนปาล เป็นโอรสเจ้าชายปารัสวีรพิกรมศาหเทวะ มกุฎราชกุมารแห่งเนปาล และเจ้าหญิงหิมานี มกุฎราชกุมารีแห่งเนปาล

พระอัยกาคือ สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเนปาลที่ถูกเนรเทศ ส่วนพระอัยยิกาคือ สมเด็จพระราชินีโกมลราชยลักษมีเทวีศาหะ ซึ่งเป็นสมาชิกของราชวงศ์ราณาตามประเพณีของชาวฮินดู พระองค์ได้รับการตั้งพระนามอย่างเป็นทางการว่า หฤทเยนทระวีรพิกรมศาหเทวะ ในพิธีที่พระราชวังนารายันหิติ 11 วันหลังจากประสูติ

ในศาสนาฮินดู มีพิธีมากมายในการเลี้ยงดูพระมหากษัตริย์ในอนาคต หฤทเยนทระ ได้รับพิธีป้อนข้าวตามประเพณี ที่พระราชวังนารายันหิติ หกเดือนหลังจากประสูติ พิธีดำเนินตามประเพณีในคัมภีร์พระเวท พระองค์ทรงเลี้ยงข้าวโดยพระมารดาและสมาชิกราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ ในระหว่างพิธี พระองค์ได้รับการถวาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากนายกรัฐมนตรี โลเกนดรา บะฮะดูร์ จัน และเจ้าหน้าที่รัฐบาลคนอื่น ๆ ตามลักษณะพิธีแบบดั้งเดิม ต่อมา หฤทเยนทระ ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในขบวนรถม้าและถูกนำไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในกาฐมาณฑุ ซึ่งมีการบูชาและประกอบพิธีกรรม นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นฝ่ายอารักขาในช่วงพิธีนี้ และอุ้มเจ้าชายไปรอบๆ วัดเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความผูกพันระหว่างประชาชนกับสถาบันกษัตริย์

ราชสันติวงศ์[แก้]

หฤทเยนทระ เป็นรัชทายาทอันดับ 2 ในสายการสืบสันตติวงศ์ของเนปาล ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 ก่อนที่ระบอบกษัตริย์จะถูกล้มล้าง รัฐบาลเนปาลได้ออกร่างแก้กฎมนเทียรบาลเพื่อแทนที่การสืบราชสันตติวงศ์แบบดั้งเดิม ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้อนุมัติร่างแก้กฎมนเทียรบาลให้สตรีสามารถขึ้นครองราชย์ได้ด้วยความเห็นชอบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร หากร่างกฎมณเทียรบาลถูกใช้จริง เจ้าชายหฤทเยนทระ จะถูกลงให้อยู่ในตำแหน่งที่ 3 ในการสืบราชสันตติวงศ์ เจ้าหญิงปูรณิกาแห่งเนปาล ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินี ของพระองค์จะถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นอันดับที่ 2 เนื่องจากมกำหนดไว้ว่าราชวงศ์ที่ยังมีชีวิตอยู่จะไม่ถูกลิดรอนจากตำแหน่งหรือ บรรดาศักดิ์ บทบัญญัติใหม่จะมีผลบังคับใช้สำหรับผู้ที่เกิดภายหลังการเปลี่ยนแปลงลำดับการสืบสันตติวงศ์

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มีการคาดเดาในเนปาลว่าพระบืดาและพระอัยกาของหฤทเยนทระจะหลีกทางให้พระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรี คิริชา ประสาท โกอิราลา ของเนปาลเรียกร้องให้กษัตริย์และมกุฎราชกุมารสละราชสมบัติเพื่อสนับสนุน หฤทเยนทระ แม้ว่าสิ่งนี้จะถูกปฏิเสธโดยกลุ่มลัทธิเหมา

การล้มล้างระบอบกษัตริย์[แก้]

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีการประกาศว่าเนปาลจะยกเลิกระบอบกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2551 หลังจากการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งเนปาล (Constituent Assembly of Nepal) ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจากรูปแบบราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย

ก่อนการยกเลิกระบอบกษัตริย์ หฤทเยนทระ เข้าเรียนที่ โรงเรียนนานาชาติรูปีในกาฐมาณฑุ พระเชษฐภคีนีกับพระขนิษฐาของพระองค์ซึ่งถูกปลดคือ เจ้าหญิงปูรณิกาแห่งเนปาล และ เจ้าหญิงกฤติกาแห่งเนปาล ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 หฤทเยนทระ ได้เสด็จลี้ภัยทางการเมืองพร้อมกับพระชนนี พระเชษฐภคีนี และพระขนิษฐา โดยได้ประทับอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เพื่อไปสมทบพระชนกที่ประทับอยู่ก่อนแล้วซึ่งประกอบธุรกิจในประเทศสิงคโปร์

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า เจ้าชายหฤทเยนทระแห่งเนปาล ถัดไป
เจ้าชายหฤทเยนทระแห่งเนปาล
ประสูติ: 30 July 2002
Nepalese royalty
สมัยก่อนหน้า
Paras, Crown Prince of Nepal
Line of succession to the Nepalese Throne
2nd position
Princess Purnika of Nepal