เครื่องหมายบาดเจ็บ
เครื่องหมายบาดเจ็บ | |
---|---|
เครื่องหมายบาดเจ็บในสีดำ เมื่อ ค.ศ. 1918 และ 1945 | |
รูปแบบ | เหรียญตรา |
รางวัลสำหรับ | ได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ |
จัดโดย | กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) กองทัพบกเยอรมัน (สงครามโลกครั้งที่สอง) |
คุณสมบัติ | เจ้าหน้าที่ทหาร และพลเมือง (หลัง ค.ศ. 1943) |
แคมเปญ | สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง |
สถานะ | ยกเลิก |
ก่อตั้ง | 3 มีนาคม ค.ศ. 1918 |
รางวัลสุดท้าย | ค.ศ. 1945 |
ทั้งหมด | 5 ล้านคนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง |
เครื่องหมายบาดเจ็บ (เยอรมัน: Verwundetenabzeichen) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทางทหารที่ประกาศใช้เป็นครั้งแรกโดยจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1918 โดยปูนบำเหน็จครั้งแรกแก่ทหารในกองทัพบกเยอรมันที่บาดเจ็บในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในช่วงระหว่างสงครามโลก ได้มีการปูนบำเหน็จแก่กองทัพบกเยอรมันที่สู้รบในฝ่ายชาตินิยมในสงครามกลางเมืองสเปนใน ค.ศ. 1938–39 และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบ[1] นอกจากนี้ยังเป็นรางวัลปูนบำเหน็จให้แก่สมาชิกของไรชส์เวร์ เวร์มัคท์ เอสเอส และองค์กรบริการเสริมในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังเดือนมีนาคม ค.ศ. 1943 ได้มีการปูนบำเหน็จแก่พลเมืองที่บาดเจ็บจากการโจมตีทางอากาศ เนื่องจากการทิ้งระเบิดแบบปูพรมของเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตร[2] และยังมีการให้รางวัลแก่ผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ของศัตรู[2] ใน ค.ศ. 1957 รัฐบาลเยอรมนีตะวันตกจัดรางวัลนี้กับรางวัลในสมัยนาซีอื่น ๆ ที่ขจัดนาซี[3] (ลบสวัสติกะออก) ในรูปแบบมาตรฐาน (ดำ, เงิน และทอง) ให้ชุดทหารของบุนเดิสแวร์ [4]
ระดับชั้น
[แก้]เหรียญเครื่องหมายบาดเจ็บจะมีอยู่ 3 แบบตามระดับขั้นคือ:
- สีดำ (ชั้นที่ 3) สำหรับผู้ที่บาดเจ็บครั้งเดียวหรือสองครั้งจากการกระทำที่เป็นศัตรู (รวมการโจมตีทางอากาศ)[2]
- สีเงิน (ชั้นที่ 2) สำหรับผู้ที่บาดเจ็บ 3 หรือ 4 ครั้ง[2]
- สีทอง (ชั้นที่ 1 ซึ่งสามารถให้หลังเสียชีวิตได้) สำหรับผู้ที่บาดเจ็บ 5 หรือ 6 ครั้ง[2]
นอกจากเหนือจากนั้นแล้วก็ยังได้มีเหรียญเครื่องหมายบาดเจ็บอีกแบบหนึ่งซึ่งถือเป็นเหรียญพิเศษคือเครื่องหมายบาดเจ็บในวันที่ 20 กรกฎาคม 1944 เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แบบใหม่เพื่อมอบให้แก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการลอบสังหารฟือเรอร์อดอลฟ์ ฮิตเลอร์ที่รังหมาป่าในแผนลับ 20 กรกฎาคม ซึ่งจะมีสามแบบตามระดับขั้นเช่นเดียวกัน.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Angolia 1987, p. 256.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Angolia 1987, p. 259.
- ↑ "Bundesministerium der Justiz: Gesetz über Titel, Orden und Ehrenzeichen, 26.7.1957. Bundesgesetzblatt Teil III, Gliederungsnummer 1132-1". German Federal law. สืบค้นเมื่อ 2020-09-04.
- ↑ "Dienstvorschriften Nr. 14/97. Bezug: Anzugordnung für die Soldaten der Bundeswehr. ZDv 37/10. (Juli 1996)". German Federal regulation. สืบค้นเมื่อ 2020-09-04.
ข้อมูล
[แก้]- Angolia, John (1987). For Führer and Fatherland: Military Awards of the Third Reich. R. James Bender Publishing. ISBN 0912138149.
- Steiner, John Michael (1976). Power Politics and Social Change in National Socialist Germany: A Process of Escalation into Mass Destruction. The Hague: Mouton. ISBN 978-90-279-7651-2.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- E.W.W. Fowler, Nazi Regalia (1992), Brompton Books Corp. ISBN 1-55521-767-2