เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีน
เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีน | |
---|---|
เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีน (มิถุนายน 2013) | |
ชื่อทางการ | Xudafərin SES, سد خداآفرین |
ประเทศ | อิหร่าน/อาเซอร์ไบจาน |
ที่ตั้ง | โฆมอร์ลู จังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออก /ซอลทันลือ เขตแจบรายึล |
พิกัด | 39°9′35″N 46°56′05″E / 39.15972°N 46.93472°E |
สถานะ | ดำเนินการ |
เริ่มก่อสร้าง | ค.ศ. 1999 |
เปิดดำเนินการ | 2008 |
เจ้าของ | บริษัทร่วมทุนอาแซเรเนร์จี (Azərenerji ASC)/บริษัทร่วมทุนจัดการน้ำภูมิภาคอาเซอร์ไบจานตะวันออก (شرکت سهامی آب منطقه ای آذربایجان شرقی) |
เขื่อนและทางน้ำล้น | |
ชนิดของเขื่อน | เขื่อนดินถม |
ปิดกั้น | แม่น้ำแอแรส |
ความสูง | 64 m (210 ft)[1] |
ความยาว | 400 m (1,300 ft)[2] |
อ่างเก็บน้ำ | |
อ่างเก็บน้ำ | อ่างเก็บน้ำโฆดอ-ออแฟรีน |
ปริมาตรกักเก็บน้ำ | 1.612 km3 (1,307,000 acre·ft)[3] |
ปริมาตรใช้การ | 1.495 km3 (1,212,000 acre·ft) |
พื้นที่ผิวน้ำ | 20 km2 (7.7 sq mi)[3] |
ชนิดของเขื่อน | เขื่อนดินถม |
โรงไฟฟ้า | |
กําลังการผลิตติดตั้ง | 102 MW (137,000 hp) |
เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีน (เปอร์เซีย: سد خداآفرین; อาเซอร์ไบจาน: Xudafərin SES) เป็นเขื่อนดินถมบนแม่น้ำแอแรส (เปอร์เซีย: ارس, อาเซอร์ไบจาน: Araz) ตั้งอยู่บนพรมแดนระหว่างประเทศอิหร่านกับประเทศอาเซอร์ไบจาน อยู่ห่างจากเมืองโฆมอร์ลู (เปอร์เซีย: خمارلو) ในจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออก ประเทศอิหร่าน ไปทางตะวันตก 8 กิโลเมตร (5.0 ไมล์) และอยู่ห่าง 14 กิโลเมตร (8.7 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงใต้จากซอลทันลือ (อาเซอร์ไบจาน: Soltanlı) เขตแจบรายึล ประเทศอาเซอร์ไบจาน ใน พ.ศ. 2536 ระหว่างสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่หนึ่ง กองกำลังของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคได้เข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว แต่ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ระหว่างสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง กองทัพอาเซอร์ไบจานได้เข้าควบคุมเขื่อนอีกครั้ง[4] เขื่อนตั้งอยู่ทางเหนือน้ำห่างจากสะพานโฆดอ-ออแฟรีน 1 กิโลเมตร (0.62 ไมล์)
วัตถุประสงค์ของเขื่อนคือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำและการชลประทาน ถือเป็นโครงการร่วมระหว่างสหภาพโซเวียตกับประเทศอิหร่าน โดยทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2520 การออกแบบเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2525 โครงการได้รับการทบทวนในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 และเริ่มการก่อสร้างใน พ.ศ. 2542[5]
เขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำใน พ.ศ. 2551 และเปิดดำเนินการใน พ.ศ. 2553 งานระบบชลประทานยังอยู่ระหว่างดำเนินการ[6] ในระหว่างการก่อสร้าง มีการค้นพบสถานที่ในยุคสัมฤทธิ์หลายแห่ง รวมถึงหลุมศพของนักรบชาวศากะและชาวซิท ใน พ.ศ. 2551 การเติมอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บถูกชะลอเพื่อการขุดค้นทางโบราณคดี[7][8] โรงไฟฟ้าของเขื่อนแห่งนี้ประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันคัพพลัน (Kaplan turbine) 4 ตัว (ด้านละ 2 ตัว) ซึ่งหมุนด้วยความเร็ว 166.67 รอบต่อนาที กำลังผลิตติดตั้งรวม 204 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 550 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี (แบ่งจ่ายไฟฟ้าให้กับแต่ละประเทศ 275 GWh)[9] และได้รับการออกแบบเพื่อรองรับพื้นที่การชลประทาน 75,000 เฮกตาร์ (190,000 เอเคอร์)[5][10]
อุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ของประธานาธิบดีอิหร่าน
[แก้]เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 อิลฮัม แอลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน และเอบรอฮีม แรอีซี ประธานาธิบดีอิหร่าน ได้ทำพิธีทดสอบการเดินเครื่องสถานีไฟฟ้าพลังน้ำโฆดอ-ออแฟรีน ซึ่งรับน้ำจากอ่างเก็บน้ำความจุ 503 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างทั้งหมด ในระหว่างการทำพิธีเปิดดำเนินการสถานีไฟฟ้าพลังน้ำกึซกาลาซือ (อาเซอร์ไบจาน: "Qız Qalası" su elektrik stansiyaları)[11][12] ทั้งสองสถานีคาดว่าจะผลิตพลังงานให้กับอิหร่าน 368 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี[13] หลังเสร็จสิ้นพิธีการ ประธานาธิบดีเอบรอฮีม แรอีซี และคณะ ได้เดินทางต่อไปยังเมืองแทบรีซซึ่งห่างออกไปทางใต้ประมาณ 130 กิโลเมตร เนื่องจากประธานาธิบดีแรอีซีมีกำหนดการจะเปิดโครงการโรงกลั่นน้ำมัน โดยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศอิหร่านแบบเบลล์ 212 ที่เป็นพาหนะได้ประสบอุบัติเหตุตกในพื้นที่ภูเขาห่างไกลในเขตโจลฟอ (เปอร์เซีย: شهرستان جلفا) ในจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออก ในเวลา 13:30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (10:00 GMT) ห่างจากหมู่บ้านอูซี (เปอร์เซีย: اوزی) ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ห่างจากเขื่อนกึซกาลาซือไปทางใต้ประมาณ 58 กิโลเมตร (36 ไมล์)[14][15][16] ปฏิบัติการค้นหาซากเฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าวกินเวลา 15 ชั่วโมง โดยหลังจากหน่วยกู้ภัยเข้าถึงที่เกิดเหตุ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดของเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ก็ได้รับการยืนยันการเสียชีวิต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Dams (>15 m) Under Construction in IRAN" (PDF). WRM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2012.
- ↑ "Construction operation of Khoda Afarin dam power plant was begun". Farab Co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2012.
- ↑ 3.0 3.1 "Reducing Transboundary Degradation in the Kura-Ara(k)s River Basin (updated transboundary diagnostic analysis)" (PDF). Tbilisi, Georgia; Baku, Azerbaijan; Yerevan, Armenia. September 2013. p. 26.
- ↑ Азербайджан взял под контроль Худаферинский мост в Карабахе, заявил Алиев [Azerbaijan took control of the Khudafarin Bridge in Karabakh, Aliyev said] (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 18 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2020.
- ↑ 5.0 5.1 "Reducing Transboundary Degradation in the Kura-Ara(k)s River Basin (updated transboundary diagnostic analysis)" (PDF). Tbilisi, Georgia; Baku, Azerbaijan; Yerevan, Armenia. กันยายน 2013.
- ↑ سد خداآفرین 30 هزار هکتار از اراضی آذربایجان شرقی را آبیاری خواهد کرد [Khodaafarin dam will irrigate 30 thousand hectares of land in East Azerbaijan] (ภาษาเปอร์เซีย). WNN. 20 เมษายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2012.
- ↑ "Archaeologists rush to save Bronze Age sites in northwestern Iran". Mehr News Agency (via Payvand Iran News). 2 ธันวาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2012.
- ↑ "Grave of a Saka-Scythian Warrior Discovered at Khoda-Afarin Dam Reservoir". The Circle of Ancient Iranian Studies. 8 ธันวาคม 2008.
- ↑ تکمیل و ساخت سد و نیروگاههای "خداآفرین" و "قیزقلعه سی" سرعت میگیرد [The completion and construction of the dam and power plants of "Khodaafarin" and "Giz Galasi" is gaining speed]. ایسنا (ภาษาเปอร์เซีย). 27 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2021.
- ↑ "Farab Co. - Energy & Water Projects". www.farab.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011.
- ↑ "Azerbaijan, Iran inaugurate Giz Galasi hydroelectric complex on Aras River". Yeni Şafak. 19 พฤษภาคม 2024.
- ↑ "Ceremony to commission "Khudafarin" hydroelectric complex and inaugurate "Giz Galasi" hydroelectric complex was held with participation of Azerbaijani and Iranian Presidents". Azerbaijan State News Agency. 19 พฤษภาคม 2024.
- ↑ "Xudanın da afərin dediyi layihə necə həyata keçirildi?" [How was the project that God said was "well done" implemented?] (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). Müsavat. 21 ตุลาคม 2020.
- ↑ "Ebrahim Raisi: What we know about deadly Iran helicopter crash". BBC. 20 พฤษภาคม 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024.
- ↑ Sharma, Divyam, บ.ก. (20 พฤษภาคม 2024). "Turkish Drone Draws Star, Crescent After Finding Iran President's Chopper: The chopper navigated through dense fog and harsh weather and crashed in the mountains of Jofa a few minutes after taking off". ndtv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024.
- ↑ Gambrell, Jon (20 พฤษภาคม 2024). "Iran's president and foreign minister die in helicopter crash at moment of high tensions in Mideast". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024 – โดยทาง MSN.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีน