ข้ามไปเนื้อหา

ฮาจิโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฮะชิโก)
ฮาจิโก
ハチ公
ฮาจิโกในวัยชรา
สปีชีส์สุนัข
สายพันธุ์อากิตาอินุ
เพศผู้
เกิด10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466
เมืองโอดาเตะ จังหวัดอากิตะ จักรวรรดิญี่ปุ่น
ตาย8 มีนาคม พ.ศ. 2478 (11 ปี)
เขตชิบูยะ โตเกียว
ที่ไว้ซากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น ในอูเอโนะ โตเกียว
เป็นที่รู้จักสำหรับการรอคอยการกลับมาของเจ้าของที่เสียชีวิตแล้วเป็นเวลา 10 ปี
เจ้าของฮิเดซาบูโร อูเอโนะ
สัณฐานขนสีขาวเจือครีม

ฮาจิโก (ญี่ปุ่น: ハチ公โรมาจิHachikō) (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2478) เป็นสุนัขที่เป็นที่รู้จักในนามของ "สุนัขยอดกตัญญู ฮาจิโก" (忠犬) เป็นสุนัขสายพันธุ์อากิตะ ฮาจินั้นเป็นสัญลักษณ์ถึงความจงรักภักดีอันน่าทึ่งจากการที่มันเฝ้ารอเจ้านายของมันเป็นเวลาหลายปี แม้ว่าเจ้านายของมันจะเสียชีวิตไปแล้ว

ในปัจจุบันฮาจิเป็นสัญลักษณ์ของความสัตย์ซื่อ หนุ่มสาวญี่ปุ่นจะไปสัญญารักต่อกันหน้ารูปหล่อของฮาจิโกที่สถานีรถไฟดังกล่าว

ชีวิต

[แก้]
บรรยากาศสถานีชิบูยะในช่วงรัชศกไทโช-โชวะ

ในปี ค.ศ. 1924 ฮิเดซาบูโร อูเอโนะ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการเกษตรกรรมแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์อากิตาอินุ ไว้ และตั้งชื่อให้ว่า "ฮาจิ" ซึ่งในตอนเย็นของทุกวัน ฮาจิจะไปรอเขาใกล้ ๆ กับสถานีรถไฟชิบูยะ เป็นเช่นนี้อยู่ทุกวันจนกระทั่งในวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1925 ศาสตราจารย์อูเอโนะได้เสียชีวิตจากภาวะเลือดออกในสมอง ทำให้ในวันนั้นเจ้านายของฮาจิไม่ได้กลับไปที่สถานีรถไฟ ถึงกระนั้นในทุก ๆ วัน ฮาจิก็ยังคงมารอเจ้านายของมันที่สถานีชิบูยะ[1]

ตลอดช่วงเวลานั้น ฮาจิโกะกลายเป็นที่สะดุดตาของคนที่สัญจรไปมา หลายคนในสถานีรถไฟนั้นล้วนเคยเห็นฮาจิโกกับเจ้านายของเขาในแต่ละวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ในสถานีรถไฟบางคนก็ไม่ได้เป็นมิตรต่อเจ้าฮาจิโกมากนัก อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1932 ภายหลังจากที่มีคนเขียนบทความเกี่ยวกับเจ้าฮาจิโกและเจ้านายของเขาลงในหนังสือพิมพ์อาซาฮิ ก็เริ่มมีผู้คนจำนวนหนึ่งที่นำขนมและอาหารไปให้แก่เจ้าฮาจิโก ซึ่งหากรวมระยะเวลาทั้งหมดแล้ว เป็นเวลากว่า 9 ปีภายหลังการเสียชีวิตของศาสตราจารย์อูเอโนะ ที่เจ้าฮาจิโกได้มาเฝ้ารอการกลับมาของเจ้านายทุกวัน

สื่อสิ่งพิมพ์

[แก้]
ร่างของฮาจิโกถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น

ค.ศ. 1932 นักศึกษาคนหนึ่งในอูเอโนะ (ที่เชี่ยวชาญในการผสมพันธุ์สุนัขอากิตะ) เห็นฮาจิที่สถานีและตามเขาไปในบ้านของคิกูซาบูโร โคบายาชิ อดีตคนสวนของศาสตราจารย์อูเอโนะ[2]) ทำให้เขาได้ทราบถึงประวัติของฮาจิโก ไม่นานหลังจากนั้น นักศึกษาได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับประชากรสุนัขอากิตะในญี่ปุ่น ซึ่งในงานวิจัยของเขาพบว่ามีสุนัขอากิตะพันธุ์แท้เพียง 30 ตัวที่เหลืออยู่ ซึ่งเจ้าฮาจิโกเป็นหนึ่งในนั้น

เขากลับไปเยี่ยมฮาจิโกบ่อยขึ้น และในปีที่เขาตีพิมพ์บทความหลายเรื่องเกี่ยวกับความจงรักภักดีที่น่าทึ่งของฮาจิโกในปี 1932 หนึ่งในบทความเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ในโตเกียว โดยหนังสือพิมพ์อาซาฮิชิมบุง ซึ่งทำให้ฮาจิเป็นที่สนใจขึ้นมาทันทีจากทั้งประเทศ เรื่องราวของฮาจิโกกลายเป็นเรื่องโด่งดังระดับชาติ ความสัตย์ซื่อและความทรงจำของเจ้านายของมัน เป็นที่ประทับใจของชาวญี่ปุ่นจากจิตใจที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดี ครูและผู้ปกครองจำนวนมากได้เล่าเรื่องนี้แก่ลูกหลานเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับเด็กที่ควรจะปฏิบัติตาม ในด้านของความจงรักภักดีและรู้คุณ

ในที่สุดความซื่อสัตย์และตำนานของฮาจิโกกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติในด้านความจงรักภักดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคจักรวรรดินิยม ที่ผู้คนจงรักภักดีต่ออย่างสุดซึ่งต่อองค์จักรพรรดิ[3]

วันที่มรณะของฮาจิโก

[แก้]
ภาพสุดท้ายของฮาจิโก ในวันที่ฮาจิโกตาย

ฮาจิโกตายลงในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ 1935 บริเวณถนนในชิบูยะ[4] ซึ่งหลังจากฮาจิโกตาย ร่างของมันได้ถูกรักษาไว้ ต่อมาในปี ค.ศ. 2011 ร่างของฮาจิโกถูกชันสูตรที่มหาวิทยาลัยโตเกียวเกี่ยวกับสาเหตุการตาย ซึ่งพบว่ามีพยาธิที่ตับและหัวใจ และมีปัญหาที่ระบบทางเดินอาหาร [5][6]

ป้ายอนุสรณ์ของฮาจิโก ตั้งอยู่ข้างหลุมศพของศาสตราจารย์อูเอโนะ

ในปัจจุบันร่างของฮาจิโกถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น[7][8] ป้ายอนุสรณ์ของฮาจิโกตั้งอยู่ในสุสานอาโอยามะ เขตมินาโตะ กรุงโตเกียว[9] นอกจากนี้ ยังมีอนุสาวรีย์อยู่ที่หน้าสถานีรถไฟชิบูยะ ซึ่งเป็นจุดที่ฮาจิโกนั่งรอเจ้านาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dog faithfully awaits return of his master for past 11 years story Posted Aug 18, 2007 by Chris V. (cgull) in Lifestyle of Digital journal. Accessed July 8, 2008
  2. Bouyet, Barbara. Akita, Treasure of Japan, Volume II. Hong Kong: Magnum Publishing, 2002, page 5. ISBN 0-9716146-0-1. Accessed via Google Books April 18, 2010.
  3. Skabelund, Aaron Herald (23 September 2011). "Canine Imperialism". Berfrois. สืบค้นเมื่อ 28 October 2011. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. "Hollywood the latest to fall for tale of Hachiko," The Japan Times, June 25, 2009
  5. Mystery solved in death of legendary Japanese dog[ลิงก์เสีย]
  6. Associated Press, "Worms, not skewer, did in Hachiko เก็บถาวร 2012-07-29 ที่ archive.today", Japan Times, 4 March 2011, p. 1.
  7. Opening of the completely refurbished Japan Gallery of National Museum of Nature and Science เก็บถาวร 2007-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "In addition to the best-loved specimens of the previous permanent exhibitions, such as the faithful dog Hachikō, the Antarctic explorer dog Jiro and Futabasaurus suzukii, a plesiosaurus native to Japan, the new exhibits feature a wide array of newly displayed items." 2007 The National Science Museum, Tokyo. Accessed November 13, 2007
  8. Kimura, Tatsuo. "A History Of The Akita Dog". Akita Learning Center. สืบค้นเมื่อ May 6, 2011.
  9. Drazen, Patrick (2011). A Gathering of Spirits: Japan's Ghost Story Tradition: from Folklore and Kabuki to Anime and Manga. iUniverse. p. 101. ISBN 1462029426. Aoyama Cemetery contains a memorial to Hachiko on the site of Professor Ueno's grave. Some of Hachiko's bones are reportedly buried there, but in fact, Hachiko can still be seen -- stuffed, in the National Science Museum.