อู๋ โหย่วซวิ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อู๋ โหย่วซวิ่น
เกิด2 เมษายน 1897
เกาอาน มณฑลเจียงซี ราชวงศ์ชิง
เสียชีวิต30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977(1977-11-30) (80 ปี)
ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยชิคาโก
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยชิงหฺวา
มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงยัง
อาจารย์ที่ปรึกษาอาร์เทอร์ คอมป์ตัน
อู๋ โหย่วซวิ่นในปี 1921

อู๋ โหย่วซวิ่น (จีนตัวย่อ: 吴有训; จีนตัวเต็ม: 吳有訓; พินอิน: Wú Yǒuxùn, 2 เมษายน 1897[1]– 30 พฤศจิกายน 1977[2]) หรือยังรู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า Y. H. Woo[3] เป็นนักฟิสิกส์ชาวจีน และเป็นนักการศึกษา ผู้บุกเบิกฟิสิกส์จีนสมัยใหม่

ชีวิต[แก้]

แผ่นป้ายประกาศเกียรติคุณของอู๋ โหย่วซวิ่น

อู๋ โหย่วซวิ่นเกิดที่เมืองเกาอาน มณฑลเจียงซี[4] ในวันที่ 1 มีนาคม ปีกวางซวี่ที่ 23 (2 เมษายน ค.ศ. 1897) เขาเรียนในโรงเรียนเอกชนตั้งแต่ยังเด็ก ในปี 1916 เขาได้เข้าเรียนในภาควิชาฟิสิกส์และเคมีของมหาวิทยาลัยครูระดับสูงหนานจิง ได้เรียนกับอาจารย์หู กางฟู่ หลังจากสำเร็จการศึกษาในปี 1920 เขาก็ไปเป็นอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมในเมืองหนานชาง และโรงเรียนรัฐบาลในเซี่ยงไฮ้

ในเดือนมกราคม 1922 อู๋ โหย่วซวิ่นเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาในภาควิชาฟิสิกส์มหาวิทยาลัยชิคาโก โดยมีอาร์เทอร์ คอมป์ตันเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เขาได้ช่วยคอมป์ตันในการตรวจสอบและพัฒนาทฤษฎีปรากฏการณ์คอมป์ตัน ซึ่งเป็นการค้นพบพื้นฐานที่สำคัญของกลศาสตร์ควอนตัม หลังจากนั้นทำให้คอมป์ตันได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1927 สำหรับความสำเร็จทางทฤษฎีนี้

ในปี 1925 เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาฟิสิกส์จากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกนี้ เขาเดินทางกลับประเทศจีนในปี 1926 และทำงานที่มหาวิทยาลัยเจียงซี ในเดือนสิงหาคม 1927 เขาได้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ ของมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นที่สี่ (ซึ่งภายหลังคือมหาวิทยาลัยแห่งชาติจงยัง) ในปี 1928 เขาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์

ในปี 1937 ในช่วงที่ทำสงครามกับญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยชิงหฺวา มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และ มหาวิทยาลัยหนานไค ได้ย้ายไปก่อตั้งมหาวิทยาลัยชั่วคราวที่ฉางซา โดยมีอู๋ โหย่วซวิ่นเป็นคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และในปี 1945 เขาได้เป็นผู้อำนวยการของมหาวิทยาลัยแห่งชาติจงยัง

ในปี 1947 เขาได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาและเยี่ยมชม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์เพื่อทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ในปี 1949 เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของจีนภาคตะวันออก และยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคณะกรรมการกิจการมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง

ในช่วงยุคปฏิวัติวัฒนธรรมเขาได้รับการปกป้องและไม่ค่อยได้รับผลกระทบใด ๆ เขาเสียชีวิตในกรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1977

ระลึกถึง[แก้]

ในปี 2000 สมาคมฟิสิกส์จีนได้จัดตั้งรางวัลฟิสิกส์หู กางฟู่, เหรา ยวี่ไท่, เย่ ฉี่ซุน, อู๋ โหย่วซวิ่น, หวาง กานชาง เพื่อระลึกถึงนักฟิสิกส์อาวุโสคนสำคัญของจีนทั้ง 5 คนนี้ในจำนวนนี้ โดยรางวัลฟิสิกส์อู๋ โหย่วซวิ่นมอบให้กับนักฟิสิกส์ที่มี ความสำเร็จที่โดดเด่นในด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์

อ้างอิง[แก้]

  1. Nie Leng (1998). The Biography of Wu Youxun. China Youth Publishing House. pp. 543–. ISBN 978-7-5006-3014-2.
  2. Biographies of Modern Chinese Scientists. Science Press. 1991. pp. 108–.
  3. Lawrence R. Sullivan; Nancy Y. Liu-Sullivan (19 March 2015). Historical Dictionary of Science and Technology in Modern China. Rowman & Littlefield Publishers. pp. 453–. ISBN 978-0-8108-7855-6.
  4. Tsinghua University and Modern Chinese Science and Technology. Tsinghua University Press. 2006. pp. 43–. ISBN 978-7-302-12014-8.