ข้ามไปเนื้อหา

อูนางิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อูนางิ
อูนาจู อาหารญี่ปุ่นทำจากอูนางิ
แหล่งกำเนิดญี่ปุ่น
ส่วนผสมหลักปลาไหล
อูนาจู ในร้านอาหาร

อูนางิ (ญี่ปุ่น: ウナギโรมาจิUnagi) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้เรียกเนื้อปลาไหลน้ำจืด โดยเฉพาะปลาไหลญี่ปุ่น (Anguilla japonica; ญี่ปุ่น: 日本鰻โรมาจิnihon unagi)[1] อูนางิเป็นส่วนผสมทั่วไปในการประกอบญี่ปุ่นโดยเฉพาะคาบายากิ ระวังสับสนกับปลาไหลน้ำเค็มซึ่งภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า อานาโงะ

ในอาหารญี่ปุ่น

[แก้]

อูนางิเป็นส่วนประกอบหนึ่งของอูนาดง (บางครั้งเรียกว่า อูนางิดง โดยเฉพาะในรายการในร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศตะวันตก) อาหารจานดมบูริที่มีปลาไหลหั่นบางวางบนข้าว ขนมบิสกิตหวานชนิดหนึ่งเรียกว่า อูนางิพาย ที่ทำจากอูนางิป่น[2] อูนางิมีโปรตีน วิตามินเอ และแคลเซียมสูง[3]

ร้านอาหารที่เชี่ยวชาญเรื่องอาหารทำจากอูซางิโดยเฉพาะมีอยู่ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น และมักมีป้ายแสดงคำว่า อูนางิ พร้อมกับอักษร ฮิรางานะ (อ่านว่า อุ) ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของคำว่า อูนางิ ทะเลสาบฮามานะในเมืองฮามามัตสึ จังหวัดชิซูโอกะ ถือเป็นแหล่งของอูนางิคุณภาพสูงสุด ส่งผลให้ทะเลสาบรายล้อมไปด้วยร้านอาหารเล็ก ๆ จำนวนมากที่เชี่ยวชาญด้านอาหารที่ทำจากอูนางิที่หลากหลาย อูนางินิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อนในญี่ปุ่น ถึงขนาดมีวันพิเศษสำหรับการรับประทานอูนางิโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นวันกลางฤดูร้อนของปีฉลู (โดโยะ โนะ อูชิ โนะ ฮิ)[4] [5]

อูนากิว เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกซูชิที่มีปลาไหลและแตงกวา ปลาไหลมีพิษ[6] เว้นแต่จะปรุงให้สุก[7] ปลาไหลจึงถูกทำให้สุกเสมอ และในอาหารญี่ปุ่นมักเสิร์ฟพร้อมกับซอสทาเระ อูนางิที่ย่างโดยไม่มีซอสทาเระและปรุงรสด้วยเกลือเท่านั้นเรียกว่า "ชิรายากิ" [8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 日本鰻. Local Sensei. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2014. สืบค้นเมื่อ 27 May 2014.
  2. "浜松のお菓子処 春華堂". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-06. สืบค้นเมื่อ 2009-09-14.
  3. "Fresh-Water Eel (Unagi) Nutrition and Calorie count". pogogi.com.
  4. Yoshizuka, Setsuko. "About.com: Introduction to Japanese Unagi". สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
  5. "Health Hokkaido: Beef Saturday- The Origin of Eel Day". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-27. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
  6. Yoshida, Mireiyu; Sone, Seiji; Shiomi, Kazuo (December 2008). "Purification and characterization of a proteinaceous toxin from the Serum of Japanese eel Anguilla japonica". The Protein Journal. 27 (7–8): 450–454. doi:10.1007/s10930-008-9155-y. ISSN 1572-3887. PMID 19015964.
  7. Tesch, Friedrich-Wilhelm (2003). The eel. J. E. Thorpe (3rd ed.). Oxford, UK: Blackwell Science. p. 34. ISBN 978-1-4051-7343-8. OCLC 184983522.
  8. Savor Japan. "Unagi and Anago: 8 Wonderful Ways to Eat Japanese Eel". SAVOR JAPAN.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อูนางิ