อุบายสับตัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุบายสับตัว  
โฮมส์เข้ามาในสำนักงานของมอว์สันแอนด์วิลเลียมส์ ภาพวาดโดยซิดนีย์ พาเก็ตในนิตยสารสแตรนด์ปี ค.ศ. 1893
ผู้ประพันธ์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์
ชื่อเรื่องต้นฉบับThe Adventure of the Stockbroker's Clerk
ผู้แปลอ. สายสุวรรณ
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภาษาอังกฤษ
ชุดเรื่องสั้นเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุดจดหมายเหตุ
ประเภทเรื่องสั้นนวนิยายนักสืบ
วันที่พิมพ์มีนาคม ค.ศ. 1893
เรื่องก่อนหน้าหน้าเหลือง 
เรื่องถัดไปเรือบรรทุกนักโทษ 
ข้อความอุบายสับตัว ที่ วิกิซอร์ซ

"อุบายสับตัว" (อังกฤษ: The Adventure of the Stockbroker's Clerk) เป็นเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งใน 56 เรื่องที่เกี่ยวกับเชอร์ล็อก โฮมส์ เขียนโดยอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสารสแตรนด์ในสหราชอาณาจักรในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1893[1] และในนิตยสารฮาเพอส์วีกลีในสหรัฐอเมริกาในเดือนเดียวกัน[2] เป็นเรื่องสั้นลำดับที่ 4 จากทั้งหมด 12 เรื่องที่รวบรวมตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่องสั้นเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุในฉบับที่ตีพิมพ์ในอังกฤษ และเป็นลำดับที่ 3 จากทั้งหมด 11 เรื่องใน เรื่องสั้นเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุ ในฉบับที่ตีพิมพ์ในอเมริกา (เนื่องจากการตัดเรื่อง "ตามพิฆาต" ออกเพราะเนื้อเรื่องมีประเด็น "อื้อฉาว")

ประวัติการตีพิมพ์[แก้]

"อุบายสับตัว" ตีพิมพ์ครั้งแรกในสหราชอาณาจักรในนิตยสารสแตรนด์เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1893 และในสหรัฐอเมริกาในนิตยสารฮาเพอส์วีกลี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1893 และยังตีพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ฉบับสหรัฐเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1893[2] ในนิตยสารสแตรนด์มีภาพวาดประกอบเนื้อเรื่อง 7 ภาพวาดโดยซิดนีย์ พาเก็ต[3]และ 1 ภาพวาดโดย W. H. Hyde ตีพิมพ์ในนิตยสารฮาเพอส์วีกลี[4] เรื่องสั้นถูกรวมในหนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่องสั้นเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุ[3] ซีงตีพิมพ์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1893 ในสหราชอาณาจักร และเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 ในสหรัฐอเมริกา[5]

อ้างอิงและบรรณานุกรม[แก้]

อ้างอิง
  1. Klinger, Leslie S. (2005). The New Annotated Sherlock Holmes Volume I. New York: W. W. Norton & Company. p. 474. ISBN 0-393-05916-2.
  2. 2.0 2.1 Smith (2014), p. 77.
  3. 3.0 3.1 Cawthorne (2011), p. 79.
  4. "Harper's Weekly. v.37 Jan.-June 1893". HathiTrust Digital Library. สืบค้นเมื่อ 12 November 2020.
  5. Cawthorne (2011), p. 75.
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]