อุทกภัยในอ่าวเปอร์เซีย พ.ศ. 2567

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทกภัยในอ่าวเปอร์เซีย พ.ศ. 2567
ภาพถ่ายสีเท็จจากดาวเทียมเซนติเนล-2 ขององค์การอวกาศยุโรป เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567 แสดงพื้นที่ประสบอุทกภัยที่บริเวณเมืองดูไบของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
วันที่14 เมษายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน
ที่ตั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, โอมาน, อิหร่าน, บาห์เรน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, เยเมน
เสียชีวิต32 รวม
19 (โอมาน)[1]
8 (อิหร่าน)
4 (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
1 (เยเมน)
ทรัพย์สินเสียหายไม่ทราบ

อุทกภัยในอ่าวเปอร์เซีย พ.ศ. 2567 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อประเทศในบริเวณอ่าวเปอร์เซีย ในบางประเทศมีรายงานปริมาณฝนตกในช่วงนี้ใกล้เคียงกับที่ตกในหนึ่งปี อุทกภัยในครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทั่วทั้งภูมิภาค โดยเฉพาะในโอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[2] จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 24 คนในสามประเทศ

สาเหตุ[แก้]

พื้นที่อ่าวเปอร์เซียขึ้นชื่อเรื่องสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาฝนที่ตกหนักอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เกิดน้ำท่วมมากขึ้น[3][4] นักอุตุนิยมวิทยาจากมหาวิทยาลัยเรดดิง ที่พัฒนากระบวนการทำฝนเทียมให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระบุว่าฝนตกหนักในครั้งนี้มีสาเหตุมาจากพายุฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่[5] นักวิจารณ์หลายท่านเชื่อมโยงสภาพอากาศที่ไม่ปกตินี้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[6][7] ก่อนหน้านี้พื้นที่นี้ได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนและพายุไซโคลนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา[8] และด้วยอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น นักวิจัยคาดว่าจะความเสี่ยงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่อ่าวเพิ่มขึ้น[9]

ข้อกล่าวหาเรื่องการทำฝนเทียม[แก้]

หลังเหตุการณ์น้ำท่วม สำนักข่าวบางแห่งได้อ้างคำพูดของนักอุตุนิยมวิทยา อะห์มัด ฮาบิบ ผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อมโยงฝนที่ตกลงมาอย่างหนักกับโครงการฝนเทียมของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[10] เนื่องจากสภาพอากาศในทะเลทรายที่แห้งแล้งและอุณหภูมิสูง จึงมีการทำการเพาะเมฆในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ[11]

โอมาร์ อัล ยาซีดี รองอธิบดีศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวถึงข้อกล่าวหาดังกล่าวว่า ไม่ได้ดำเนินการเพาะเมฆใดๆ ในระหว่างเหตุการณ์นี้[12] นักวิจารณ์ข่าวคนอื่นๆ ยังได้ปฏิเสธความเชื่อมโยงกับกระบวนการเพาะเมฆ โดยระบุว่าเทคโนโลยีดังกล่าวเพิ่มปริมาณน้ำฝนได้เพียงเล็กน้อย และในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะมีการเพาะเมฆเฉพาะในพื้นที่ทางตะวันออกของประเทศเท่านั้น ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเขตเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น ผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ระบุว่าการเพาะเมฆจะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยมีระบุว่าการกล่าวหาและการนำเสนอข้อมูลที่เน้นไปที่กระบวนการการเพาะเมฆนั้นจะทำให้เข้าใจผิด[13]

นักอุตุนิยมวิทยาจากมหาวิทยาลัยเรดดิง ที่พัฒนากระบวนการทำฝนเทียมให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปฏิเสธข้อกล่าวหาและกล่าวว่ากระบวนการเพาะเมฆเป็นสาเหตุหลักของเหตุการณ์นี้[14] โดยให้เหตุผลว่ามีการพยากรณ์รูปแบบสภาพอากาศขนาดใหญ่ไว้ล่วงหน้าแล้ว และมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะได้รับอิทธิพลจากการเพาะเมฆ อีกทั้งยังเสริมว่าผลกระทบของการเพาะเมฆมักเกิดขึ้นเพียงระยะสั้น และคงอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมง

ปฏิกิริยา[แก้]

เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567 มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีบาห์เรน ซัลมาน บินฮะมัด บินอีซา อัลเคาะลีฟะฮ์ ได้ประกาศแผนการที่จะประเมินและชดเชยความเสียหายต่อบ้านเรือนของพวกเขาที่เกี่ยวข้อง[15] ในช่วงที่ฝนตกหนัก ได้มีการจัดตั้งกองกำลังร่วมฉุกเฉินทั่วประเทศระหว่างกระทรวงโยธาธิการและสภาเทศบาลทั้งสี่แห่งของบาห์เรน เพื่อประสานงานในการบรรเทาน้ำท่วม รวมถึงการกำจัดน้ำฝนออกจากถนนที่ถูกน้ำท่วมและสูบไปยังทะเลสาบอัล-ลูซี

ตำรวจโอมานดำเนินการปฏิบัติการ 152 ครั้งในการเข้าช่วยเหลือประชาชน 1,630 คนที่ติดค้างจากน้ำท่วมทั่วประเทศ[16]

ฮุสเซน อิบราฮิม ทาฮา เลขาธิการองค์การความร่วมมืออิสลามแสดงความเสียใจต่อผู้ประสบอุทกภัย[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Heavy Rain and Floods Kill 19 in Oman and Disrupt Dubai Airport". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 17 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.
  2. Singh, Marisha (18 April 2024). "Unusual weather system brings rain to Saudi Arabia, Bahrain" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 18 April 2024.
  3. "Fierce storm lashes UAE as Dubai diverts flights". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 16 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.
  4. Ahmar, Abir (30 August 2022). "Parched UAE turns to science to squeeze more rainfall from clouds". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2023. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.
  5. Knapton, Sarah (18 April 2024). "Reading University denies causing flooding in Dubai". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2024. สืบค้นเมื่อ 18 April 2024.
  6. Katwala, Amit. "No, Dubai's Floods Weren't Caused by Cloud Seeding". Wired (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 1059-1028. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 18 April 2024.
  7. Mulhern, Owen (17 September 2020). "Sea Level Rise Projection Map – The Persian Gulf". Earth.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2023. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.
  8. Wintour, Patrick (29 October 2021). "'Apocalypse soon': reluctant Middle East forced to open eyes to climate crisis". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2024. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.
  9. "Fourth day after disastrous storm, flash floods – Oman and UAE grapple with aftermath". Maktoob media (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 18 April 2024. สืบค้นเมื่อ 18 April 2024.
  10. "Dubai Grinds to Standstill as Cloud Seeding Worsens Flooding". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 16 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 18 April 2024.
  11. Vlamis, Kelsey. "Photos of torrential Dubai flash floods show the downsides of trying to control the weather". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.
  12. "Did controversial 'cloud seeding' flights cause torrential downpours and huge flooding in Dubai?". LBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.
  13. "What is cloud seeding and did it cause Dubai flooding?" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 17 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 18 April 2024.
  14. Muwahed, Joan (2024-04-17). "UAE government unit denies cloud seeding took place before Dubai floods". CNBC (ภาษาอังกฤษ).
  15. "THE BIG SPLASH: HRH Prince Salman orders compensation for rain-affected". Gulf Daily News. 17 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.
  16. "Over 1,600 Individuals Rescued in Oman After Flash Floods". Oman Moments (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2024. สืบค้นเมื่อ 18 April 2024.
  17. "OIC Secretary General Offers Condolences To Oman Over Flood Victims". UrduPoint (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.