อิมโนเดริเอโก
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
คำแปล: เพลงของริเอโก | |
---|---|
Himno de Riego | |
ราฟาเอล เดล ริเอโก ผู้เป็นที่มาของชื่อเพลง | |
เพลงชาติของ สาธารณรัฐสเปน | |
เนื้อร้อง | เอวาริสโต เฟร์นันเดซ เด ซาน มิเกล, ค.ศ. 1820 |
ทำนอง | โฆเซ มัลคอร์ โกมิส, ค.ศ. 1820 |
รับไปใช้ | ค.ศ. 1822 1873 และ 1931 |
เลิกใช้ | ค.ศ. 1823 1874 และ 1939[1] |
ตัวอย่างเสียง | |
อิมโนเดริเอโก (ขับร้อง) |
อิมโนเดริเอโก (สเปน: Himno de Riego) เป็นบทเพลงปลุกใจของสเปน มีต้นกำเนิดในช่วงทรีนิโอลิเบรัล (Trienio Liberal "ไตรวรรษเสรีนิยม") ระหว่าง ค.ศ. 1820–ค.ศ. 1823 ชื่อของเพลงนี้มีที่มาจากราฟาเอล เดล ริเอโก นายทหารและนักการเมืองสายเสรีนิยมของสเปน ผู้นำในการลุกฮือเพื่อนำรัฐธรรมนูญสเปนฉบับ ค.ศ. 1812 ที่มีเนื้อหาเชิงเสรีนิยมกลับมาใช้อีกครั้ง เอวาริสโต เฟร์นันเดซ เด ซาน มิเกล (Evaristo Fernández de San Miguel ) เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง และเชื่อกันว่าโฆเซ มัลคอร์ โกมิสเป็นผู้ประพันธ์ทำนอง
เพลงนี้ได้รับการประกาศให้เป็นเพลงชาติของสเปนใน ค.ศ. 1822 และถูกใช้สืบต่อมาจนกระทั่งรัฐบาลสายเสรีนิยมถูกล้มล้างในปีถัดไป อิมโนเดริเอโกเป็นหนึ่งในเพลงที่นิยมใช้ในฐานะเพลงชาติระหว่างสมัยสาธารณรัฐสเปนที่หนึ่ง (ค.ศ. 1873–1874) และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในสมัยสาธารณรัฐสเปนที่สอง (ค.ศ. 1931–1939) ภายหลังจากการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองสเปนใน ค.ศ. 1939 เพลงนี้ถูกใช้เป็นเพลงชาติของรัฐบาลสาธารณรัฐสเปนพลัดถิ่น จนกระทั่งมีการยุบรัฐบาลพลัดถิ่นใน ค.ศ. 1977 สองปีหลังจากระบอบเผด็จการฟรังโกสิ้นสุดลง
ประวัติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เนื้อร้อง
[แก้]เนื้อร้องต้นฉบับ (ค.ศ. 1820–1823)
[แก้]เนื้อร้องดังกล่าวนี้ถือเป็นเนื้อร้องฉบับดั้งเดิมที่ใช้ในสมัยทรีนิโอลิเบรัล (ค.ศ. 1820–1823)[1]: 289
ภาษาสเปน[2] | คำแปล |
---|---|
|
|
เนื้อร้องฉบับสังเขปแบบแรก (ค.ศ. 1931–1939)
[แก้]เนื้อร้องดังกล่าวนี้เป็นฉบับที่ใช้ในสมัยสาธารณรัฐสเปนที่สอง (ค.ศ. 1931–1939) ประกอบไปด้วยบทที่หนึ่ง บทที่สาม และบทที่เจ็ดของเนื้อร้องต้นฉบับ โดยมีการปรับเปลี่ยนเนื้อเพลงเล็กน้อย[1]: 247
ภาษาสเปน[3]: 263 | คำแปล |
---|---|
|
|
เนื้อร้องฉบับสังเขปแบบที่สอง
[แก้]เนื้อร้องดังกล่าวนี้ประกอบไปด้วยบทแรกและบทสุดท้ายของเนื้อร้องต้นฉบับ โดยมีการปรับเปลี่ยนเนื้อเพลงเล็กน้อย[3]: 264
ภาษาสเปน | คำแปล |
---|---|
|
|
ข้อขัดแย้ง
[แก้]ในประวัติของเพลงอิมโนเดริเอโก มีเรื่องราวของความขัดแย้งที่สำคัญเกิดขึ้นดังนี้
กุสโก ค.ศ. 1951
[แก้]ในบันทึกเรื่อง The Motorcycle Diaries (สเปน: Diarios de motocicleta) หรือบันทึกการเดินทางไปทั่วทวีปอเมริกาใต้ของเออร์เนสโต "เช" เกบารา ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงก่อนที่เขาจะเป็นนักปฏิวัติ เขาได้บรรยายถึงเหตุการณ์หนึ่งเกี่ยวกับเพลงนี้ที่เขาพบในเมืองกุสโก ประเทศเปรู ว่า ชาวเมืองกุสโกต้องการที่จะบรรเลงเพลงชาติสเปนเพื่อแสดงความขอบคุณจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก ผู้ปกครองประเทศสเปนขณะนั้น ที่ช่วยเหลือในการบูรณะโบสถ์คริสต์แห่งหนึ่งที่เสียหายจากภัยธรรมชาติ แต่ด้วยความเข้าใจผิด แทนที่วงดนตรีจะบรรเลงเพลงมาร์ชากราเดนารา (ชื่อเดิมของเพลงมาร์ชาเรอัล เพลงชาติสเปนในปัจจุบัน) พวกเขากลับบรรเลงเพลงอิมโนเดริเอโก ซึ่งเป็นเพลงต้องห้ามของสเปนเวลานั้น สร้างความไม่พอใจต่อชาวสเปนที่อยู่ในที่นั้นด้วย[4]
การแข่งขันเทนนิสเดวิสคัพ 2003
[แก้]ก่อนเริ่มการแข่งขันเทนนิสเดวิสคัพ 2003 รอบชิงชนะเลิศ ระหว่างสเปนกับออสเตรเลีย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ได้เกิดเหตุผิดพลาดขึ้นจากการบรรเลงเพลงอิมโนเดริเอโกในฐานะเพลงชาติสเปน แทนที่จะเป็นเพลงมาร์ชาเรอัล ซึ่งเป็นเพลงชาติของราชอาณาจักรสเปนปัจจุบัน[5][6] จากเหตุการณ์นี้ทำให้รัฐมนตรีกระทรวงกีฬาของสเปนยื่นหนังสือประท้วงต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน พร้อมเรียกร้องให้มีการขอโทษจากฝ่ายออสเตรเลีย ด้วยเห็นว่าการกระทำดังกล่าวถือเป็น "การคุกคามชาติสเปน"[7][8] ซึ่งภายหลังได้มีคำชี้แจงและขอโทษจากฝ่ายจัดการแข่งขันว่าเกิดจากความเข้าใจผิดของนักดนตรีผู้บรรเลงเพลง[9] อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายสเปนเห็นว่ายังไม่เป็นการเพียงพอ และต้องการให้รัฐบาลออสเตรเลียทำหนังสือชี้แจงอย่างเป็นทางการด้วย[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Téllez Cenzano, Enrique (2015). "La música como elemento de representación institucional: el himno de la Segunda República española" [Music as an element of institutional representation: the anthem of the Second Spanish Republic] (PDF). eprints.ucm.es. มหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซแห่งมาดริด. สืบค้นเมื่อ 2021-08-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Ribas, Federico (1931-05-23). "El Himno de Riego – Sus olvidados autores" [The Himno de Riego – Its forgotten authors] (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-25.
- ↑ 3.0 3.1 González Díez, Alfredo. "Alegres Soldados-Capitulo XXXIII" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2021-08-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ข้อความในบันทึกมีดังนี้
Los campanarios de la catedral, derribados por el terremoto de 1950, había sido reconstruidos por cuenta del gobierno del general Franco y en prueba de gratitud se ordenó a la banda ejecutar el himno español. Sonaron los primeros acordes y se vio el bonete rojo del obispo encarnarse más aún mientras sus brazos se movían como los de una marioneta: “Paren, paren, hay un error”, decía, mientras se oía la indignada voz de un gaita: “dos años trabajando, ¡para esto!”. La banda -no sé si bien o mal intencionada-, había iniciado la ejecución del himno republicano.
คัดจาก Diarios de motocicleta, capítulo El Señor de los Temblores, Ernesto Che Guevara - ↑ Diario AS, 28 de noviembre de 2003
- ↑ Fragmento de cobertura informativa en CNN+ (video)
- ↑ El País, 28 de noviembre de 2003
- ↑ Libertad Digital, 28 de noviembre de 2003
- ↑ BBC Sport: Spain demands Davis Cup apology. Friday, 28 November, 2003, 14:22 GMT
- ↑ Himne de la República a la Copa Davis (บันทึกการรายงานข่าวของสำนักข่าว CNN)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Himnos de Riego เก็บถาวร 2008-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน de IR, disponibles distintos formatos informáticos del himno (formato mp3, midi)
- Bazar Tricolor เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน de IR, disponible hasta nueve versiones del himno, con partitura y otros.
- Fonoteca republicana española Más versiones del himno
- MP3 file เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Partitur เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ursprüngliche Version von 1820 เก็บถาวร 2004-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน