ข้ามไปเนื้อหา

การหมักดอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาหารหมักดอง)

{{The integration of astronomical, philosophical, and spiritual concepts into consideration to lead to the creation of new formulas or ideas is interesting and challenging. We can consider these issues as follows:

      1. Astronomical Concepts

1. **The movement of the sun and moon**: Calculating the times of sunrise and moonset at specific times, such as 23:59 for the sun and 00:02 for the moon, requires complex astronomical formulas, including considering the Earth's position in the solar system.

  For calculating the position of the sun:
  \[
  \text{RA (Right Ascension)} = L + 180^\circ - \lambda
  \]
  \[
  \text{Dec (Declination)} = \arcsin(\sin(\epsilon) \sin(\lambda))
  \]
  where \(L\) is the longitude of the sun, \( \lambda \) is the ecliptic longitude, and \( \epsilon \) is the obliquity of the ecliptic.
      1. Philosophy and Spirituality

2. **The connection between science and religion**: Finding a balance between science and religion is challenging but not impossible. Many religions believe that humans have a deep connection with the universe, and studying astronomy may be one way to understand our role within this universe.

      1. Calculation and Symbolism

3. **The use of odd and even numbers**: The idea that odd numbers might disrupt the universe is an interesting symbolic concept, but in mathematics, both odd and even numbers play important roles in calculations and solving scientific problems.

4. **Artificial intelligence language**: Using artificial intelligence language to create formulas or calculation systems has high potential. Artificial intelligence can assist in complex calculations quickly and accurately.

      1. Cultural and Historical Integration

5. **The integration of culture and history**: Learning from the past and combining historical knowledge with modern science can create new perspectives and innovative ideas.}}

การหมักดอง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารพวกคาร์โบไฮเดรทในอาหารให้กลายเป็นสารประกอบอื่น เช่น แอลกอฮอล์ คาร์บอนไดออกไซด์ กรดน้ำส้ม กรดแล็กติก โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดปฏิกิริยา

ประเภทของการหมักดอง

[แก้]

การหมักดองแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

  1. การหมักที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ เช่น การหมักไวน์ เป็นต้น
  2. การหมักที่ทำให้เกิดกรดอะซีติค เช่น การหมักน้ำส้มสายชู เป็นต้น
  3. การหมักอื่นๆ เช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำปลา ปลาร้า ปลาเค็ม ปูเค็ม บูดู และนมเปรี้ยว เป็นต้น
  4. การหมักดองผักและผลไม้

ประโยชน์ของการหมักดอง

[แก้]
  • การหมักทำให้อาหารอยู่ในรูปที่ดูดซึมได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะรายที่เป็นโรคขาดอาหารอย่างรุนแรง เนื่องจากการหมักเป็นการย่อยสลายสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง เช่น โปรตีน ถูกย่อยให้เป็นกรดอะมิโน เป็นต้น
  • ทำให้อาหารมีรสและกลิ่นดีขึ้น
  • ทำให้อาหารมีสี มีกลิ่นและรสต่างออกไป เช่น ผักและผลไม้ดอง เป็นต้น
  • ทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่หลายอย่าง เช่น แอลกอฮอล์ และน้ำส้มสายชู ซึ่งเกิดจากการหมักอาหารแป้งและน้ำตาล
  • เปลี่ยนอาหารเป็นพิษ หรือบริโภคไม่ได้ให้บริโภคได้ เช่น ลูกตำลึงดิบมีรสขมกินไม่ได้ แต่ถ้าดองแล้วจะหายขม ลูกท้อกินไม่ได้ แต่ถ้าดองแล้วจะกินได้ เป็นต้น
  • อาหารหมักสามารถเก็บไว้ได้นานที่อุณหภูมิห้อง ไม่ต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำ
  • กระบวนการผลิตอาหารหมัก ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องใช้พิเศษ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำ
  • เสริมคุณค่าทางโภชนาการ เช่น การหมักน้ำผลไม้ให้เป็นไวน์ จะได้ประโยชน์ทางโภชนาการสูงกว่าน้ำผลไม้สด เต้าเจี้ยวและเต้าหู้ยี้จะมีประโยชน์สูงกว่าถั่วสุกธรรมดาในปริมาณเท่ากันเพราะมีราซึ่งประกอบด้วยโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุผสมอยู่ด้วย
  • อาหารหมักต้องการความระมัดระวังในด้านการสุขาภิบาลน้อยกว่าการแปรรูปโดยวิธีอื่นๆ เนื่องจากการใช้เกลือที่สูงก็จะช่วยในการกำจัดชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์อยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง หรือ เป็นอันตราย
  • อาหารหมักบางชนิดเกิดพลังงานความร้อน และเกิดแก๊ส ที่สามารถนำไปเป็นแก๊สหุงต้มได้
  • มีประโยชน์ในการนำไปใช้ผลิตสารอาหารและยาปฏิชีวนะบางอย่างได้

การแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการหมัก[1][2] การหมักเป็นวิธีการแปรรูปอาหารอย่างหนึ่งที่ทำกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ในกระบวนการหมักส่วนใหญ่อาศัยปฏิกิริยาจากปลาและอวัยวะภายในของปลาโดยมีเกลืออยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย น้ำปลาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการหมักที่มีการบริโภคตั้งแต่สมัยโบราณ

ผลิตภัณฑ์ประมงที่แปรรูปโดยการเกิดจากกระบวนการหมักจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่ของกระบวนการหมักผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้อาศัยปฏิกิริยาจากเอนไซม์ของเนื้อปลาและเอนไซม์จากอวัยวะภายในของปลา โดยมีการใส่เกลือปริมาณสูงในกระบวนการหมัก เพื่อป้องกันการเสียจากแบคทีเรีย เช่น กะปิ น้ำปลา

กลุ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองเช่นกันแต่ปฏิกิริยาในกระบวนการหมักมี 2 ระยะ คือระยะแรกเกิดจากเอนไซม์ในเนื้อปลา ระยะที่ 2 เกิดจากการเติมเชื้อจุลินทรีย์หรือคาร์โบไฮเดรตลงไปเป็นตัวเริ่มปฏิกิริยาในระยะที่ 2 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ เช่น ปลาร้า ปลาดอง

กลุ่มที่ 3 ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยอาศัยการย่อยสลายทางเคมี เช่น การเติมกรดบางชนิดลงไปเพื่อเร่งปฏิกิริยา จึงไม่จัดเป็นผลิตภัณฑ์พื้นเมือง เช่น การผลิตน้ำปลาในระยะสั้น โดยเติมกรดเกลือ (HCl) ลงไปช่วยย่อยสลาย ซึ่งใช้ระยะเวลาหมักไม่เกิน 1 เดือน แต่ถ้าเป็นการหมักน้ำปลาแบบพื้นเมืองต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปี น้ำปลาที่ได้จากกรรมวิธีเติมกรดลงไปนี้อาจให้กลิ่นและรสชาติแตกต่างจากน้ำปลาพื้นเมือง

นอกจากนี้ Owen and Mendoaz,1985 จัดประเภทของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากระบวนการหมัก เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

  1. ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่ปฏิกิริยาการหมักโดยอาศัยเอนไซม์ (Enzyme hydrolysis)
  2. ผลิตภัณฑ์ที่เก็บรักษาโดยอาศัยจุลินทรีย์ในกระบวนการหมัก (Products preserved by microbial fermentation)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-12.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-12.