ข้ามไปเนื้อหา

อาวีญงปาปาซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวังพระสันตะปาปาแห่งอาวีญง

อาวีญงปาปาซี[1] (อังกฤษ: Avignon Papacy) หรือ สมณสมัยอาวีญง คือช่วงเวลาที่พระสันตะปาปา 7 พระองค์ประทับ ณ เมืองอาวีญง ราชอาณาจักรฝรั่งเศส แทนการประทับที่กรุงโรมตามปกติ[2] สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างองค์พระสันตะปาปากับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส

ภายหลังจากความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8 กับพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 11 ผู้สืบทอดตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาต่อจากสมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8 และดำรงสมณศักดิ์ได้เพียง 8 เดือน การประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาให้อาร์ชบิชอปแบร์ทร็อง ชาวฝรั่งเศส ขึ้นดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ในปี ค.ศ. 1305 ทรงปฏิเสธที่จะเสด็จย้ายจากฝรั่งเศสไปประทับที่กรุงโรม และในปี ค.ศ. 1309 ทรงย้ายสันตะสำนักมายังรัฐพระสันตะปาปา ณ อาวีญง (อังกฤษ: Papal Enclave at Avignon) ซึ่งดำรงอยู่สืบต่อมาอีก 67 ปี ในบางครั้งการที่โรมไร้สมเด็จพระสันตะปาปาประทับอยู่ในครั้งนี้ถูกขนานนามว่า พระสันตะปาปาเป็นเชลยของบาบิโลน (Babylonian Captivity of the Papacy)[3][4] โดยสมเด็จพระสันตะปาปาที่ครองสมณศักดิ์ ณ อาวีญงทั้ง 7 พระองค์ถัดมาล้วนแล้วแต่เป็นชาวฝรั่งเศสทุกพระองค์[5][6] และในเวลาถัดมาก็ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1376 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 11 ทรงตัดสินพระทัยเสด็จจากอาวีญงและย้ายสันตะสำนักกลับกรุงโรม (เสด็จถึงกรุงโรม ณ วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1377) นับเป็นการสิ้นสุดลงของสมณสมัยอาวีญงอย่างเป็นทางการ

พระสันตะปาปาแห่งอาวีญง

[แก้]

พระสันตะปาปาอาวีญงปาปาซี 7 พระองค์มีพระนามดังนี้

  1. สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 5 - ค.ศ. 1305 - ค.ศ. 1314
  2. สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 22 - ค.ศ. 1316 - ค.ศ. 1334
  3. สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 12 - ค.ศ. 1334 - ค.ศ. 1342
  4. สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 6 - ค.ศ. 1342 - ค.ศ. 1352
  5. สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 6 - ค.ศ. 1352 - ค.ศ. 1362
  6. สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 5 - ค.ศ. 1362 - ค.ศ. 1370
  7. สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 11 - ค.ศ. 1370 - ค.ศ. 1378

ในปี ค.ศ. 1376 พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 11 ทรงย้ายกลับไปประทับที่กรุงโรมตามเดิม หลังจากนั้นก็เกิดการแตกแยกระหว่างพระคาร์ดินัลจึงทำให้มีผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา (Antipope) ขึ้นที่อาวีญงพร้อมกับโรม:

  1. ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7 - ค.ศ. 1378 - ค.ศ. 1394 (คนละองค์กับสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7)
  2. ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13 - ค.ศ. 1394 - ค.ศ. 1423 (คนละคนกับสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13) - (ถูกขับจากอาวีญงเมื่อ ค.ศ. 1403)

ช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1378 ถึงปี ค.ศ. 1417 เป็นช่วงเวลาที่นักวิชาการโรมันคาทอลิกเรียกว่า ศาสนเภทตะวันตก (Western Schism) หรือ “การโต้แย้งครั้งใหญ่เรื่องพระสันตะปาปาเท็จ” หรือที่บรรดานักประวัติศาสตร์ฝ่ายโปรเตสแตนต์เรียกกันว่า “มหาศาสนเภทครั้งที่สอง” เพราะเป็นการแตกแยกของพระคาร์ดินัลกลุ่มต่าง ๆ ผู้สนับสนุนพระสันตะปาปาที่โรม ที่อาวีญง และที่อื่นว่าใครเป็นพระสันตะปาปาที่แท้จริง จนกระทั่งมายุติลงจากผลการสังคายนาคอนชตันซ์ในปี ค.ศ. 1417 (Council of Constance) [7][8]

รัฐสันตะปาปา (ในปัจจุบันมีเพียงที่นครรัฐวาติกัน) ในขณะนั้นรวมไปถึงที่ดินบริเวณอาวีญงและบริเวณเล็ก ๆ และทางตะวันออก มาจนกระทั่งการปฏิวัติฝรั่งเศสจึงกลับไปเป็นของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1791

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 405
  2. The Avignon Papacy, P.N.R. Zutshi, The New Cambridge Medieval History: c. 1300-c. 1415, Vol. VI, Ed. Michael Jones, (Cambridge University Press, 2000), 653.
  3. Adrian Hastings, Alistair Mason and Hugh S. Pyper, The Oxford Companion to Christian Thought, (Oxford University Press, 2000), 227.
  4. Catholic Encyclopaedia entry para 7
  5. Joseph F. Kelly, The Ecumenical Councils of the Catholic Church: A History, (Liturgical Press, 2009), 104.
  6. Eamon Duffy, Saints & Sinners: A History of the Popes, (Yale University Press, 1997), 165.
  7. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Council of Constance[1]
  8. The History of the Council of Constance, page 403, Stephen Whatley, Jacques Lenfant, published by A. Bettesworth, 1730.

ดูเพิ่ม

[แก้]