อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2
ประวัติ
เจ้าของ
ผู้ให้บริการ
ท่าเรือจดทะเบียน
เส้นทางเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ(ระหว่างบริการของคูนาร์ด)
Ordered2507
อู่เรือจอห์น บราวน์ แอนด์ คอมพานี ไคลด์แบงก์, สกอตแลนด์
มูลค่าสร้าง29,091,000 ปอนด์
Yard number736
ปล่อยเรือ5 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
เดินเรือแรก20 กันยายน พ.ศ. 2510
สร้างเสร็จ26 พฤศจิกายน 2511 (เริ่มการทดลองทางทะเล)
Maiden voyage2 พฤษภาคม พ.ศ. 2512
บริการพ.ศ. 2511–2551
หยุดให้บริการ27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
รหัสระบุหมายเลข IMO: 6725418

สัญญาณเรียกขาน: GBTT (2511–2552), YJVW6 (2552–ปัจจุบัน)

ตัวเลขทางราชการอังกฤษ: 336703
สถานะโรงแรมและพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำที่ Mina Rashid ดูไบ
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ตัน): 70,327 ตัน
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 49,738 ตัน[2]
ความยาว: 293.5 เมตร (963 ฟุต)
ความกว้าง: 32 เมตร (105 ฟุต)
ความสูง: 52.1 เมตร (171 ฟุต)
กินน้ำลึก: 9.8 เมตร (32 ฟุต)
ดาดฟ้า: 10 ชั้น
ระบบพลังงาน:
  • หม้อไอน้ำ Foster Wheeler ESD II 3 ชุด (ดั้งเดิม)
  • MAN B&W 9L58/64 9 ชุด (ปรับปรุงปี 2530)
ระบบขับเคลื่อน:
  • กังหันไอน้ำ Brown-Pametrada 2 เครื่อง (ดั้งเดิม)
  • มอเตอร์ขับเคลื่อน GEC 2 ตัว (2 × 44 MW) (ปรับปรุงใหม่ปี 2530)
  • ใบพัดแปรผันห้าใบจักร จำนวน 2 จักร
  • ความเร็ว:
  • ความเร็วสูงสุด: 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 39 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • ความเร็วบริการ: 28.5 นอต (52.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 32.8 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • ความจุ: ผู้โดยสาร: 1,892 คน
    ลูกเรือ: 1,040 คน

    อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 (อังกฤษ: RMS Queen Elizabeth 2) หรือ QE2 เป็นเรือเดินสมุทรของอังกฤษที่ปลดระวางแล้วซึ่งดัดแปลงเป็นโรงแรมลอยน้ำ เดิมทีสร้างขึ้นสำหรับสายการเดินเรือคูนาร์ด ไลน์ เรือลำนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นเรือลำที่สอที่ตั้งชื่อว่าควีนเอลิซาเบธ ดำเนินการสายการเดินเรือคูนาร์ด ไลน์ ในฐานะทั้งเรือเดินสมุทรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและ เรือสำราญ ตั้งแต่ปี 2512 ถึง 2551 จากนั้นเรือก็ถูกจอดทิ้งไว้จนถึงปี 2561 เรือก็ได้รับการปรับปรุงเพื่อไปเปิดดำเนินการเป็นโรงแรมลอยน้ำในดูไบ [3]

    อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 ได้รับการออกแบบสำหรับบริการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจากท่าเรือบ้านเกิดที่เซาแธมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปยังนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา [4] และได้รับการตั้งชื่อตามเรือเดินสมุทร อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ (RMS Queen Elizabeth) รุ่นก่อนหน้า เรือลำนี้ทำหน้าที่เป็นเรือธงของคูนาร์ด ไลน์ตั้งแต่ปี 2512 จนกระทั่งถูกสืบทอดต่อโดย อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2 ในปี 2547 เรือควีนอลิซาเบธ 2 ได้รับการออกแบบในสำนักงานของคูนาร์ด ไลน์ ในลิเวอร์พูลและ เซาแทมป์ตัน และต่อขึ้นใน ไคลด์แบงก์ ประเทศสกอตแลนด์ ถือเป็นเรือเดินสมุทรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกลำสุดท้ายจนกระทั่ง "Project Genesis" ได้รับการประกาศโดยสายการเดินเรือคูนาร์ด ไลน์ ในปี 2538 หลังจากที่ มิกกี้ แอริสัน (Micky Arison) ได้เข้าซื้อกิจการของสายการเดินเรือคูนาร์ด ไลน์

    เรือควีนอลิซาเบธ 2 ได้รับการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสมัยใหม่ในปี พ.ศ. 2529–30 ได้ทำการล่องเรือไปทั่วโลกเป็นประจำตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีของการให้บริการ และต่อมาได้ดำเนินการโดยส่วนใหญ่เป็นเรือสำราญ โดยแล่นออกจากเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ เรือลำนี้ไม่มีเรือคู่และไม่เคยให้บริการด่วนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกรายสัปดาห์ไปยังนิวยอร์กตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม เรือลำนี้ยังคงปฏิบัติตามประเพณีของคูนาร์ด ไลน์ ในการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกตามที่กำหนดเป็นประจำทุกๆ ปีในช่วงที่ยังประจำการอยู่

    เรือควีนอลิซาเบธ 2 ได้ปลดระวางออกจากคูนาร์ด ไลน์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 และถูกซื้อกิจการโดยบริษัทเอกชนของดูไบเวิล์ด ซึ่งมีแผนที่จะเปลี่ยนเรือเป็นโรงแรมลอยน้ำขนาด 500 ห้องที่จอดอยู่ที่ ปาล์มอัลญุมัยเราะฮ์ในดูไบ [5] [6] อย่างไรก็ตามจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2551 เรือถูกจอดไว้ Dubai Drydocks และต่อมาที่ Mina Rashid [7] แผนการเปลี่ยนแปลงครั้งต่อมาได้รับการประกาศในปี 2555[8] และอีกครั้งโดย กลุ่มโอเชียนิก ในปี 2556[9] แต่แผนทั้งสองก็หยุดชะงัก ในเดือนพฤศจิกายน 2558 Cruise Arabia & Africa อ้างคำพูดของประธาน DP World Ahmed Sultan Bin Sulayem ว่า QE2 จะไม่ถูกยกเลิก[10] และบริษัทก่อสร้างในดูไบประกาศในเดือนมีนาคม 2560 ว่าได้ทำสัญญาเพื่อปรับปรุงเรือ[11] QE2 ที่ได้รับการปรับปรุงและเปิดให้เข้าชมในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561[12]

    การพัฒนา[แก้]

    การออกแบบ[แก้]

    การสร้าง[แก้]

    ประจำการ[แก้]

    โรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

    ดูเพิ่ม[แก้]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Rouquayrol, Gautier (9 May 2022). "Accor adds legendary Queen Elizabeth 2 to its portfolio in Dubai". Accor - Newsroom (Press release). Paris.
    2. Maritime Information Exchange, search for Queen Elizabeth 2
    3. Frame, Chris (10 April 2018). "QE2 reopens as a Hotel in Dubai on 18 April after 9 ½ years of retirement". chrisframe.com.au. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
    4. Frame, Chris (2 May 2019). "QE2 50th Anniversary". chrisframe.com.au. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
    5. Fitch, Asa (19 January 2013). "QE II Ocean Liner Heads to Asia to Become Floating Hotel". Zawya.
    6. "QE2 To Leave Cunard Fleet And Be Sold To Dubai World To Begin A New Life at the Palm". Cunard.com. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2007. สืบค้นเมื่อ 20 June 2007.
    7. Morris, Hugh (13 January 2016). "'Forlorn' QE2 is not coming home from Dubai, campaigners concede". Telegraph Media Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
    8. "Cruise liner Queen Elizabeth 2 to be converted into hotel". HT Media Limited. 3 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
    9. "New home for Queen Elizabeth 2". CNN International. 18 January 2013. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
    10. "There is a new plan for former Cunard liner QE2 – she will not be scrapped insists DP World Chairman" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-11-10. สืบค้นเมื่อ 2018-02-06.
    11. "Queen Elizabeth 2 – Refurbishment Works" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Shafa Al Nahda. สืบค้นเมื่อ 2018-02-06.
    12. "Queen Mary 2 Guests to be First to Board the QE2 Hotel in Dubai".