อาจิฟราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาจิฟราย
ประเภทของทอด
แหล่งกำเนิดธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้องโยโชกุ
คิดค้นยุคเมจิ
ส่วนผสมหลักปลาอาจิ
พลังงาน
(ต่อ 100 กรัม หน่วยบริโภค)
270 กิโลแคลอรี (1130 กิโลจูล)
คุณค่าทางโภชนาการ
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
โปรตีน29.1 กรัม
ไขมัน18.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต7.9 กรัม

อาจิฟราย (アジフライ) เป็นอาหารทอดที่ทำจากการใช้เกล็ดขนมปังมาชุบแป้งทอด โดยใช้ปลาอาจิเป็นวัตถุดิบ เป็นหนึ่งในโยโชกุที่พัฒนาขึ้นในญี่ปุ่นหลังยุคเมจิ โดยมีพื้นฐานมาจากอาหารตะวันตก และตั้งแต่นั้นมาก็กลายเป็นที่นิยมในฐานะกับข้าว ของว่าง และกับข้าวที่กินคู่กับสาเก

วิธีการปรุงเบื้องต้นคือนำปลาอาจิไปชุบเกล็ดขนมปังแล้วทอดในน้ำมัน มีความโดดเด่นด้วยเนื้อสัมผัสที่สร้างขึ้นจากแป้งทอดกรอบและปลาอาจิเนื้อนุ่ม สามารถเพลิดเพลินกับรสชาติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเครื่องปรุงรสที่ใส่ลงไป ในแง่ของโภชนาการ กล่าวกันว่าแคลอรีต่ำ น้ำตาลต่ำ และอุดมไปด้วย กรดไอโคซาเพนตะอีโนอิก (EPA) และ กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA)

ในประเทศญี่ปุ่น อาหารนี้เป็นที่นิยมไม่เพียงแต่สำหรับการทำอาหารที่บ้านเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอาหารสำเร็จรูปและการรับประทานอาหารนอกบ้านด้วย นอกจากนี้ยังเป็นอาหารที่คุ้นเคยในวัฒนธรรมญี่ปุ่น เช่น ใช้สนับสนุนการท่องเที่ยวของเมือง และตัวละครต่าง ๆ และปรากฏในผลงานต่าง ๆ เช่น ไฮกุ เรียงความ มังงะ และละคร

ประวัติศาสตร์[แก้]

ต้นกำเนิด[แก้]

ปลาอาจิซึ่งใช้เป็นส่วนผสมในอาจิฟราย
เกล็ดขนมปังที่ใช้ชุบทำอาจิฟราย

ในประเทศญี่ปุ่น เชื่อกันว่าปลาอาจิถูกรับประทานมาตั้งแต่ยุคโจมง[1] และในยุคเฮอัน[2] ปลาชนิดนี้ก็นิยมถูกใช้เป็นอาหารอยู่แล้ว โดยเป็นที่รู้จักว่าเป็นปลาที่อร่อย[3]

ในญี่ปุ่นยุคเอโดะ เท็มปุระได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในวิธีการปรุงอาหารประเภททอด[4] มีลักษณะเด่นคือใช้วิธีการทอดที่ใช้น้ำมันปริมาณมาก[5] และในช่วงต้นยุคเมจิ เกล็ดขนมปังได้ถูกนำมาใช้ปรุงอาหาร[5] และอาหารตะวันตก เช่น โกตแล็ต[6][7] และ ครอแก็ต[6] ซึ่งปรุงด้วยเกล็ดขนมปัง ได้ถูกนำเข้ามาที่ญี่ปุ่น และเมื่อรวมกับเทคนิคการทอดน้ำมันแบบญี่ปุ่นที่ใช้ในเท็มปุระ จึงเกิดเป็นอาหารประเภทคัตสึซึ่งใช้เกล็ดขนมปังมาชุบและทอดในน้ำมันปริมาณมาก

ปลาอาจิก็ได้ถูกนำมาทำเป็นอาหารประเภทนี้ด้วยเช่นกัน จึงเกิดเป็นอาจิฟลายขึ้นมา โดยว่ากันว่ามีอาหารประเภทนี้อยู่แล้วตั้งแต่ในช่วงต้นยุคเมจิ[8][9]

ชุดอาหารอาจิฟรายของเคียวบาชิมัตสึวะ
ชุดอาหารอาจิฟรายของเคียวบาชิมัตสึวะ 
ชุดอาหารอาจิฟรายของร้านโยชิโนยะ
ชุดอาหารอาจิฟรายของร้านโยชิโนยะ 

อ้างอิง[แก้]

  1. "味が良いから「あじ(鯵)」 縄文の昔から日本人に愛されてきた魚". ダイヤモンド・オンライン. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
  2. "旬の素材(アジ)". 船橋市ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
  3. "アジの名前の由来は「"味"が良い」の「味」??". ふたば産業株式会社. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
  4. 阿古 2021.
  5. 5.0 5.1 岡田 2000.
  6. 6.0 6.1 青木ゆり子 2018.
  7. "揚げ物ではなかった「とんかつ」誕生秘話". JBPress. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
  8. "《築地》市場直送ならではの別格アジフライ". 小田保. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
  9. "アジフライカンパニーKADOYAは、フライ界におけるアジフライの地位向上のため3月21日を「アジフライの日」に制定しました。" (PDF). 株式会社角屋食品. 2022-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.