ข้ามไปเนื้อหา

อัลเบร์โต ฟูฆิโมริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อัลเบร์โต ฟูจิโมริ)
อัลเบร์โต ฟูฆิโมริ
ฟูฆิโมริใน ค.ศ. 1991
ประธานาธิบดีเปรู คนที่ 54
ดำรงตำแหน่ง
28 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000
นายกรัฐมนตรี
รองประธานาธิบดี
ดูรายชื่อ
ก่อนหน้าอาลัน การ์ซิอา
ถัดไปบาเลนติน ปาเนียกัว
ประธานคณะรัฐบาลฉุกเฉินและบูรณะชาติ
ดำรงตำแหน่ง
5 เมษายน ค.ศ. 1992 – 9 มกราคม ค.ศ. 1993
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อัลเบร์โต เกเนีย ฟูฆิโมริ อิโนโมโต

26 กรกฎาคม ค.ศ. 1938(1938-07-26)[a]
ลิมา ประเทศเปรู
เสียชีวิต11 กันยายน ค.ศ. 2024(2024-09-11) (86 ปี)
ลิมา ประเทศเปรู
ที่ไว้ศพสุสาน Campo Fe Huachipa
สัญชาติ
  • เปรู
  • ญี่ปุ่น
พรรคการเมืองกัมบิโอ 90 (1990–1998)
ซีกุมเปล (1998–2010)
ประชาชนใหม่ (2007–2013)
ฟูเอร์ซาโปปูลาร์ (2024)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
นูเอบามาโยริอา (1992–1998, สมาชิกที่ไม่สังกัด)
เปรู 2000 (1999–2001)
อาลิอันซาโปร์เอลฟูตูโร (2005–2010)
กัมบิโอ 21 (2018–2019)
คู่สมรส
บุตร4 คน รวมเกย์โกและเกนยิ
ความสัมพันธ์ซานเตียโก ฟูฆิโมริ (น้องชาย)
ศิษย์เก่าNational Agrarian University (BS)
มหาวิทยาลัยสทราซบูร์
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน–มิลวอกี (MS)
ลายมือชื่อ
ข้อมูลอาชญากรรม
สถานะทางคดีต้องโทษ[1]
ข้อหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน, ฆาตกรรม, การลักพาตัว, การยักยอก, การใช้อำนาจในทางที่ผิด, ติดสินบน และทุจริต
บทลงโทษจำคุก 25 ปี (คดีละเมิดสิทธิมนุษยชน, ฆาตกรรม และลักพาตัว)
จำคุก 6 ปี (คดีใช้อำนาจในทางที่ผิด)
จำคุก 7 ปีครึ่ง (คดียักยอก)
จำคุก 6 ปี (คดีติดสินบนและทุจริต)

อัลเบร์โต เกเนีย ฟูฆิโมริ อิโนโมโต (สเปน: Alberto Kenya Fujimori Inomoto,[2] ออกเสียง: [alˈβeɾto fuxiˈmoɾi]) มีชื่อเดิมว่า เค็งยะ ฟูจิโมริ (ญี่ปุ่น: 藤森 謙也ทับศัพท์: Fujimori Kenya; 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1938[a] – 11 กันยายน ค.ศ. 2024) เป็นนักการเมือง ศาสตราจารย์ และวิศวกรชาวเปรูที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเปรูคนที่ 54 ใน ค.ศ. 1990 ถึง 2000[b]

เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "เผด็จการแห่งเปรู"[7][8] เนื่องจากรัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยเครือข่ายการทุจริตที่ก่อการโดยวลาดิมีโร มอนเตซินอสซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยข่าวกรองของเปรูในขณะนั้น[9][10][11] อย่างไรก็ตามฟูฆิโมริเป็นผู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจเปรูที่ตกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (hyperinflation) และจัดการกับผู้ก่อการร้ายในประเทศ แต่ภายหลังเขาโดนข้อหาการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และละเมิดสิทธิมนุษยชนจนต้องหลบหนีออกนอกประเทศใน ค.ศ. 2000 ไปอาศัยที่ประเทศญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 2006 ฟูฆิโมริถูกจับหลังเดินทางมาประเทศชิลี เขาถูกนำตัวไปดำเนินคดีและโดนลงโทษจำคุก 6 ปีในข้อหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ[12] [13]

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตช่วงต้น และการศึกษา

[แก้]

รายงานจากเอกสารรัฐบาล ฟูฆิโมริเกิดใน ค.ศ. 1938 ที่มิราฟลอเรส เขตหนึ่งในลิมา[3][14][15] บิดาชื่อ นาโออิจิ ฟูจิโมริ (สกุลเดิม: มินามิ) ผู้ได้รับเลี้ยงจากญาติที่ไม่มีลูก ส่วนมารดาชื่อ มุตสึเอะ อิโนโมโตะ ทั้งสองมาจากคูมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น และอพยพเข้าเปรูใน ค.ศ. 1934[16][17] ทำให้ฟูฆิโมริมีทั้งสัญชาติเปรูและสัญชาติญี่ปุ่น เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมการเกษตรจากมหาวิทยาลัยการเกษตรแห่งชาติลาโมลินา และปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-มิลวอกีในสหรัฐ[18]

ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก

[แก้]

ฟูฆิโมริลงสมัครประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2533 เศรษฐกิจของประเทศเปรูในขณะนั้นตกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง เขานำเสนอนโยบายแก้ปัญหาโดยการปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป แตกต่างจากบาร์กัส โยซา คู่แข่งที่เสนอจะใช้นโยบายรุนแรง เขาชนะการเลือกตั้งไปอย่างเหนือความคาดหมาย และกลายเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับตำแหน่งผู้นำประเทศในทวีปอเมริกาใต้

แต่เมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งจริง ฟูฆิโมริได้ทำการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแตกต่างจากนโยบายที่เขาใช้หาเสียง โดยใช้วิธีเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ส่งผลกระทบรุนแรง (ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ฟูฆิช็อก") เช่น ยกเลิกการควบคุมค่าสาธารณูปโภคซึ่งมีผลทำให้ราคาสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมไปถึงน้ำมันถีบตัวสูงขึ้นอย่างมาก ยกเลิกการควบคุมค่าเงิน เปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ ปรับระบบการเก็บภาษี การปรับเปลี่ยนนโยบายเหล่านี้มีจุดประสงค์อย่างหนึ่งคือ เพื่อให้องค์การการเงินระหว่างประเทศยอมยื่นมือช่วยเหลือประเทศเปรูซึ่งในขณะนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยตัวเองได้[19] หลังจากที่ฟูฆิโมริดำเนินนโยบายดังกล่าว กองทุนการเงินระหว่างประเทศจึงยอมให้เปรูกู้ยืมเงิน เงินเฟ้อลดลงอย่างรวดเร็ว และการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มมากขึ้น[20] นอกจากนี้ เขายังทำการแปรรูปองค์กรรัฐวิสาหกิจจำนวนมาก และเปลี่ยนค่าเงินของเปรูจากอินตีเป็นนวยโบซอล

อย่างไรก็ตาม ฟูฆิโมริไม่สามารถปฏิรูปเศรษฐกิจหรือจัดการกับกบฏลัทธิเหมากลุ่มเซนเดโรลูมิโนโซได้ตามที่เขาต้องการเพราะอำนาจในสภาตกอยู่กับพรรค APRA และ FREDEMO เขาจึงทำรัฐประหารตนเอง (auto-coup) ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2535 การทำรัฐประหารครั้งนี้นอกจากจะเป็นที่ยอมรับของประชาชนแล้วยังทำให้คะแนนความนิยมของรัฐบาลฟูฆิโมริสูงขึ้นด้วย ฟูฆิโมริมักใช้การสนับสนุนของประชาชนเป็นข้อแก้ตัวในการทำรัฐประหารครั้งนี้ว่า “มันไม่ใช่การกระทำที่ขัดแย้งกับประชาธิปไตย แต่เป็นการตามหาการเปลี่ยนแปลงที่จะรับประกันประชาธิปไตยที่ถูกต้องและมีประสิทธิผล”[21]

การทำรัฐประหารของฟูฆิโมริถูกต่อต้านจากนานาชาติ องค์การนานารัฐอเมริกาต่อต้านการทำรัฐประหารและเรียกร้องให้กลับคืนสู่ระบอบระบอบประชาธิปไตย[22] หลังการเจรจาระหว่างองค์การนานารัฐอเมริกา รัฐบาล และกลุ่มผู้คัดค้าน ฟูฆิโมริต้องการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ยอมรับรัฐประหาร แต่องค์การนานารัฐอเมริกาปฏิเสธ ฟูฆิโมริจึงเสนอให้มีการเลือกตั้ง Democratic Constituent Congress (CCD) ซึ่งมีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และให้มีการทำประชามติรับรอง ข้อเสนอนี้ได้รับยอมรับจากการประชุมเฉพาะกิจขององค์การนานารัฐอเมริกาในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และการเลือกตั้ง CCD ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 1992[21]

นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ก็แสดงท่าทีต่อต้านรัฐประหารครั้งนี้ เวเนซุเอลาตัดความสัมพันธ์ทางการทูตและอาร์เจนตินาถอนทูตออกจากประเทศเปรู ชิลีเข้าร่วมกับอาร์เจนตินาในการเรียกร้องให้เปรูถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การนานารัฐอเมริกา ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่างยืดเวลาการส่งความช่วยเหลือออกไป สหรัฐ เยอรมนี และสเปน ยกเลิกการช่วยเหลืออื่นที่ไม่ใช่การช่วยเหลือในด้านมนุษยชน รัฐประหารครั้งนี้จึงส่งผลกระทบต่อแผนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสร้างความยุ่งยากต่อการคืนเงินให้แก่ไอเอ็มเอฟ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ฟูฆิโมริอ้างว่าเกิดในวันที่ 28 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบการประกาศเอกราชของเปรูจากสเปน แต่เอกสารอื่นระบุวันที่เกิดเป็น 26 กรกฎาคม ฟูฆิโมริอ้างถึงวันที่หลังในการพิจารณาคดีในศาลประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 2001[3][4]
  2. บลาดีมีโร มอนเตซิโนสได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้กุมอำนาจอย่างแท้จริง ส่วนอัลเบร์โต ฟูฆิโมริทำหน้าที่เพียงหุ่นเชิดภายใต้อิทธิพลของเขา มอนเตซิโนสผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าตำรวจลับของรัฐบาลโดยพฤตินัยจนถึง ค.ศ. 2000 เมื่อสำนักงานถูกยุบเลิก เขาจึงให้ความเห็นในเวลานั้นว่า "[ฟูฆิโมริ] บิดไปมาได้สมบูรณ์: เขาไม่ทำอะไรเลยโดยที่ผมไม่รู้"[5][6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ปล่อยตัวในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2023
  2. "Official electoral data file". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 2013-12-10.
  3. 3.0 3.1 "Fujimori sacó DNI con fecha falsa sobre su nacimiento". La República (ภาษาสเปน). 7 March 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2019. สืบค้นเมื่อ 22 June 2024.
  4. Hernon, Matthew (2024-09-12). "Former Peruvian President Alberto Fujimori Dies at 86". Tokyo Weekender. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-16.
    • McMillan, John; Zoido, Pablo (Autumn 2004). "How to Subvert Democracy: Montesinos in Peru". The Journal of Economic Perspectives. 18 (4): 69. doi:10.1257/0895330042632690. hdl:10419/76612. S2CID 219372153. In the 1990s, Peru was run ... by its secret-police chief, Vladimiro Montesinos Torres.
    • Vargas Llosa, Mario (27 March 1994). "Ideas & Trends: In His Words; Unmasking the Killers in Peru Won't Bring Democracy Back to Life". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2023. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023. The coup of April 5, 1992, carried out by high-ranking military felons who used the President of the Republic himself as their figurehead, had as one of its stated objectives a guaranteed free hand for the armed forces in the anti-subversion campaign, the same armed forces for whom the democratic system – a critical Congress, an independent judiciary, a free press – constituted an intolerable obstacle.
    • "Spymaster" (ภาษาอังกฤษ). Australian Broadcasting Corporation. August 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2023. สืบค้นเมื่อ 29 March 2023. Lester: Though few questioned it, Montesinos was a novel choice. Peru's army had banished him for selling secrets to America's CIA, but he'd prospered as a defence lawyer – for accused drug traffickers. ... Lester: Did Fujmori control Montesinos or did Montesinos control Fujimori? ... Shifter: As information comes out, it seems increasingly clear that Montesinos was the power in Peru.
    • Keller, Paul (26 October 2000). "Fujimori in OAS talks PERU CRISIS UNCERTAINTY DEEPENS AFTER RETURN OF EX-SPY CHIEF". Financial Times. Mr Montesinos ... and his military faction, ... for the moment, has chosen to keep Mr Fujimori as its civilian figurehead
    • "THE CRISIS OF DEMOCRATIC GOVERNANCE IN THE ANDES" (PDF). Woodrow Wilson International Center for Scholars. 2001. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023. สืบค้นเมื่อ 25 March 2023. Alberto Fujimori,... as later events would seem to confirm—merely the figurehead of a regime governed for all practical purposes by the Intelligence Service and the leadership of the armed forces
    • "Questions And Answers: Mario Vargas Llosa". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). 9 January 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2023. สืบค้นเมื่อ 25 March 2023. Fujimori became a kind of, well, a figurehead
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :9
  6. "Alberto Fujimori profile: Deeply divisive Peruvian leader". BBC News. 8 December 2011. สืบค้นเมื่อ 4 May 2023.
  7. Charles D. Kenney, 2004 Fujimori's Coup and the Breakdown of Democracy in Latin America (Helen Kellogg Institute for International Studies) University of Notre Dame Press ISBN 0-268-03172-X
  8. Julio F. Carrion (ed.) 2006 The Fujimori Legacy: The Rise of Electoral Authoritarianism in Peru. Pennsylvania State University Press ISBN 0-271-02748-7
  9. Catherine M. Conaghan 2005 Fujimori's Peru: Deception in the Public Sphere (Pitt Latin American Series) University of Pittsburgh Press ISBN 0-8229-4259-3
  10. (ในภาษาสเปน) Esteban Cuya, La dictadura de Fujimori: marionetismo, corrupción y violaciones de los derechos humanos, Centro de Derechos Humanos de Nuremberg, July 1999. Retrieved 22 October 2006.
  11. "Profile: Alberto Fujimori". BBC NEWS.เรียกข้อมูลวันที่ 2008-06-17(อังกฤษ)
  12. "Fujimori jailed for abusing power". BBC NEWS.เรียกข้อมูลวันที่ 2008-06-17 (อังกฤษ)
  13. Alberto Fujimori's Birth Certificate เก็บถาวร 17 มีนาคม 2024 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน modified by Vladimiro Montesinos to make believe that he was Peruvian and assume the presidency
  14. Champion, Margaret Y. (2006). Peru and the Peruvians in the Twentieth Century: Politics and Prospects. New York: Vantage Press. p. 476. ISBN 0-533-15159-7.
  15. McClintock, Cynthia; Fabián Vallas (2002). The United States and Peru. New York: Routledge. p. 50. ISBN 0-415-93463-X.
  16. González Manrique, Luis Esteban (1993). La encrucijada peruana: de Alan García a Fujimori (ภาษาสเปน). Madrid: Fundación CEDEAL. p. 467. ISBN 84-87258-38-7.
  17. Famous people major in Mathematics เก็บถาวร 2007-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, University of Rochester website. Retrieved on June 29, 2008
  18. "The Fujishock". 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-02. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25. (อังกฤษ)
  19. Gouge, Thomas. Exodus from Capitalism: The End of Inflation and Debt. 2003, page 364.
  20. 21.0 21.1 Barry S. Levitt. 2006 “A desultory defense of democracy: OAS Resolution 1080 and the Inter-American Democratic Charter. (Organization of American States).” Latin American Politics and Society 48 (3) :93-123.
  21. Smith, Peter H. Latin America in Comparative Perspective: New Approaches to Methods and Analysis. 1995, page 238.
  22. ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]