อัลเบร์โต ฟูฆิโมริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อัลเบร์โต ฟูคีโมรี)
อัลเบร์โต ฟูฆิโมริ
ประธานาธิบดีเปรูคนที่ 45
ดำรงตำแหน่ง
28 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000
รองประธานาธิบดีมักซิโม ซาน โรมัน (1990)
โรเก มาร์เกซ (1995)
ฟรันซิสโก ตูเดลา (2000)
ก่อนหน้าอาลัน การ์ซิอา
ถัดไปบาเลนติน ปาเนียกัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1938-07-28) 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1938 (85 ปี)
ลิมา เปรู
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองกัมบิโอ 90 (1990–1999)
เปรู 2000 (2000)
ซีกุมเปล (2006)
ประชาชนใหม่ (2007)
คู่สมรสซูซานา อิกูชิ (1974–1994)
ซาโตมิ คาตาโอกะ[1]
บุตร

อัลเบร์โต เกเนีย ฟูฆิโมริ อิโนโมโต (สเปน: Alberto Kenya Fujimori Inomoto,[2] ออกเสียง: [alˈβeɾto fuxiˈmoɾi]) มีชื่อเดิมว่า เค็งยะ ฟูจิโมริ (ญี่ปุ่น: 藤森 謙也ทับศัพท์: Fujimori Kenya; เกิด: 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481) เป็นชาวเปรูเชื้อสายญี่ปุ่นซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศเปรูระหว่าง 28 กรกฎาคม พ.ศ. 253317 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "เผด็จการแห่งเปรู"[3][4] เนื่องจากรัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยเครือข่ายการทุจริตที่ก่อการโดยวลาดิมีโร มอนเตซินอสซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยข่าวกรองของเปรูในขณะนั้น[5][6][7] อย่างไรก็ตามฟูฆิโมริเป็นผู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจเปรูที่ตกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (hyperinflation) และจัดการกับผู้ก่อการร้ายในประเทศ แต่ภายหลังเขาโดนข้อหาการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และละเมิดสิทธิมนุษยชนจนต้องหลบหนีออกนอกประเทศในปี พ.ศ. 2543 ไปอาศัยที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2549 ฟูฆิโมริถูกจับหลังเดินทางมาประเทศชิลี เขาถูกนำตัวไปดำเนินคดีและโดนลงโทษจำคุก 6 ปีในข้อหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ[8] [9]

ประวัติ[แก้]

ประวัติการศึกษา[แก้]

อัลเบร์โต ฟูฆิโมริ เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ในกรุงลิมา[10] พ่อแม่ของเขาเป็นชาวญี่ปุ่นที่อพยพมาอยู่ในประเทศเปรู โดยบิดาชื่อ นาโออิจิ ฟูจิโมริ (สกุลเดิม: มินามิ) ส่วนมารดาชื่อ มุตสึเอะ อิโนโมโตะ ฟูจิโมริ (สกุลเดิม: อิโนโมโตะ) โดยอพยพมาจากเมืองคูมาโมโตะ และเข้ามาในเปรูในปี พ.ศ. 2477[11][12] ทำให้ฟูฆิโมริมีทั้งสัญชาติเปรูและสัญชาติญี่ปุ่น เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมการเกษตรจากมหาวิทยาลัยการเกษตรแห่งชาติลาโมลินา และปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-มิลวอกีในสหรัฐ[13]

ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก[แก้]

ฟูฆิโมริลงสมัครประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2533 เศรษฐกิจของประเทศเปรูในขณะนั้นตกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง เขานำเสนอนโยบายแก้ปัญหาโดยการปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป แตกต่างจากบาร์กัส โยซา คู่แข่งที่เสนอจะใช้นโยบายรุนแรง เขาชนะการเลือกตั้งไปอย่างเหนือความคาดหมาย และกลายเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับตำแหน่งผู้นำประเทศในทวีปอเมริกาใต้

แต่เมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งจริง ฟูฆิโมริได้ทำการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแตกต่างจากนโยบายที่เขาใช้หาเสียง โดยใช้วิธีเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ส่งผลกระทบรุนแรง (ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ฟูฆิช็อก") เช่น ยกเลิกการควบคุมค่าสาธารณูปโภคซึ่งมีผลทำให้ราคาสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมไปถึงน้ำมันถีบตัวสูงขึ้นอย่างมาก ยกเลิกการควบคุมค่าเงิน เปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ ปรับระบบการเก็บภาษี การปรับเปลี่ยนนโยบายเหล่านี้มีจุดประสงค์อย่างหนึ่งคือ เพื่อให้องค์การการเงินระหว่างประเทศยอมยื่นมือช่วยเหลือประเทศเปรูซึ่งในขณะนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยตัวเองได้[14] หลังจากที่ฟูฆิโมริดำเนินนโยบายดังกล่าว กองทุนการเงินระหว่างประเทศจึงยอมให้เปรูกู้ยืมเงิน เงินเฟ้อลดลงอย่างรวดเร็ว และการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มมากขึ้น[15] นอกจากนี้ เขายังทำการแปรรูปองค์กรรัฐวิสาหกิจจำนวนมาก และเปลี่ยนค่าเงินของเปรูจากอินตีเป็นนวยโบซอล

อย่างไรก็ตาม ฟูฆิโมริไม่สามารถปฏิรูปเศรษฐกิจหรือจัดการกับกบฏลัทธิเหมากลุ่มเซนเดโรลูมิโนโซได้ตามที่เขาต้องการเพราะอำนาจในสภาตกอยู่กับพรรค APRA และ FREDEMO เขาจึงทำรัฐประหารตนเอง (auto-coup) ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2535 การทำรัฐประหารครั้งนี้นอกจากจะเป็นที่ยอมรับของประชาชนแล้วยังทำให้คะแนนความนิยมของรัฐบาลฟูฆิโมริสูงขึ้นด้วย ฟูฆิโมริมักใช้การสนับสนุนของประชาชนเป็นข้อแก้ตัวในการทำรัฐประหารครั้งนี้ว่า “มันไม่ใช่การกระทำที่ขัดแย้งกับประชาธิปไตย แต่เป็นการตามหาการเปลี่ยนแปลงที่จะรับประกันประชาธิปไตยที่ถูกต้องและมีประสิทธิผล”[16]

การทำรัฐประหารของฟูฆิโมริถูกต่อต้านจากนานาชาติ องค์การนานารัฐอเมริกาต่อต้านการทำรัฐประหารและเรียกร้องให้กลับคืนสู่ระบอบระบอบประชาธิปไตย[17] หลังการเจรจาระหว่างองค์การนานารัฐอเมริกา รัฐบาล และกลุ่มผู้คัดค้าน ฟูฆิโมริต้องการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ยอมรับรัฐประหาร แต่องค์การนานารัฐอเมริกาปฏิเสธ ฟูฆิโมริจึงเสนอให้มีการเลือกตั้ง Democratic Constituent Congress (CCD) ซึ่งมีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และให้มีการทำประชามติรับรอง ข้อเสนอนี้ได้รับยอมรับจากการประชุมเฉพาะกิจขององค์การนานารัฐอเมริกาในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และการเลือกตั้ง CCD ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 1992[16]

นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ก็แสดงท่าทีต่อต้านรัฐประหารครั้งนี้ เวเนซุเอลาตัดความสัมพันธ์ทางการทูตและอาร์เจนตินาถอนทูตออกจากประเทศเปรู ชิลีเข้าร่วมกับอาร์เจนตินาในการเรียกร้องให้เปรูถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การนานารัฐอเมริกา ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่างยืดเวลาการส่งความช่วยเหลือออกไป สหรัฐ เยอรมนี และสเปน ยกเลิกการช่วยเหลืออื่นที่ไม่ใช่การช่วยเหลือในด้านมนุษยชน รัฐประหารครั้งนี้จึงส่งผลกระทบต่อแผนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสร้างความยุ่งยากต่อการคืนเงินให้แก่ไอเอ็มเอฟ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Fujimori gets married from cell". BBC News. 6 April 2006.
  2. "Official electoral data file". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 2013-12-10.
  3. "Alberto Fujimori profile: Deeply divisive Peruvian leader". BBC News. 8 December 2011. สืบค้นเมื่อ 4 May 2023.
  4. Charles D. Kenney, 2004 Fujimori's Coup and the Breakdown of Democracy in Latin America (Helen Kellogg Institute for International Studies) University of Notre Dame Press ISBN 0-268-03172-X
  5. Julio F. Carrion (ed.) 2006 The Fujimori Legacy: The Rise of Electoral Authoritarianism in Peru. Pennsylvania State University Press ISBN 0-271-02748-7
  6. Catherine M. Conaghan 2005 Fujimori's Peru: Deception in the Public Sphere (Pitt Latin American Series) University of Pittsburgh Press ISBN 0-8229-4259-3
  7. (ในภาษาสเปน) Esteban Cuya, La dictadura de Fujimori: marionetismo, corrupción y violaciones de los derechos humanos, Centro de Derechos Humanos de Nuremberg, July 1999. Retrieved 22 October 2006.
  8. "Profile: Alberto Fujimori". BBC NEWS.เรียกข้อมูลวันที่ 2008-06-17(อังกฤษ)
  9. "Fujimori jailed for abusing power". BBC NEWS.เรียกข้อมูลวันที่ 2008-06-17 (อังกฤษ)
  10. Champion, Margaret Y. (2006). Peru and the Peruvians in the Twentieth Century: Politics and Prospects. New York: Vantage Press. p. 476. ISBN 0-533-15159-7.
  11. McClintock, Cynthia. The United States and Peru. New York: Routledge. p. 50. ISBN 0-415-93463-X. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  12. González Manrique, Luis Esteban (1993). La encrucijada peruana: de Alan García a Fujimori. Madrid: Fundación CEDEAL. p. 467. ISBN 8487258387. (สเปน)
  13. Famous people major in Mathematics เก็บถาวร 2007-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, University of Rochester website. Retrieved on June 29, 2008
  14. "The Fujishock". 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-02. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25. (อังกฤษ)
  15. Gouge, Thomas. Exodus from Capitalism: The End of Inflation and Debt. 2003, page 364.
  16. 16.0 16.1 Barry S. Levitt. 2006 “A desultory defense of democracy: OAS Resolution 1080 and the Inter-American Democratic Charter. (Organization of American States).” Latin American Politics and Society 48 (3) :93-123.
  17. Smith, Peter H. Latin America in Comparative Perspective: New Approaches to Methods and Analysis. 1995, page 238.
  18. ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์