อาลฟา กงเด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อัลฟา กอนเด)
อาลฟา กงเด
ประธานาธิบดีกินีคนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม พ.ศ. 2553 – 5 กันยายน พ.ศ. 2564
นายกรัฐมนตรีJean-Marie Doré
Mohamed Said Fofana
Mamady Youla
Ibrahima Kassory Fofana
ก่อนหน้าSékouba Konaté (รักษาการ)
ถัดไปMamady Doumbouya
ประธานสหภาพแอฟริกา[1]
ดำรงตำแหน่ง
30 มกราคม พ.ศ. 2560 – 28 มกราคม พ.ศ. 2561
ก่อนหน้าอีดริส เดบี
ถัดไปพอล คากาเม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1938-03-04) 4 มีนาคม ค.ศ. 1938 (86 ปี)
Boké, กินีฝรั่งเศส, แอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส (กินีปัจจุบัน)
คู่สมรสDjene Kaba Condé

อาลฟา กงเด (ฝรั่งเศส: Alpha Condé, เกิด 4 มีนาคม พ.ศ. 2481) เป็นนักการเมืองชาวกินีที่เป็นประธานาธิบดีกินีตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึงกันยายน พ.ศ. 2564 เขาใช้เวลาหลายสิบปีในการต่อต้านการสืบทอดระบอบการปกครองในกินี โดยล้มเหลวในการต่อสู้กับประธานาธิบดีล็องซานา กงเต (Lansana Conté) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2536 และ 2541 โดยเขาเป็นผู้นำของ Rassemblement du Peuple Guinéen (RPG) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ต่อมาเขาประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2553 โดยได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในการลงคะแนนรอบที่สอง เมื่อเข้ารับตำแหน่งในเดือนธันวาคม เขากลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเสรีในประวัติศาสตร์ของประเทศ กงเดได้รับเลือกอีกสมัยในปี พ.ศ. 2558 ด้วยคะแนนเสียงประมาณ 58%[2] และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2563 ด้วยคะแนนเสียง 59.5% มีการกล่าวหาว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2563[3]

ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2553 กงเดกล่าวว่าเขาจะเสริมความแข็งแกร่งให้กินีในฐานะประเทศประชาธิปไตยและต่อสู้กับการทุจริต[4] แต่กงเดและลูกชายของเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวคอร์รัปชันในเวลาต่อมา ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่[5][6] และต้องสงสัยว่าโกงการเลือกตั้ง[7]

เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560 ประธานาธิบดีกงเด ดำรงตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีอีดริส เดบี ของประเทศชาด ในตำแหน่งประธานของสหภาพแอฟริกา[8] และประธานาธิบดีพอล คากาเม ของประเทศรวันดา รับตำแหน่งต่อจากเขาเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561[9]

เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2564 ในรัฐประหารในประเทศกินี พ.ศ. 2564 อาลฟา กงเด ถูกจับกุมและปลดจากตำแหน่งโดยกองทัพกินี[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Guinea President Alpha Conde elected AU chair succeeding Deby". The Star Kenya. สืบค้นเมื่อ 3 February 2017.
  2. "SYNTHESE DES RESULTATS PROVISOIRES Election Présidentielle du 11 Octobre 2015" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Commission Electorale Nationale Indépendante. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 October 2015. สืบค้นเมื่อ 20 October 2015.
  3. "Guinea elections: Alpha Condé wins third term amid violent protests". BBC News. 24 October 2020. สืบค้นเมื่อ 30 March 2021.
  4. Smith, David (24 September 2012). "Guinea's president promises to turn country into stable democracy". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
  5. "TRACE Compendium - RIO TINTO GROUP". www.traceinternational.org. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
  6. "TRACE Compendium - SABLE MINING AFRICA LIMITED". www.traceinternational.org. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
  7. "Guinea's president re-elected in contested vote, provisional results show - France 24". France 24 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
  8. William Mwangi (30 January 2017). "Guinea President Alpha Conde elected AU chair succeeding Deby". The Star, Kenya. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
  9. AfricaNews. "Kagame takes over AU leadership, commits to visa-free regime | Africanews". Africanews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 November 2018.
  10. "Elite Guinea army unit says it has toppled president". Reuters. 6 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2021. สืบค้นเมื่อ 5 September 2021.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Bothorel, Jean; Condé, Alpha (2010). Un Africain engagé : ce que je veux pour la Guinée. Paris: Jean Picollet. ISBN 9782864772446. OCLC 650206262.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]