ออสการ์ พิสโตริอุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออสการ์ พิสโตริอุส
ออสการ์ พิสโตริอุส
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเรียกอื่นเบลดรันเนอร์; ชายไร้ขาที่วิ่งได้เร็วที่สุด; "ออซ" พิสโตริอุส[1]
เกิดวันที่ (1986-11-22) 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 (37 ปี)
สถานที่เกิดแซนตัน โจฮันเนสเบิร์ก เคาเตง แอฟริกาใต้
ส่วนสูง1.86 เมตร (6 ฟุต 1 14 นิ้ว) ในขาเทียม[2]
น้ำหนัก80.5 กก. (177 ปอนด์) (ค.ศ. 2007)[3]
เว็บไซต์www.oscarpistorius.co.za
กีฬา
ประเทศ แอฟริกาใต้
กีฬาวิ่งแข่ง
รายการวิ่งระยะสั้น (100, 200 และ 400 ม.)
รายการที่ประสบความสำเร็จ
ระดับโลกพาราลิมปิกเวิลด์คัพ 2005: 100 ม. (T44) – ทอง; 200 ม. (T44) – ทอง
รอบไฟนอลระดับชาติเซาท์แอฟริกันซีเนียร์แอตเลติกส์แชมเปี้ยนชิป 2007: 400 ม. (T44) – ทอง
พาราลิมปิกพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008: 100 ม. (T44) – ทอง, 200 ม. (T44) – ทอง; 400 ม. (T44) – ทอง
พาราลิมปิกฤดูร้อน 2004: 100 ม. (T44) – ทองแดง; 200 ม. (T44) – ทอง
การจัดอันดับโลกสูงสุด100 ม.: ที่ 1 (ค.ศ. 2008)[4]

200 ม.: ที่ 1 (ค.ศ. 2008)[5]

400 ม.: ที่ 1 (ค.ศ. 2008)[6]
ดีที่สุดในส่วนบุคคล100 ม. (T44): 10.91 วินาที (ค.ศ. 2007, สถิติโลก)

200 ม. (T44): 21.58 วินาที (ค.ศ. 2007, สถิติโลก)

400 ม. (T44): 46.25 วินาที (ค.ศ. 2008)

ออสการ์ เลนเนิร์ด คาร์ล พิสโตริอุส (อังกฤษ: Oscar Leonard Carl Pistorius; 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 — ) เป็นนักวิ่งในกีฬาพาราลิมปิกชาวแอฟริกาใต้ ซึ่งรู้จักกันในฐานะ "เบลดรันเนอร์" และ "ชายไร้ขาที่วิ่งได้เร็วที่สุด" พิสโตริอุสซึ่งถูกตัดขาทั้งสองเป็นเจ้าของสถิติโลกในรายการ 100, 200 และ 400 เมตร (สปอร์ทคลาส T44) โดยด้านรายการแข่งขันและการวิ่งแข่งได้รับการช่วยเหลือจากชีต้าเฟล็กซ์-ฟุต (Cheetah Flex-Foot) ด้วยอุปกรณ์เสริมชนิดคาร์บอนไฟเบอร์จากบริษัทออสเซอร์ (Ossur) ในค.ศ. 2007 พิสโตริอุสได้เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติเป็นครั้งแรกสำหรับนักกีฬาที่มีความสามารถทางด้านร่างกาย อย่างไรก็ตาม ขาเทียมของเขาได้ลดต่ำลงในขณะที่เขาร่วมการแข่งขัน และได้มีการสร้างข้อเรียกร้องว่าเขามีข้อได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมเหนือกว่านักวิ่งที่มีความสามารถทางด้านร่างกาย

ในปีเดียวกันนี้ สมาคมระหว่างประเทศแห่งสหพันธ์กรีฑา (IAAF) ได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎของการห้ามใช้อุปกรณ์ทางเทคนิคที่รวมเอาสปริง, ล้อหรือองค์ประกอบอื่นๆที่ทำให้ผู้ใช้ได้เปรียบกว่านักกีฬารายอื่นที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งอ้างว่าการแก้ไขนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะพิสโตริอุสเท่านั้น หลังจากตรวจสอบติดตามการแข่งขันของเขา ตลอดจนการดำเนินการทดสอบ, นักวิทยาศาสตร์ได้ยึดเอามุมมองที่เห็นว่าพิสโตริอุสได้เปรียบมากกว่านักกีฬาที่ไม่มีแขนขาเทียม กับความแข็งแกร่งที่ได้พบเหล่านี้มาประกอบการพิจารณา เมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2008 ทาง IAAF ได้ตั้งกฎให้เขาไม่มีสิทธิ์ในการแข่งขันภายใต้กฎที่กำหนดไว้ รวมทั้งในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 การตัดสินใจนี้ได้กลับเป็นผลตรงกันข้ามโดยศาลอนุญาโตตุลาการเพื่อการกีฬาเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ซึ่งศาลได้ระบุว่า IAAF ไม่ได้ให้หลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าพิสโตริอุสจะใช้ขาเทียมของเขาได้ดีกว่านักกีฬาที่มีความสามารถทางด้านร่างกาย

เดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 เขาได้ร่วมแข่งขันกรีฑาที่กรุงพริทอเรีย ซึ่งเป็นถิ่นเกิดของเขาเอง โดยทำเวลาได้ 45.20 วินาที ซึ่งดีกว่าเวลามาตรฐาน เอ สแตนดาร์ด ที่ 45.30 วินาที[7] นอกจากนี้ เขายังเป็นนักกีฬาพิการสองขาคนแรกที่เข้าร่วมแข่งขันในกีฬากรีฑาในโอลิมปิก[8]

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 เขาได้ถูกตำรวจจับกุมในข้อหาฆาตกรรมแฟนสาวชื่อรีวา สทีนคัมพ์ ในบ้านของตนเอง[9][10] ในการพิจารณาคดีเมื่อ ค.ศ. 2014 เขาถูกวินิจฉัยว่าไม่มีความผิดฐานฆ่าคน แต่มีความผิดฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนา (culpable homicide)[11][12][13]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Mr. Oscar "Oz" PISTORIUS, Who's Who of Southern Africa, 24.com, สืบค้นเมื่อ 18 May 2007.
  2. Jeré Longman (2007-05-15), "An amputee sprinter: Is he disabled or too-abled?", The New York Times, pp. A1 & A21.
  3. Josh McHugh (March 2007), "Blade Runner", Wired, no. 15.03.
  4. World wide ranking: T44 male 100 2008, International Wheelchair and Amputee Sports Federation, สืบค้นเมื่อ 19 July 2008.
  5. World wide ranking: T44 male 200 2008, International Wheelchair and Amputee Sports Federation, สืบค้นเมื่อ 19 July 2008.
  6. World wide ranking: T44 male 400 2008, International Wheelchair and Amputee Sports Federation, สืบค้นเมื่อ 19 July 2008.
  7. 'ออสการ์ พิสโตริอุส' ว่าที่ 'นักกีฬาพิการคนแรก' ในโอลิมปิก. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. ปีที่ 35 ฉบับที่ 12430. วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555. ISSN 1686-8188. หน้า 32
  8. มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6915. วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555. หน้า 31
  9. "Oscar Pistorius 'shot girlfriend': report". The Sydney Morning Herald. 14 February, 2013. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. Oscar Pistorius charged with murder
  11. Germaner, Shain (12 September 2014). "Oscar: the verdict is in". The Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 12 September 2014.
  12. Phipps, Claire (12 September 2014). "Oscar Pistorius verdict: judge to rule on culpable homicide – live". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 2014-09-17.
  13. Davies, Lisa (12 September 2014). "Oscar Pistorius is a convicted killer, but not a murderer". Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 12 September 2014.

อ้างอิง[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

บทความ[แก้]

รายงานข่าว[แก้]

หนังสือ[แก้]

  • Pistorius, Oscar; Servadio-Kenan, Rebecca, transl. (2009), Blade Runner, London: Virgin Books, ISBN 9780753519394.
  • Pistorius, Oscar; Merlo, Gianni (2008), Dream Runner: In Corsa per un Sogno [In the Race for a Dream], [S.l.]: Rizzoli (in Italian).
  • Pistorius, Oscar; Lochner, Tossie, trans. (2009), Oscar: Die verhaal van Oscar Pistorius, Roggebaai: Umuzi, ISBN 9781415200681 (in Afrikaans).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]