อนุกรมบัลเมอร์
หน้าตา
อนุกรมบัลเมอร์ (Balmer series) เป็นชุดของเส้นสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจนในย่านสเปกตรัมที่มองเห็นได้ไปจนถึงรังสีอัลตราไวโอเลตใกล้ ในบรรดาเส้นสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน 4 เส้นต่อไปนี้ได้รับการยืนยันในบริเวณแสงที่มองเห็นได้ และตั้งชื่อตามลำดับอักษรกรีก
ในปี 1885 โยฮัน ยาค็อพ บัลเมอร์ ชาวสวิตเซอร์แลนด์ค้นพบว่าความยาวคลื่น λ ของเส้นทั้ง 4 ด้านบนคือ
นี่เรียกว่าเป็นสูตรของบัลเมอร์ โดยที่ f = 364.56 nm, n = 3, 4, 5, 6, ...
สำหรับในลำดับถัดจากนั้นไป สเปกตรัมเส้นที่ n>7 ตรวจพบได้ในย่านรังสีอัลตราไวโอเลตใกล้
อนุกรมบัลเมอร์นี้ถือเป็นกรณีพิเศษของสูตรรืดแบร์ย
เส้นสเปกตรัม
[แก้]ตารางต่อไปนี้สรุปเส้นสเปกตรัมในอนุกรมบัลเมอร์[1]
การเปลี่ยนสถานะ | 3→2 | 4→2 | 5→2 | 6→2 | 7→2 | 8→2 | 9→2 | ∞→2 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเรียก | H-α / Ba-α | H-β / Ba-β | H-γ / Ba-γ | H-δ / Ba-δ | H-ε / Ba-ε | H-ζ / Ba-ζ | H-η / Ba-η | |
ความยาวคลื่น (นาโนเมตร) | 656.279 | 486.135 | 434.0472 | 410.1734 | 397.0075 | 388.9064 | 383.5397 | 364.6 |
ความแตกต่างพลังงาน (อิเล็กตรอนโวลต์) | 1.89 | 2.55 | 2.86 | 3.03 | 3.13 | 3.19 | 3.23 | 3.40 |
สี | แดง | ฟ้า | น้ำเงิน | ม่วง | (อัลตราไวโอเลต) | (อัลตราไวโอเลต) | (อัลตราไวโอเลต) | (อัลตราไวโอเลต) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kramida, A., Ralchenko, Yu., Reader, J., and NIST ASD Team (2019). NIST Atomic Spectra Database (ver. 5.7.1), [Online]. Available: https://physics.nist.gov/asd [2020, April 11]. National Institute of Standards and Technology, Gaithersburg, MD. DOI: https://doi.org/10.18434/T4W30F