โยฮัน ยาค็อพ บัลเมอร์
โยฮัน ยาค็อพ บัลเมอร์ (Johann Jakob Balmer) | |
---|---|
เกิด | 1 พฤษภาคม 1825 เลาเซิน สวิสเซอร์แลนด์ |
เสียชีวิต | 12 มีนาคม ค.ศ. 1898 บาเซิล, สวิสเซอร์แลนด์ | (72 ปี)
สัญชาติ | สวิสเซอร์แลนด์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยบาเซิล |
โยฮัน ยาค็อพ บัลเมอร์ (เยอรมัน: Johann Jakob Balmer, 1 พฤษภาคม 1825 – 12 มีนาคม 1898) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชาวสวิส
ชีวประวัติ
[แก้]บัลเมอร์เกิดที่เมืองเลาเซิน เป็นลูกชายคนโตของประธานผู้พิพากษา เขาเก่งคณิตศาสตร์ตอนเป็นนักเรียน และในมหาวิทยาลัยก็เรียนเอกคณิตศาสตร์
เขาเข้าศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีคาลส์รูเออ และ มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ในประเทศเยอรมนี และได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยบาเซิล ในปี 1849 จากผลงานเกี่ยวกับไซคลอยด์ เขาน์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในฐานะครูที่โรงเรียนหญิงล้วนในบาเซิล เขายังสอนที่มหาวิทยาลัยบาเซิล ในปี 1868 ขณะอายุได้ 43 ปี เขาแต่งงานกับคริสทีเนอ เพาลีเนอ ริงค์ (Christine Pauline Rinck) ทั้งคู่อยู่กินกันอย่างมีความสุขกับลูก 6 คน
งานวิจัย
[แก้]แม้ว่าความสำเร็จของบัลเมอร์ในฐานะนักคณิตศาสตร์จะไม่โดดเด่นนัก แต่เขากลายเป็นที่รู้จักในปี 1885 จากสูตรเชิงประจักษ์ที่อธิบายสเปกตรัมของ อะตอมไฮโดรเจน หลังจากวิเคราะห์สเปกตรัมเส้นของอะตอมไฮโดรเจนด้วยวิธีการวัดของอันแดร์ส ยูนัส อ็องสเตริม เขาพบว่าความยาวคลื่นของเส้นเป็นไปตามสูตรดังนี
โดยที่ h = 3.6456×10-7 เมตร, n = 2, m = 3, 4, 5, 6, ... เมื่อตีพิมพ์ในปี 1885 เขาเรียก h ว่า "เลขไฮโดรเจนหลักมูล" จากนั้นบัลเมอร์ก็ใช้สูตรนี้ในการทำนายกรณีที่ m = 7 โดยชี้ให้เห็นว่าอ็องสเตริมได้สังเกตเห็นเส้นความยาวคลื่น 397 นาโนเมตรแล้ว ภายหลังการมีอยู่ของเส้นสเปกตรัมอื่น ๆ ถัดมาในอนุกรมบัลเมอร์ยังได้รับการยืนยันจากเพื่อนร่วมงานของบัลเมอร์สองคนคือ ฮา. เว. โฟเกิล (H. W. Vogel) และ ฮูกกินส์ (Huggins)
สูตรของบัลเมอร์ได้ถูกค้นพบในภายหลังโดยโยฮานเนส รืดแบร์ย ในปี 1890 โดยเห็นได้ชัดว่าเป็นกรณีพิเศษของสูตรของรืดแบร์
โดยที่ RH คือค่าคงตัวรืดแบร์ย และค่าของ n จะต้องเป็น โดยเมื่อ จะเป็นอนุกรมบัลเมอร์
อย่างไรก็ตาม ในตอนนั้นยังไม่มีใครเข้าใจว่าทำไมสมการถึงออกมาเป็นแบบนี้ จนกระทั่งนิลส์ โปร์ได้คิดค้นแบบจำลองของโปร์ขึ้นมาในปี 1913
บัลเมอร์เสียชีวิตในบาเซิลในปี 1898 ก่อนที่จะได้เห็นความสำเร็จนั้น
หลังจากเสียชีวิต
[แก้]หนึ่งในหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ บัลเมอร์ ได้รับการตั้งชื่อตามนามสกุลของเขา หลุมนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 100 กม.