หะรัปปา

พิกัด: 30°37′44″N 72°51′50″E / 30.62889°N 72.86389°E / 30.62889; 72.86389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หะรัปปา
แหล่งโบราณคดีหะรัปปา
หะรัปปาตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
หะรัปปา
แสดงที่ตั้งภายในประเทศปากีสถาน
หะรัปปาตั้งอยู่ในแคว้นปัญจาบ
หะรัปปา
หะรัปปา (แคว้นปัญจาบ)
หะรัปปาตั้งอยู่ในเอเชียใต้
หะรัปปา
หะรัปปา (เอเชียใต้)
ที่ตั้งอำเภอสหิวาล แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
พิกัด30°37′44″N 72°51′50″E / 30.62889°N 72.86389°E / 30.62889; 72.86389
ประเภทนิคม
พื้นที่150 ha (370 เอเคอร์)
ความเป็นมา
สมัยหะรัปปา 1 ถึง หะรัปปา 5
วัฒนธรรมอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
สภาพRuined
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน
การเปิดให้เข้าชมใช่
เว็บไซต์www.harappa.com

หะรัปปา หรือ ฮะรัปปา (เสียงอ่านภาษาปัญจาบ: [ɦəɽəppaː]) หรือที่เอกสารไทยนิยมเรียก ฮารัปปา เป็นแหล่งโบราณคดีในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ห่างไป 24 km (15 mi) จากเมืองสหิวาล ชื่อของหะรัปปานำมาใช้เรียกอารยธรรมยุคสัมฤทธิ์ของลุ่มแม่น้ำสินธุที่มีอยู่ในแหล่งนี้ โดยชื่อนี้มาจากชื่อหมู่บ้านซึ่งสร้างขึ้นในยุคสมัยใหม่ ใกล้กับอดีตทางน้ำของแม่น้ำรวีซึ่งปัจจุบันไหลอยู่ห่างออกไป 8 km (5.0 mi) ทางเหนือ อารยธรรมหะรัปปามีอาณาเขตกว้างใหญ่ ทางใต้มีไปถึงรัฐคุชราตของอินเดีย และข้ามแคว้นสินธ์และรัฐราชสถาน ไปจนถึงแถบปัญจาบและรัฐหรยาณา นอกจากนี้ยังมีการพบแหล่งโบราณคดีนอกเหนือจากพื้นที่หลักดังกล่าว ซึ่งรวมถึงที่ขุดพบไกลถึงรัฐอุตตรประเทศทางตะวันออก และบนชายฝั่งมากรัน (Makran) ของแคว้นบาลูจิสถานทางตะวันตก[1][2]

แหล่งโบราณคดีหะรัปปาประกอบด้วยซากของนครยุคสัมฤทธิ์ซึ่งเป็นนครในกำแพงเมือง ส่วนหนึ่งของอารยธรรมหะรัปปา ที่มีศูนย์กลางอยู่ในแคว้นสินธ์และแคว้นปัญจาบ ต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสุสานเอช[3] เชื่อกันว่านครหะรัปปามีประชากรมากสุดถึง 23,500 คน และมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดถึง 150 เฮกตาร์ (370 เอเคอร์) เต็มไปด้วยบ้านเรือนสร้างจากอิฐดินเหนียว ในระหว่างสมัยยุคเติบโตสูงสุดของหะรัปปา (Mature Harappa; 2600 ปีก่อน ค.ศ. – 1900 ปีก่อน ค.ศ.) ถือว่ามีขนาดใหญ่สำหรับสมัยนั้น[4]

ในปี 2005 โครงการก่อสร้างสวนสนุกในบริเวณหะรัปปาซึ่งเป็นที่ถกเถียงอย่างมาก ต้องถูกล้มเลิกลงหลังขณะเตรียมการพื้นที่ก่อสร้างได้มีการขุดพบโบราณวัตถุมากมายตั้งแต่ในระยะแรกของการก่อสร้าง[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Giosan, L., Clift, P. D., Macklin, M. G., Fuller, D. Q., Constantinescu, S., Durcan, J. A., ... & Syvitski, J. P. (2012). Fluvial landscapes of the Harappan civilization. Proceedings of the National Academy of Sciences, 109(26), E1688-E1694.
  2. Dales, George F. (June 1962). "Harappan Outposts on the Makran Coast". Antiquity. 36 (142): 86–92. doi:10.1017/s0003598x00029689. ISSN 0003-598X. S2CID 164175444.
  3. Basham, A. L.; Dani, D. H. (Winter 1968–1969). "(Review of) A Short History of Pakistan: Book One: Pre-Muslim Period". Pacific Affairs. 41 (4): 641–643. doi:10.2307/2754608. JSTOR 2754608.
  4. Fagan, Brian (2003). People of the earth: an introduction to world prehistory. Pearson. p. 414. ISBN 978-0-13-111316-9.
  5. Tahir, Zulqernain. 26 May 2005. Probe body on Harappa park, Dawn. Retrieved 13 January 2006. เก็บถาวร 11 มีนาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน