ข้ามไปเนื้อหา

ชั้นแกสโทรโพดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หอยเปลือกเดียว)

ชั้นแกสโทรโพดา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Cambrian–Present[1]
แกสโทรพอดชนิดต่าง ๆ: ทากดำ (ทาก), Haliotis asinina (หอยเป๋าฮื้อ), Cornu aspersum (หอยทากบก), Notarchus indicus (กระต่ายทะเล), Patella vulgata (หอยทะเล) และ Polycera aurantiomarginata (ทากทะเล)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: มอลลัสกา
Mollusca
ชั้น: หอยฝาเดียว
Gastropoda
Cuvier, 1795[2]
ชั้นย่อย
ความหลากหลาย[3][4]
65,000 ถึง 80,000 ชนิด
ชื่อพ้อง[5]
  • Angiogastropoda - แทน Gastropoda
  • Apogastropoda - ตัวแทน Gastropoda อีกแบบ
  • Psilogastropoda - แทน Gastropoda

ชั้นแกสโทรโพดา (ชั้น: Gastropoda) หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยฝาเดียว หรือ หอยฝาเดี่ยว หรือ หอยกาบเดี่ยว หรือ หอยกาบเดียว หรือ หอยเปลือกเดี่ยว หรือ หอยเปลือกเดียว เป็นหนึ่งในลำดับของไฟลัมมอลลัสคา ในสิ่งมีชีวิต สัตว์ในชั้นนี้มีการสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันมีอยู่ระหว่าง 65,000-80,000 ชนิด[6][4] จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการสูงสุดรองจากมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอดหรือหมึกและหอยงวงช้าง

รูปร่างลักษณะ

[แก้]

ด้วยเหตุที่ได้พัฒนารูปร่างและวิถีการดำรงชีวิตให้อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและทะเลรวมถึงบนบก บนต้นไม้ หรือแม้กระทั่งในทะเลทรายอีกด้วย มีกล้ามเนื้อบริเวณเท้าแข็งแรงและหนาแน่น พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก มีลักษณะเปลือกตอนท้ายวนเป็นเกลียวซึ่งประกอบไปด้วยหินปูนเป็นสำคัญ โดยมากจะวนตามเข็มนาฬิกา คือ จากซ้ายไปขวา แต่ก็พบเป็นบางชนิดที่วนจากขวาไปซ้ายเช่นกัน มีเปลือกบาง ๆ ชิ้นหนึ่งปิดตอนต้นของฝาเรียกว่า "โอเพอร์คูลัม" (Operculum) มีส่วนหัวเจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ มีตา ภายในปากมีแรดูลาใช้สำหรับบดอาหาร หายใจด้วยเหงือกหรือปอดหรือแมนเทิล มีไตเป็นอวัยวะขับถ่าย

ซึ่งมอลลัสคาในชั้นนี้ยังรวมถึง ทากทะเล ซึ่งไม่มีเปลือก แต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นนี้ ซึ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ใต้ท้องทะเลที่มีสีสันจัดจ้านด้วย

มอลลัสคาในชั้นแกสโทรโพดา

[แก้]

ตัวอย่างของมอลลัสคาในชั้นนี้ ได้แก่ หอยขม, หอยสังข์, หอยเชอรี่, หอยทาก, หอยเต้าปูน, หอยเบี้ยจักจั่น, ทาก เป็นต้น[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Aktipis, S.W.; Giribet, G.; Lindberg, D.R.; W.F., Ponder (2008). "Gastropoda". ใน Ponder, W.; Lindberg, D.R. (บ.ก.). Phylogeny and evolution of the Mollusca. University of California Press. pp. 201–238. ISBN 978-0-520-25092-5.
  2. Cuvier, G (1795). "Second mémoire sur l'organisation et les rapports des animaux à sang blanc, dans lequel on traite de la structure des Mollusques et de leur division en ordres, lu à la Société d'histoire naturelle de Paris, le 11 Prairial, an III". Magazin Encyclopédique, ou Journal des Sciences, des Lettres et des Arts (ภาษาฝรั่งเศส). 2: 433–449. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-25.
  3. Bouchet P. & Rocroi J.-P. (Ed.); Frýda J., Hausdorf B., Ponder W., Valdes A. & Warén A. 2005. Classification and nomenclator of gastropod families. Malacologia: International Journal of Malacology, 47(1-2). ConchBooks: Hackenheim, Germany. ISBN 3-925919-72-4. 397 pp. vliz.be เก็บถาวร 2020-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. 4.0 4.1 Solem, A.G. "Gastropod". Encyclopaedia Britannica. Encyclopaedia Britannica Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2016. สืบค้นเมื่อ 6 March 2017.
  5. Bieler R, Bouchet P, Gofas S, Marshall B, Rosenberg G, La Perna R, Neubauer TA, Sartori AF, Schneider S, Vos C, ter Poorten JJ, Taylor J, Dijkstra H, Finn J, Bank R, Neubert E, Moretzsohn F, Faber M, Houart R, Picton B, Garcia-Alvarez O, บ.ก. (2020). "Gastropoda". MolluscaBase. World Register of Marine Species. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
  6. Strong, Ellen E.; Schrödl, Michael; Parkhaev, Pavel; Nützel, Alexander; Kano, Yasunori; Kaim, Andrzej; Hausdorf, Bernhard; Rocroi, Jean-Pierre; Bouchet, Philippe (December 31, 2017). "Revised Classification, Nomenclator and Typification of Gastropod and Monoplacophoran Families". Malacologia. 61 (1–2): 1–526. doi:10.4002/040.061.0201. S2CID 91051256.
  7. คอลัมน์ Aqua Pets โดย จอม ปัทมคันธิน หน้า 100-108 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 7 ปีที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2011

ข้อมูล

[แก้]
  • This article incorporates CC-BY-2.0 text from the following source: Cunha, R. L.; Grande, C.; Zardoya, R. (2009). "Neogastropod phylogenetic relationships based on entire mitochondrial genomes". BMC Evolutionary Biology. 9: 210. doi:10.1186/1471-2148-9-210. PMC 2741453. PMID 19698157.
  • Abbott, R. T. (1989): Compendium of Landshells. A color guide to more than 2,000 of the World's Terrestrial Shells. 240 S., American Malacologists. Melbourne, Fl, Burlington, Ma. ISBN 0-915826-23-2
  • Abbott, R. T. & Dance, S. P. (1998): Compendium of Seashells. A full-color guide to more than 4,200 of the world's marine shells. 413 S., Odyssey Publishing. El Cajon, Calif. ISBN 0-9661720-0-0
  • Parkinson, B., Hemmen, J. & Groh, K. (1987): Tropical Landshells of the World. 279 S., Verlag Christa Hemmen. Wiesbaden. ISBN 3-925919-00-7
  • Ponder, W. F. & Lindberg, D. R. (1997): Towards a phylogeny of gastropod molluscs: an analysis using morphological characters. Zoological Journal of the Linnean Society, 119 83–265.
  • Robin, A. (2008): Encyclopedia of Marine Gastropods. 480 S., Verlag ConchBooks. Hackenheim. ISBN 978-3-939767-09-1

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]