ข้ามไปเนื้อหา

หอคอยกระเรียนเหลือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอคอยกระเรียนเหลือง

หอคอยกระเรียนเหลือง (อังกฤษ: Yellow Crane Tower) หรือ หอคอยหวงเฮ่อ (จีนตัวย่อ: 黄鹤楼; จีนตัวเต็ม: 黃鶴樓; พินอิน: Huánghè Lóu) เป็นหอคอยแบบธรรมเนียมจีนตั้งอยู่ในนครอู่ฮั่น หอคอยหลังปัจจุบันสร้างขึ้นในระหว่างปี 1981-1985 แต่หอคอยนี้เคยมีอยู่มาก่อนในหลายรูปนับตั้งแต่ปี 223 หอคอยปัจจุบันมีความสูง 51.4 m (169 ft) บนพื้นที่ 3,219 m2 (34,650 sq ft) ตั้งอยู่บนเขางู (蛇山) หนึ่งกิโลเมตรจากที่เคยตั้งหอคอยหลังเดิม ริมแม่น้ำแยงซี หอคอยนี้ยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในลัทธิเต๋า ว่ากันว่า หลี่ว์ ต้งปิน ได้เดินทางสู่สวรรค์จากที่นี่[1]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

แผนที่และบันทึกว่าด้วยจังหวัดและมณฑลของหยวนเหอ เขียนขึ้นราว 600 ปี หลังการก่อสร้างหอคอย ระบุว่านับตั้งแต่ซุน กวน ปฐมกษัตริย์แห่งอู่ตะวันออก สร้างป้อม Xiakou ขึ้นในปี 223 และสร้างหอคอยขึ้นตรงจุดที่เป็นเขื่อนกระเรียนเหลือง ซึ่งกลายมาเป็นที่มาของชื่อหอคอย[2][3]

หอคอยถูกทำลายไปรวม 12 ครั้ง ทั้งจากเพลิงไหม้และจากสงคราม ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง และได้รับการซ่อมแซมรวม 10 วาระ หอคอยหลังสุดท้ายที่จุดที่ตั้งหอคอยหลังเดิมสร้างขึ้นในปี 1868 และทำลายลงไปในปี 1884 ต่อมาในปี 1907 ได้มีการสร้างหอคอยหลังใหม่ขึ้นใกล้กับจุดที่ตั้งหอคอยหลังเดิม จาง จื้อตง เสนอชื่อ '奧略樓' (หอคอยเอ้าลี่ว์) สำหรับหอคอยหลังใหม่นี้ รวมถึงยังได้เขียนโคลงคู่ถึง[4] ในปี 1957 สะพานอู่ฮั่นแยงซีได้สร้างขึ้นโดยที่โครงรับน้ำหนักข้างหนึ่งของสะพานสร้างอยู่บนจุดที่จะเป็นหอคอยกระเรียนเหลือง ในปี 1981 รัฐบาลนครอู่ฮั่นได้เริ่มก่อสร้างหอคอยขึ้นใหม่อีกครั้งที่จุดใหม่ ห่างไปราว 1 km (0.62 mi) จากจุดเดิม หอคอยหลังใหม่นี้สร้างเสร็จในปี 1985[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Images of the Immortal: The Cult of Lü Dongbin at the Palace of Eternal Joy by Paul R. Katz, University of Hawaii Press, 1999, page 80
  2. 元和郡縣圖志 卷第二十七 [Yuanhe Maps and Records of Prefectures and Counties, Chapter 27] (ภาษาจีนตัวเต็ม). Chinese Text Project. สืบค้นเมื่อ 30 December 2017. 州城本夏口城,吳黃武二年[223],城江夏以安屯戍地也。城西臨大口,西南角因磯為樓,名黃鶴樓。
  3. Li, Jifu (李吉甫; He, Cijun (賀次君) (1983). 元和郡縣圖志 [Yuanhe Maps and Records of Prefectures and Counties]. 中國古代地理總志叢刊. Beijing: Zhonghua Book Company.
  4. 两副楹联两座楼. 光绪三十三年(1907),张之洞由湖广总督任内奉召进京任军机大臣。湖北学界为了表示纪念他,在被焚的同治黄鹤楼的故址附近,修了一座“风度楼”,接着遵照张之洞的意见,改名为“奥略楼”。第二年,张氏为它题了一副楹联:“昔贤整顿乾坤,缔造多从江汉起;今日交通文轨,登临不觉亚欧遥。”{...}Aoliaolou Hall
  5. Fang Wang (14 April 2016). Geo-Architecture and Landscape in China's Geographic and Historic Context: Volume 1 Geo-Architecture Wandering in the Landscape. Springer. pp. 43–. ISBN 978-981-10-0483-4.