หลิวเฉิ่ง
หลิว เฉิ่ง 劉勝 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จงซานหวัง (中山王) | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 154 - 113 ปีก่อนคริสต์ศักราช | ||||||||
ถัดไป | หลิว ชาง | ||||||||
ประสูติ | ไม่ทราบ | ||||||||
สวรรคต | 113 ปีก่อนคริสต์ศักราช | ||||||||
คู่อภิเษก | โต้วหว่าน | ||||||||
พระราชบุตร | หลิว ชาง, จงซานอายหวัง (中山哀王) หลิว เจิ้น, หลู่เฉิงถิงโหว (涿鹿亭侯) | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ฮั่น | ||||||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิฮั่นจิง | ||||||||
พระราชมารดา | พระสนมเจี่ย |
หลิวเฉิ่ง จงซานจิงหวัง หรือ ตงสานเชงอ๋อง (จีนตัวย่อ: 刘胜; จีนตัวเต็ม: 劉勝) เป็นกษัตริย์และเจ้าชายแห่งจักรวรรดิฮั่นตะวันตกของประวัติศาสตร์จีน พระบิดาของพระองค์คือ จักรพรรดิฮั่นจิง และพระองค์เป็นพระเชษฐาของ จักรพรรดิฮั่นอู่ สุสานของพระองค์เป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
พระประวัติ
[แก้]หลิว เฉิ่ง เป็นพระโอรสของ จักรพรรดิฮั่นจิง และพระสนมเจี่ย ซึ่งมีพระโอรสอีกองค์หนึ่งคือ หลิว เผิงซู่ จ้าวหวัง พระองค์ได้รับศักดินาเป็นดินแดนจงซานจากพระบิดาของพระองค์เมื่อ154 ปีก่อนคริสตกาล และด้วยเหตุนี้พระองค์จึงดำรงพระยศเป็นอ๋องในช่วงหลังกบฏเจ็ดรัฐ
ในปีที่สามของศักราช เจี้ยนยฺเหวียน ในรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่ พระอนุชาของพระองค์ เจ้าชายหลิวเฉิ่ง และเจ้าศักดินาอีกหลายองค์ได้รับเชิญไปร่วมงานเลี้ยงที่ ฉางอาน ในงานเลี้ยง เจ้าชายหลิวเฉิ่ง เริ่มกรรแสง (ร้องไห้) และบ่นเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเจ้าศักดินาโดยข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งจากส่วนกลาง ซึ่งใช้บทบาทของพวกเขาเฝ้าติดตามตรวจสอบเจ้าศักดินาทั้งหลายอย่างต่อเนื่อง จักรพรรดิฮั่นอู่ ที่ประทับพระทัยกับคำร้องนี้ และรับสั่งอย่างชัดแจ้งว่า "การตรวจสอบที่ไม่เป็นธรรมต่อเจ้าศักดินาควรหยุดได้แล้ว" ต่อมาเจ้าชายหลิวเฉิ่ง กลายเป็นหนึ่งในเจ้าศักดินาที่มีชื่อเสียงที่สุด
เป็นที่ทราบกันดีว่าพระองค์ชอบเสวยน้ำจัณฑ์ (สุรา) และโปรดปรานอิสตรี และขึ้นชื่อว่ามีโอรสประมาณ 120 องค์[1][2]
ราชตระกูล
[แก้]- พระบิดา: จักรพรรดิฮั่นจิง
- พระมารดา: พระสนมเจี่ย
- พระชายา: โต้วหว่าน
- พระบุตร:
- หลิว ชาง, จงซานอายหวัง (中山哀王)
- หลิว เจิ้น, หลู่เฉิงถิงโหว (涿鹿亭侯)
- ทายาท
- เล่าปี่ (161-223)
พระสุสาน
[แก้]พระสุสานของ เจ้าชายหลิวเฉิ่ง ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1968 โดย Wang Zhongshu ที่ Mancheng ใน มณฑลเหอเป่ย์ ทางตะวันตกของปักกิ่ง พระองค์ถูกฝังพร้อมกับ โต้วหว่าน พระชายาของพระองค์ ทั้งสองถูกฝังอยู่ในถ้ำสองแห่งภายในภูเขา ถ้ำแต่ละแห่งประกอบด้วยห้องสองด้านสำหรับเก็บของ ห้องด้านหลังสำหรับเก็บโลงศพ หลุมฝังศพมีข้าวของเครื่องใช้มากกว่า 2,700 ชิ้น รวมวัตถุดังต่อไปนี้:
- สิ่งของเครื่องใช้ที่ทำจากทองแดง 419 ชิ้น