หลวงหิรญการโกศิต (ป้อม ธนสิริ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รองอำมาตย์เอก หลวงหิรญการโกศิต นามเดิม ป้อม ธนสิริ (15 เมษายน พ.ศ. 2407 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2459)[1] เป็นขุนนางชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งปลัดกรมกรมกลาง และต้นตระกูลธนสิริ[2]

ประวัติ[แก้]

หลวงหิรญการโกศิต (ป้อม ธนสิริ) เป็นบุตรของศรีและแพ่ง ธนสิริ เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2407 ณ ตำบลสวนมะลิ ข้างวัดดวงแข กรุงเทพ

ได้ศึกษาภาษาไทย เลข ลูกคิด ฯลฯ ตามโรงเรียนสามัญ เมื่ออายุสมควรอุปสมบทแล้ว ได้อุปสมบทในสำนักพระเทพกวี (นิ่ม) วัดเครือวัลย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2428 จำพรรษาอยู่ที่วัดดวงแข สวนมะลิ และเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 พรรษา จึงลาสิกขาบท

การรับราชการ[แก้]

ครั้งเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2430 ได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนอยู่ที่กรมศุลกากร กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 5 ปี

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2436 ย้ายมารับราชการเป็นเสมียนอยู่ในกองบัญชี กระทรวงธรรมการ ได้เลื่อนตำแหน่งโดยลำดับจนเป็นนายเวรแผนกเบิกจ่ายในกระทรวงธรรมการนั้น

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นปลัดกรมกรมกลาง และรับราชการเรื่อยมา

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 – ขุนหิรญการโกศิต ถือศักดินา 500[3]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2457 – หลวงหิรญการโกศิต ถือศักดินา 800[4]

ยศ[แก้]

ยศพลเรือน[แก้]

  • 7 สิงหาคม พ.ศ. 2454 – รองอำมาตย์โท[5]
  • 6 มีนาคม พ.ศ. 2458 – รองอำมาตย์เอก[6]

ถึงแก่กรรม[แก้]

หลวงหิรญการโกศิตเริ่มป่วยมาตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 เป็นไข้ มีอาการให้เมื่อยและป่วยตามตัว แพทย์ประกอบยารักษาอยู่ 8 วันหาคลายไม่ ครั้นวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 เวลาบ่าย 4 โมง หลวงหิรญการโกศิตก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคกษัย รวมอายุ 53 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๐๘, ๖ สิงหาคม ๒๔๕๙
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนา สกุล ครั้งที่ ๓๗, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๗๓, ๒๔ ตุลาคม ๒๔๕๘
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งยศขุนนาง, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๗, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งและเลื่อนยศบรรดาศักดิ์, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๒๗, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงธรรมการ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๓๗, ๑๓ สิงหาคม ๑๓๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศและเลื่อนยศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๑๙ มีนาคม ๒๔๕๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๙, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๗๙, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖