หมู่โลหิต
หมู่โลหิต (Blood Type หรือ Blood Group) คือ การแยกแยะ เลือด เป็นหมวดหมู่ ปัจจุบันมีระบบหมู่โลหิต 40 ระบบ ระบบหมู่โลหิตที่สำคัญ ระบบหมู่โลหิตเอบีโอ (ABO System) และ ระบบอาร์เอช (Rh System) โดยจำแนกตาม แอนติเจน ที่อยู่บน เม็ดเลือดแดง
ระบบหมู่เลือด
[แก้]การจำแนกหมู่เลือดที่สมบูรณ์จะประกอบด้วยการระบุสารผิวเซลล์ เม็ดเลือดแดง 30 ชนิด ดังนั้นหมู่เลือดของคนคนหนึ่งจะเป็นส่วนประกอบของชนิดของแอนติเจนย่อยต่างๆ ประกอบกัน สารผิวเซลล์ 30 ชนิดนี้ มีการพบแอนติเจนที่แตกต่างกันแล้วกว่า 600 แบบ แต่บางแบบเป็นชนิดหายาก อาจพบเฉพาะในบางชนเผ่าหรือเชื้อชาติ
ระบบเอบีโอ
[แก้]ระบบเอบีโอเป็นระบบหมู่โลหิตที่สำคัญที่สุดในการถ่ายเลือด,o6KpN แอนตี-เอและแอนตี-บีแอนติบอดีปกติเป็นแอนติบอดีอิมมูโนโกลบูลินเอ็ม (IgM) แอนติบอดี IgM ผลิตขึ้นในปีแรกของชีวิตโดยการสัมผัสกับสารในสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร แบคทีเรีย และไวรัส
ฟีโนไทป์ | จีโนไทป์ |
---|---|
A | AA หรือ AO |
B | BB หรือ BO |
AB | AB |
O | OO |
ระบบอาร์เอช
[แก้]ระบบอาร์เอช (Rh; "รีซัส") เป็นระบบหมู่โลหิตที่มีความสำคัญมากเป็นอันดับ 2 ในการถ่ายเลือดมนุษย์ โดยปัจจุบันมี 50 แอนติเจน แอนติเจนอาร์เอชที่สำคัญที่สุด คือ แอนติเจน D เพราะมีแนวโน้มกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันมากที่สุดในบรรดา 5 แอนติเจนหลักของระบบอาร์เอช โดยทั่วไปผู้ที่ไม่มีแอนติเจน D (D เนกาทีฟ หรืออาร์เอชลบ) จะไม่ผลิตแอนตี-D แอนติบอดีชนิด IgG หรือ IgM เพราะแอนตี-D แอนติบอดีปกติไม่ผลิตโดยการสัมผัสกับสารในสิ่งแวดล้อม ทว่า ผู้ที่มีหมู่โลหิต D เนกาทีฟสามารถผลิตแอนตี-D แอนติบอดีชนิด IgG ได้หลังการสัมผัส ซึ่งอาจเป็นการถ่ายเลือดระหว่างทารกในครรภ์กับมารดา หรืออาจเป็นการถ่ายเลือดกับเม็ดเลือดแดง D โพสิทีฟ [1] สามารถเกิดโรคอาร์เอชได้ในผู้ป่วยเหล่านี้[2] หมู่โลหิตอาร์เอชลบพบเป็นสัดส่วนน้อยกว่าในชาวเอเชีย (0.3%) เมื่อเทียบกับคนขาว (15%)[3] การมีหรือไม่มีแอนติเจนอาร์เอชแสดงด้วยเครื่องหมาย + หรือ − ตัวอย่างเช่น หมู่ A− คือ ไม่มีแอนติเจนอาร์เอชทุกชนิด
หมู่โลหิตอื่น
[แก้]นอกจากระบบเอบีโอและอาร์เอช ยังมีการระบุระบบหมู่โลหิตอีก 30 หมู่ [4]
ความสำคัญทางคลินิก
[แก้]ความเข้ากันได้ของเม็ดเลือดแดง
[แก้]ผู้รับ[1] | ผู้ให้[1] | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
O− | O+ | A− | A+ | B− | B+ | AB− | AB+ | |
O− | ||||||||
O+ | ||||||||
A− | ||||||||
A+ | ||||||||
B− | ||||||||
B+ | ||||||||
AB− | ||||||||
AB+ |
หมายเหตุตาราง: 1. โดยสมมติให้ไม่มีแอนติบอดีนอกแบบซึ่งจะทำให้เลือดผู้ให้และผู้รับเข้ากันไม่ได้ ซึ่งเป็นปกติของเลือดที่ถูกเลือกโดยการทดสอบความเข้ากันได้ของเลือดผู้ให้และผู้รับ (cross matching)
ความเข้ากันได้ของพลาสมา
[แก้]ผู้รับเลือด | ผู้ให้เลือด | |||
---|---|---|---|---|
O | A | B | AB | |
O | ||||
A | ||||
B | ||||
AB |
"Donor and recipient are switched? หมายเหตุตาราง: 1. โดยสมมติว่าไม่มีแอนติบอดีนอกแบบที่แรงในพลาสมาผู้ให้
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Talaro, Kathleen P. (2005). Foundations in microbiology (5th ed.). New York: McGraw-Hill. pp. 510–1. ISBN 0-07-111203-0.
- ↑ Moise KJ (July 2008). "Management of rhesus alloimmunization in pregnancy". Obstetrics and Gynecology. 112 (1): 164–76. doi:10.1097/AOG.0b013e31817d453c. PMID 18591322.
- ↑ "Rh血型的由來". Hospital.kingnet.com.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-11. สืบค้นเมื่อ 2010-08-01.
- ↑ Joshua E. Brown (22 February 2012). "Blood Mystery Solved". University Of Vermont. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
- ↑ "RBC compatibility table". American National Red Cross. December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-04. สืบค้นเมื่อ 2008-07-15.
- ↑ 6.0 6.1 Blood types and compatibility bloodbook.com