ทฤษฎีบุคลิกภาพหมู่โลหิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มีความเชื่อที่ได้รับความนิยมทั่วไปในประเทศญี่ปุ่นและประเทศเอเชียตะวันออกอื่นว่าหมู่โลหิตเอบีโอของบุคคล (เค็ทซุเอะกิงะตะ; ญี่ปุ่น: 血液型) สามารถทำนายบุคลิกภาพ พื้นอารมณ์แต่กำเนิดและความเข้ากันได้กับผู้อื่นของบุคคลนั้นได้[1] ความเชื่อนี้คล้ายกับการมองว่าสัญลักษณ์ทางโหราศาสตร์เป็นปัจจัยส่งผลในชีวิตของบุคคลในประเทศอื่นทั่วโลก ทว่า หมู่โลหิตมีบทบาทเด่นกว่าโหราศาสตร์ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศเอเชียตะวันออกอื่นเมื่อเทียบกับในประเทศอื่น

ความเชื่อนี้รับมาจากมโนภาพคตินิยมเชื้อชาติทางวิทยาศาสตร์ในอดีต กำเนิดขึ้นจากสิ่งพิมพ์เผยแพร่โดยมะซะฮิโกะ โนะมิในคริสต์ทศวรรษ 1970 ประชาคมวิทยาศาสตร์และวิชาการไม่สนใจความเชื่อดังกล่าวโดยมองว่าเป็นสิ่งงมงายหรือวิทยาศาสตร์เทียมเนื่องจากขาดพื้นฐานหลักฐานที่พิสูจน์ได้หรือการอ้างอิงเกณฑ์ที่ทดสอบได้[1][2][3] แม้การวิจัยความเชื่อมโยงเหตุกรรมระหว่างหมู่โลหิตและบุคลิกภาพมีจำกัด แต่การวิจัยได้แสดงเป็นที่ยุติว่าไม่มีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[4][5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Yamaguchi, Mari (6 May 2005). "Myth about Japan blood types under attack". MediResource Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-28. สืบค้นเมื่อ 29 December 2007.
  2. Dating by blood type in Japan
  3. Nuwer, Rachel. "You are what you bleed: In Japan and other east Asian countries some believe blood type dictates personality". Scientific American. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-18. สืบค้นเมื่อ 16 Feb 2011.
  4. Cramer, K. M., & Imaike, E. (2002). Personality, blood type, and the five-factor model. Personality and individual differences, 32(4), 621-626.
  5. Rogers, M., & Glendon, A. I. (2003). Blood type and personality. Personality and individual differences, 34(7), 1099-1112.
  6. Wu, K., Lindsted, K. D., & Lee, J. W. (2005). Blood type and the five factors of personality in Asia. Personality and individual differences, 38(4), 797-808.