หมาป่าเคราขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมาป่าเคราขาว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.1–0Ma
สมัยไพลสโตซีนตอนปลาย – ปัจจุบัน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Canidae
เผ่า: Canini
สกุล: Chrysocyon
C. E. H. Smith, 1839
สปีชีส์: C.  brachyurus
ชื่อทวินาม
Chrysocyon brachyurus
(Johann Karl Wilhelm Illiger, 1815)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Canis campestris (Wied-Neuwied, 1826)
  • Canis isodactylus (Ameghino, 1906)
  • Canis jubatus (Desmarest, 1820)
  • Canis vulpes (Larrañaga, 1923)
  • Vulpes cancrosa (Oken, 1816)

หมาป่าเคราขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysocyon brachyurus; อังกฤษ: Maned wolf) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Chrysocyon พบในทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศบราซิล, ประเทศปารากวัย และประเทศโบลิเวีย หมาป่าเคราขาวมีลักษณะโดยผิวเผินคล้ายคลึงกับหมาจิ้งจอก แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก โดยสูงถึงสามฟุตนับจากเท้าถึงหัวไหล่ เพราะมีช่วงขาที่ยาวทำให้การมองเห็นได้ดีเมื่อต้องอยู่ในทุ่งหญ้าหรือที่รกชัฏ มีน้ำหนักประมาณ 20 ถึง 25 กิโลกรัม

ขนลำตัวเป็นสีแดงน้ำตาล โดยมีขนขาและหลังคอเป็นสีดำ ขนปลายหางและใต้ลำคอเป็นสีขาว ขนดำที่หลังคอเป็นขนยาวและตั้งชันได้เวลากลัวหรือต้องการแสดงความก้าวร้าว

หมาป่าเคราขาวมักอาศัยเป็นลำพัง หรือเป็นคู่ ซึ่งต่างจากสัตว์ในวงศ์หมาป่าขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่มักอยู่เป็นฝูง หมาป่าเคราขาวล่าสัตว์ขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นอาหารในเวลากลางคืน เช่น สัตว์ฟันแทะ, กระต่าย และ นก นอกเหนือจากนี้ หมาป่าเคราขาวกินผลไม้และพืชอีกหลายชนิดไม่แพ้เนื้อสัตว์ หากไม่ได้กินพืช หมาป่าเคราขาวจะเป็นโรคนิ่วได้

หมาป่าเคราขาวที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเซอราโด ของบราซิล มีพฤติกรรมชอบกินผลของโลบิรา (Solanum lycocarpum) มาก[2] และเมื่อกินแล้วจะถ่ายมูลลงบนยอดจอมปลวกเล็ก ๆ ที่ขึ้นในทุ่งหญ้าเซอราโด ซึ่งในมูลนั้นจะมีเมล็ดของโลบิราอยู่ด้วย ซึ่งจะงอกเป็นต้นโลบิราขึ้นมาบนจอมปลวกนั้น เป็นเหตุให้ต้นโลบิราในทุ่งหญ้าเซอราโด มักขึ้นอยู่บนยอดจอมปลวกขนาดเล็ก[3]

ในปัจจุบัน หมาป่าเคราขาวมีจำนวนลดลง เนื่องจากถูกล่าจากมนุษย์ และติดเชื้อโรคจากสุนัขบ้าน หมาป่าเคราขาวเป็นสัตว์ในบัญชีหมายเลข ๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยห้ามส่งออกหรือนำเข้าโดยปราศจากใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Rodden, M., Rodrigues , F. & Bestelmeyer, S. (2008). Chrysocyon brachyurus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 22 March 2009. Database entry includes justification for why this species is near threatened.
  2. Amboni, M.P. (2007). Dieta, disponibilidade alimentar e padrão de movimentação de lobo-guará, Chrysocyon brachyurus, no Parque Nacional da Serra da Canastra, MG (PDF) (วิทยานิพนธ์ Mestrado em Ecologia, Manejo e Conservação da Vida Silvestre) (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). Belo Horizonte: UFMG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 15 September 2015.
  3. Mutant Planet: Brazil Cerrado. "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอล พลาเน็ต, ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2556
  4. "ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดของสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าและส่งออก" (PDF). 24 เมษายน 2017. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง หน้า ๔.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Bandeira de Melo, L. F., M. A. Lima Sábato, E. M. Vaz Magni, R. J. Young, C. M. Coelho (January 2007). "Secret lives of maned wolves (Chrysocyon brachyurus Illiger 1815): as revealed by GPS tracking collars". Journal of Zoology, 271(1). pp. 27–36. doi:10.1111/j.1469-7998.2006.00176.x.
  • Garcia, D., Estrela, G. C., Soares, R. T. G., Paulino, D., Jorge, A. T., Rodrigues, M. A., Sasahara, T. H., & Honsho, C. (2020). "A study on the morphoquantitative and cytological characteristics of the bulbar conjunctiva of the maned wolf (Chrysocyon brachyurus; Illiger, 1815)". Anatomia Histologia Embryologia, 1. doi:10.1111/ahe.12647.
  • Vergara-Wilson, V., Hidalgo-Hermoso, E., Sanchez, C. R., Abarca, M. J., Navarro, C., Celis-Diez, S., Soto-Guerrero, P., Diaz-Ayala, N., Zordan, M., Cifuentes-Ramos, F., & Cabello-Stom, J. (2021). "Canine Distemper Outbreak by Natural Infection in a Group of Vaccinated Maned Wolves in Captivity". Pathogens, 10(1), 51. doi:10.3390/pathogens10010051.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Chrysocyon brachyurus ที่วิกิสปีชีส์