หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน
หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Rodentia |
วงศ์: | Muridae |
สกุล: | Niviventer |
สปีชีส์: | N. hinpoon |
ชื่อทวินาม | |
Niviventer hinpoon (Marshall, 1976) |
หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Niviventer hinpoon; อังกฤษ: Limestone rat) เป็นสปีชีส์ของสัตว์ฟันแทะในวงศ์ Muridae อาศัยในถ้ำหินปูน พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ในจังหวัดอุทัยธานี, สระบุรี และลพบุรี
สถานภาพปัจจุบันตามบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติว่าเป็นสัตว์ใกล้ถูกคุกคาม ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535[1]
ประวัติ
[แก้]ถูกค้นพบครั้งแรกโดย William A. Neill เมื่อ พ.ศ. 2516 จับได้ในบริเวณเขาหินปูน บริเวณพุน้ำตก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี หลังจากนั้นอีก 2 ปี นายส่งศักดิ์ เย็นบุตร สามารถจับหนูตัวเมีย 1 ตัว ได้จากถ้ำเขาหินปูน บริเวณวัดถ้ำพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ. 2518
ปัจจุบันตัวอย่างต้นแบบแรกของหนูขนเสี้ยนเขาหินปูน หมายเลข 54-3988 ได้เก็บรักษาไว้ที่ศูนย์รวบรวมตัวอย่างอ้างอิงทางชีววิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย[1]
ลักษณะ
[แก้]หนูขนเสี้ยนเขาหินปูนมีขนแข็งขึ้นแซมบนลำตัวทางด้านหลัง ขนด้านหลังสีเทาอมเหลือง ด้านท้องสีเทา มีนม 4 คู่ หางสองสี ด้านบนสีดำและด้านล่างสีขาว หางยาวเท่า ๆ กับความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน[ลิงก์เสีย] หมายเหตุนิเวศวิทยา ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 พ.ศ 2550
- ↑ หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน ฐานข้อมูลชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม
- Baillie, J. 1996. Niviventer hinpoon[ลิงก์เสีย]. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 19 July 2007.
- Musser, G. G. and M. D. Carleton. 2005. Superfamily Muroidea. Pp. 894-1531 in Mammal Species of the World a Taxonomic and Geographic Reference. D. E. Wilson and D. M. Reeder eds. Johns Hopkins University Press, Baltimore.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Niviventer hinpoon ที่วิกิสปีชีส์