ข้ามไปเนื้อหา

สำเนียงฮัมกย็อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮัมกย็อง
ภาษาเกาหลีตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศที่มีการพูดประเทศเกาหลีเหนือ และประเทศจีน
ภูมิภาคจังหวัดฮัมกย็อง และมณฑลจี๋หลิน
จำนวนผู้พูด(no estimate available)
ตระกูลภาษา
ตระกูลภาษาเกาหลี
ภาษาถิ่น
รหัสภาษา
ISO 639-3

สำเนียงฮัมกย็อง (เกาหลี함경도 방언; ฮันจา咸鏡道 方言; อาร์อาร์Hamgyeongdo Bang'eon; เอ็มอาร์Hamgyŏngdo Pang'ŏn) บ้างเรียก ภาษาเกาหลีตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเกาหลี มีผู้ใช้สำเนียงดังกล่าวในจังหวัดฮัมกย็องเหนือ จังหวัดฮัมกย็องใต้ และจังหวัดรยังกังของประเทศเกาหลีเหนือ และยังพบผู้ใช้ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลี หยันเปียน มณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน ถือเป็นสำเนียงถิ่นที่มีความต่างเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาเกาหลีสำเนียงมาตรฐานไม่ว่าของเกาหลีใต้หรือแม้แต่สำเนียงมาตรฐานของเกาหลีเหนือเอง เช่น ไวยากรณ์ เสียงสูงต่ำ และความหมาย

ดังตัวอย่างศัพท์ทางเครือญาติ (kinship terminology) ในภาษาเกาหลีมาตรฐานจะเรียกคำว่า "พ่อ" ว่า '"อาบอจี" (아버지) แต่สำเนียงฮัมกย็องจะออกเสียงเป็น "อาบาอี" (아바이) หรือ "แอบี" (애비)[1]

นอกจากนี้สำเนียงฮัมกย็องยังส่งอิทธิพลต่อภาษาโครยอ-มาร์ อันเป็นภาษาที่ชาวเกาหลีที่อาศัยในอดีตสหภาพโซเวียตใช้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประชากรกลุ่มดังกล่าวมีบรรพบุรุษอพยพจากจังหวัดฮัมกย็องไปตะวันออกไกลเมื่อศตวรรษที่ 19[2] พจนานุกรมภาษาเกาหลีของยุโรปฉบับแรกเป็นพจนานุกรมภาษาเกาหลี-รัสเซียของพุตซิลโล ที่ทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1874[3] ส่วนใหญ่คำศัพท์มีพื้นฐานมาจากสำเนียงฮัมกย็อง ซึ่งถูกรวบรวมขึ้นขณะที่ผู้เขียนอาศัยอยู่ในวลาดีวอสตอค[4]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Kim, German (2007), "Education and Diasporic Language: The Case of Koreans in Kazakhstan" (PDF), Acta Slavica Iaponica, 27: 103–123
  • 곽충구/Kwak Chung-ku (1993), "함경도방언의 (咸鏡道方言) 친족명칭과 그 지리적 분화/Kinship Terms and Geographical Differentiation in the Hamgyong Dialect", 진단학보, 76: 209–239
  • Hub, Woong; Kim, Chin-u; Yi, Sang-ok; Lee, Ki-moon; Kim, Jin-p'yong (1983), The Korean Language, Korean Art, Folklore, Language, and Thought, vol. 6, South Korea: UNESCO, ISBN 978-0-89209-019-8
  • Putsillo, Mikhail Pavlovich (1874), Опыт русско-корейского словаря, Тип. Гогенфельден, OCLC 78070951