ความตกลงสมบูรณ์แบบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความตกลงสมบูรณ์แบบ
ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อยุติสถานะสงครามระหว่างประเทศไทย กับบริเตนใหญ่และอินเดีย
ประเภทสนธิสัญญาสันติภาพ
วันลงนาม1 มกราคม พ.ศ. 2489
ที่ลงนามสิงคโปร์ สหพันธรัฐมลายู
วันมีผล1 มกราคม พ.ศ. 2489
ภาคีไทย ไทย
ภาษาไทย และอังกฤษ
th:ความตกลงสมบูรณ์แบบ ที่ วิกิซอร์ซ

ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อยุติสถานะสงครามระหว่างประเทศไทยกับบริเตนใหญ่และอินเดีย (อังกฤษ: Formal Agreement for the Termination of the State of War between Siam and Great Britain and India) หรือ ความตกลงสมบูรณ์แบบ เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 ณ สิงคโปร์ อันเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างไทยกับบริเตนใหญ่ที่ไทยประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับในวันเดียวกับที่ลงนาม และมีการขึ้นทะเบียนที่ชุดสนธิสัญญาสหประชาชาติในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2494[1]

ผลลัพธ์[แก้]

ผลลัพธ์หลักของสนธิสัญญาฉบับนี้คือยกเลิกการผนวกรัฐฉานและรัฐมลายูที่ไม่ได้เข้าเป็นสหพันธ์ (Unfederated Malay States) จำนวนสี่รัฐ บริเตนใหญ่ได้ประโยชน์น้อยกว่าที่คาด ส่วนใหญ่เพราะสหรัฐคัดค้านมาตรการลงโทษต่อประเทศไทย กล่าวคือ ไม่สามารถลดขนาดกองทัพไทยได้[2] อย่างไรก็ดีสนธิสัญญาฯ กำหนดให้ไทยส่งมอบข้าวสาร 1.5 ล้านตันให้แก่มาลายาของบริเตนซึ่งขาดแคลนข้าว[3] นอกจากนี้ยังห้ามไทยขุดคลองข้ามคอคอดกระหากรัฐบาลบริเตนไม่ยินยอม ซึ่งบ่อนทำลายอำนาจของรัฐบาลปรีดี พนมยงค์[4][5]

หลังตราสนธิสัญญาฯ สหรัฐและบริเตนฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางทูตกับไทยในวันที่ 5 มกราคม และวันถัดไปมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป สหรัฐยังให้เงินกู้ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ประเทศไทยเป็นการบูรณะเครือข่ายขนส่งของไทยซึ่งได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดของสหรัฐ[2] ไทยเข้าร่วมสหประชาชาติในวันที่ 16 ธันวาคม 2489

มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทยแยกต่างหาก โดยมีการลงนามในวันที่ 3 เมษายน 2489 ทั้งนี้ตามประกาศสงครามของออสเตรเลียในวันที่ 2 มีนาคม 2485 และพระราชบัญญัติการมีมติเห็นชอบบทกฎหมายแห่งเวสต์มินสเตอร์ของออสเตรเลีย[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. United Nations Treaty Series, vol. 99, pp. 131–47.
  2. 2.0 2.1 Darling 1962, pp. 96–97.
  3. Reynolds 2005, pp. 423–24.
  4. Fine 1965, p. 71.
  5. Tarling 1978, p. 63.
  6. Battersby 2000, p. 21–23.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Battersby, Paul (2000). "An Uneasy Peace: Britain, the United States and Australia's Pursuit of War Reparations from Thailand, 1945–1952". Australian Journal of International Affairs. 54 (1): 15–31. doi:10.1080/00049910050007014. S2CID 153688878.
  • Darling, Frank C. (1962). "American Policy in Thailand". The Western Political Quarterly. 15 (1): 93–110. doi:10.1177/106591296201500107. S2CID 154874038.
  • Fine, Herbert A. (1965). "The Liquidation of World War II in Thailand". Pacific Historical Review. 34 (1): 65–82. doi:10.2307/3636740. JSTOR 3636740.
  • Peterson, Alec (1946). "Britain and Siam: The Latest Phase". Pacific Affairs. 19 (4): 364–72. doi:10.2307/2752453. JSTOR 2752453.
  • Reynolds, E. Bruce (2005). Thailand's Secret War: OSS, SOE and the Free Thai Underground During World War II. Cambridge University Press.
  • Tarling, Nicholas (1978). "Rice and Reconciliation: The Anglo-Thai Peace Negotiations of 1945" (PDF). Journal of the Siam Society. 66 (2): 59–112. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ 2020-10-03.
  • Tarling, Nicholas (1979). "Atonement before Absolution: British Policy Towards Thailand during World War II" (PDF). Proceedings of the Seventh IAHA Conference. Bangkok. 2: 1433–49.