ข้ามไปเนื้อหา

สะพานมิตรภาพ 1 (ไทย–มาเลเซีย)

พิกัด: 6°1′21.69″N 101°58′29.81″E / 6.0226917°N 101.9749472°E / 6.0226917; 101.9749472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานโก-ลก
Jambatan Rantau Panjang–Sungai Golok
เส้นทางยานยนต์
ข้ามแม่น้ำโก-ลก ชายแดนมาเลเซีย–ไทย
ที่ตั้งรันเตาปันจัง รัฐกลันตัน
ชื่อทางการสะพานรันเตาปันจัง–สุไหงโก-ลก
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานคานรูปกล่อง
ความยาว109.73 เมตร (360 ฟุต)
ความกว้าง11.58 เมตร (38 ฟุต)
ช่วงยาวที่สุด3 ช่วง แต่ละช่วงยาว 30.48 เมตร (100 ฟุต)
ประวัติ
ผู้สร้างChang Loon Construction Co., Ltd และ Jabatan Kerja Raya (JKR)
วันเปิด21 พฤษภาคม 2516
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานโก-ลก หรือ สะพานรันเตาปันจัง–สุไหงโก-ลก (มลายู: Jambatan Rantau Panjang–Sungai Golok) และที่รู้จักกันในชื่อ "สะพานมิตรภาพ" (มลายู: Jambatan Muhibah) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกที่ชายแดนมาเลเซีย–ไทย เชื่อมระหว่างเมืองรันเตาปันจังในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย กับอำเภอสุไหงโก-ลกในจังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย โดยตั้งอยู่ทางใต้ของสะพานรถไฟข้ามชายแดนที่อยู่ใกล้เคียง[1] สะพานนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเชีย AH18 ที่รวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4056 และทางสหพันธ์ 3 ของทั้งสองประเทศ มีการเปิดพิธีสะพานนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 โดยถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีไทย และอับดุล ราซัก ฮุซเซน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

การออกแบบ

[แก้]

สะพานนี้เป็นสะพานแบบคานที่มีคานรูปกล่อง ส่วนหลักของสะพานประกอบด้วยถนน 3 ช่วงที่ปูด้วยคอนกรีตอัดแรง แต่ละช่วงมีความยาว 30.48 เมตร และตรงปลายเชื่อมด้วยคอนกรีตเสริมแรงที่มีความยาว 9.14 เมตร รวมมีความยาว 109.73 เมตร แบ่งเป็นพื้นถนนกว้าง 7.32 เมตร และทางเดินแต่ละด้านกว้าง 2.13 เมตร[2]

การก่อสร้าง

[แก้]

บริษัทที่สร้างคือ Chang Loon Construction Co., Ltd. บริษัทรับเหมาสัญชาติมาเลเซียที่ชนะการประมูลในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2513 โดยได้เสนอราคาไว้ที่ 630,000 ริงกิตหรือ 4,500,000 บาท จากนั้นรัฐบาลทั้งสองประเทศลงนามสัญญาก่อสร้างในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2513 โดยรัฐบาลสองประเทศแบ่งจ่ายครึ่งหนึ่ง เนื่องจากสะพานนี้สร้างเสร็จในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2516 หลังพ้นเส้นตายในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515[3] ทำให้ทางบริษัทต้องจ่ายค่าล่วงเวลาที่ 200 ริงกิตหรือ 1,400 บาทต่อวัน รวมแล้วจ่ายเงินไป 36,000 ริงกิตหรือ 252,000 บาท[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Friendship Bridge Linking Thailand and Malaysia". Thai Public Relations Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-17. สืบค้นเมื่อ 18 March 2016.
  2. 2.0 2.1 (ในภาษาไทย) Department of Highways, Thailand เก็บถาวร 10 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "Construction of additional bridge between Malaysia, Thailand to start next year". Bernama. Astro Awani. 26 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2016. สืบค้นเมื่อ 16 March 2016.

6°1′21.69″N 101°58′29.81″E / 6.0226917°N 101.9749472°E / 6.0226917; 101.9749472