ข้ามไปเนื้อหา

สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
ไฟล์:สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2484 (83 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทยพัฒนา

สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2484 - ปัจจุบัน) เป็นนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป จำกัด (NTS) และบริษัท นครไทยสตริปมิล จำกัด (NSM) [1] ต่อมา ได้ก่อตั้ง บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2531 เน้นไปที่การก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม[2] และเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย [3]

ภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ธุรกิจของนายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ต้องแบกรับภาระหนี้กว่าแสนล้านบาท [4] สวัสดิ์ได้ประกาศต่อสาธารณชนว่า "ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย" และดำเนินการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้

ปัจจุบัน บริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีล ได้ร่วมทุนกับบริษัทเหล็กในเครือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย และตั้งบริษัทใหม่ชื่อ มิลเลนเนียม สตีล และได้ขายหุ้นให้กับทาทา สตีลจากประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2549 ส่วนบริษัท นครไทยสตริปมิล ตกเป็นของบริษัท จี สตีล ของนายสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล

งานการเมือง

[แก้]

สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7 และร่วมงานการเมืองกับพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 9 ซึ่งพรรคชาติไทยได้รับเลือกตั้งจำนวน 6 ที่นั่ง โดยเขาได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนสมาชิกที่ลาออก ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546
  2. "บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  3. "นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-07. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  4. สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง : ที่เหลือวันนี้คือความภูมิใจ เก็บถาวร 2008-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจ
  5. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑