สถูปบ้านนางสุชาดา

พิกัด: 24°41′52″N 85°00′16″E / 24.6976432°N 85.0044857°E / 24.6976432; 85.0044857
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถูปบ้านนางสุชาดา
สถูปบ้านนางสุชาดาในปัจจุบัน
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ
สถานะองค์กรสถูป
ปีที่อุทิศประมาณ พ.ศ. 101–200[1]
ที่ตั้ง
ที่ตั้งบากะอุระ, พุทธคยา, ประเทศอินเดีย
รัฐรัฐพิหาร
สถูปบ้านนางสุชาดาตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
สถูปบ้านนางสุชาดา
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
สถูปบ้านนางสุชาดาตั้งอยู่ในรัฐพิหาร
สถูปบ้านนางสุชาดา
สถูปบ้านนางสุชาดา (รัฐพิหาร)
Sectorคยา
พิกัดภูมิศาสตร์24°41′52″N 85°00′16″E / 24.6976432°N 85.0044857°E / 24.6976432; 85.0044857

สถูปบ้านนางสุชาดา, หรือ สถูปกุฎินางสุชาดา (อังกฤษ: Sujata Kuti stupa), เป็นสถูปของศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านอุรุเสนานิคม (ปัจจุบัน รู้จักในนาม บากะอุระ) ทางด้านตะวันออกเล็กน้อยของพุทธคยาในรัฐพิหาร, ประเทศอินเดีย ตรงข้ามกับแม่น้ำพัลกุ (รู้จักกันในนาม แม่น้ำเนรัญชรา) ของเมืองพุทธคยา ซึ่งเป็นสถานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ สามารถเดินโดยระยะเวลา 20 นาทีจากพุทธคยาถึงสถูป โดยกำหนดอายุประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 จากการพบเศษภาชนะเครื่องเงินเงามันและเหรียญตอกหมุดบริเวณใกล้เคียงอารามสถาน[1]

สถูปสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ของนางสุชาดา, พำนักอยู่ที่หมู่บ้านอุรุเสนานิคม, ผู้ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นข้าวผสมกับนมและธัญพืชขณะที่ทรงประทับอยู่ใต้ต้นไทร เป็นการยุติการบำเพ็ญทุกขรกิริยาตลอด 7 ปีของพระพุทธองค์ ประกอบด้วยการบำเพ็ญตบะและการอดอาหาร โดยทรงค้นพบหลักธรรม มัชฌิมาปฏิปทา (หรือรู้จักกันในนาม ทางสายกลาง)[2][3][4]

สถูปแห่งนี้เดิมมีเสาอโศก ต่อมา ถูกเคลื่อนย้ายไปในช่วงพุทธทศวรรษ 2340 เสาถูกนำไปตั้งที่ทางแยกกอลพาเตอร์ (Gol Pather) ของเมืองคยา และถูกย้ายไปติดตั้งที่พุทธคยาเมื่อปี พ.ศ. 2499[5][6] สถูปเป็นส่วนสำคัญของภูมิทัศน์บริเวณรอบของพุทธคยา และได้รับการปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Geary, David; Sayers, Matthew R.; Amar, Abhishek Singh (2012). Cross-disciplinary Perspectives on a Contested Buddhist Site: Bodh Gaya Jataka (ภาษาอังกฤษ). Routledge. pp. 35–36. ISBN 9781136320675.
  2. Prasoon, Shrikant (2007). Knowing Buddha : [life and teachings]. [Delhi]: Hindoology Books. ISBN 9788122309638.
  3. Planet, Lonely; Blasi, Abigail (2017). Lonely Planet India (ภาษาอังกฤษ). Lonely Planet. ISBN 9781787011991.
  4. Dwivedi, Sunita; Lama, Dalai (foreword) (2006). Buddhist heritage sites of India. New Delhi: Rupa & Co. ISBN 8129107384.
  5. Geary, David (2017). The Rebirth of Bodh Gaya: Buddhism and the Making of a World Heritage Site (ภาษาอังกฤษ). University of Washington Press. p. 209 Note 1. ISBN 9780295742380.
  6. O'malley, L. S. S. (2007). Bengal District Gazetteer : Gaya (ภาษาอังกฤษ). Concept Publishing Company. pp. 200–201. ISBN 9788172681371.