สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน

พิกัด: 35°42′29″N 51°25′26″E / 35.708°N 51.424°E / 35.708; 51.424
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
เปอร์เซีย: سفارت ایالات متحده آمریکا، تهران

มหาลัญจกรสหรัฐที่ถูกทำลาย
ที่ตั้งอิหร่าน เตหะราน, ประเทศอิหร่าน
พิกัด35°42′29″N 51°25′26″E / 35.708°N 51.424°E / 35.708; 51.424
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะรานตั้งอยู่ในประเทศอิหร่าน
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน
ตำแหน่งที่ตั้งสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะรานในประเทศอิหร่าน

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน (อังกฤษ: Embassy of the United States, Tehran; เปอร์เซีย: سفارت ایالات متحده آمریکا، تهران) เป็นที่ตั้งของคณะผู้แทนทางทูตจากประเทศสหรัฐอเมริกาในสมัยจักรวรรดิอิหร่าน. มีหน้าที่เป็นคณะผู้แทนทางทูตระหว่างสองประเทศ จนถึงปีค.ศ.1979 ในช่วงการปฏิวัติอิหร่าน และมีการบุกสถานทูตในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1979[1][2]

ประวัติ[แก้]

ตึกแชนเซลีย์ที่มองจากถนนตาเลฆานีในปี ค.ศ.2005 มีป้ายที่อ่านว่า "ความตายจงประสบกับอเมริกา"

สถานทูตนี้ ออกแบบโดย Ides van der Grachtในปี ค.ศ.1948 คนเดียวกันที่ออกแบบสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศตุรกี โดยเป็นตึกยาวสองที่ ตัวตึกทำมาจากอิฐ เหมือนกับไฮสกูลแบบอเมริกันในช่วงทศวรรษที่ 1930s และ 1940s บางครั้งตึกนี้มีชื่อเล่นว่า "เฮนเดอร์สัน ไฮ" โดยคนในสถานทูต ซึ่งอ้างอิงถึง ลอย ดับเบิลยู. เฮนเดอร์สัน ผู้ที่เป็นเอกอัคราชทูตคนแรกของสหรัฐประจำประเทศอิหร่านในปีค.ศ.1951[3]

หลังจากสถานทูตถูกยึดแล้ว ทางกลุ่มผู้ปฏิวัติใช้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมของกองทัพต่อ[4] และเป็นที่เก็บหนังสือกับพิพิธภัณท์[5] บางส่วนของสถานทูตกลายเป็นพิพิธภัณท์ต่อต้านอเมริกา[6] ในเดือนมกราคม ค.ศ.2017 มีการเปิดเขตนี้ต่อสาธารณะชนและชาวต่างชาติ มหาลัญจกรสหรัฐได้รับความเสียหายอย่างมาก แต่ยังคงเห็นเป็นลาง ๆ ได้

และกลุ่มนักศึกษาชาวมุสลิมที่ตามอิหม่ามได้เผยแพร่เอกสารในตอนที่บุกสถานทูต (รวมถึงเอกสารที่ถูกฉีกเป็นชิ้น ๆ) ในหนังสือเรื่อง "เอกสารจากห้องจารกรรมของสหรัฐ" (เปอร์เซีย: اسناد لانه جاسوس امریكا, Asnād-e lāneh-e jasusi Amrikā).[7] โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับโทรเลข, จดหมาย และรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกับสำนักข่าวกรองกลาง ซึ่งบางส่วนยังคงเป็นความลับในปัจจุบัน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Former American Embassy in Iran Attracts Pride and Dust". The New York Times. 2013-10-31.
  2. "Former U.S. Embassy in Iran: mistrust endures where hostages held". CNN. 2014-01-30.
  3. The architecture of diplomacy: building America's embassies ADST-DACOR diplomats and diplomacy series. Jane C. Loeffler. Publisher Princeton Architectural Press, 1998. ISBN 1-56898-138-4 p. 56
  4. "The Great Satan's Old Den: Visiting Tehran's U.S. Embassy". Time. 2009-07-14.
  5. Inside The Former US Embassy In Tehran, Iran
  6. Pleitgen, Fred (July 1, 2015). "Inside the former U.S. Embassy in Tehran". CNN.
  7. Documents from the U.S. Espionage Den

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]