สถานีจูรงตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 NS1  EW24  JE5 
สถานีจูรงตะวันออก
裕廊东
ஜூரோங் கிழக்கு
Jurong East
ชานชาลาสถานีจูรงตะวันออกในยามค่ำคืน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งเลขที่ 10 ถนนจูรงตะวันออก 12
ประเทศสิงคโปร์
พิกัด1°20′00″N 103°44′32″E / 1.333415°N 103.742119°E / 1.333415; 103.742119
ผู้ให้บริการบริษัทเอสเอ็มอาร์ที
สาย
ชานชาลาชานชาลาเกาะกลาง 3 แห่ง
ราง4
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง, รถแท็กซี่
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ระดับชานชาลา3
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 (ชานชาลา ซี (ฝั่งตะวันออก), ดี (ฝั่งใต้), อี (ฝั่งใต้) และ เอฟ (ฝั่งตะวันตก))
27 พฤษภาคม ค.ศ. 2011(ชานชาลา เอ (ฝั่งใต้/เฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน) และ บี (ฝั่งตะวันออก/เฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง สายเหนือ-ใต้ บูกิตบาตก
เคลเมนติ
มุ่งหน้า ปาซีร์ ริส
สายตะวันออก-ตะวันตก สวนจีน
มุ่งหน้า ทวอส ลิงก์
Toh Guan
มุ่งหน้า Tengah
สายจูรงรีเจียน
บริการในอนาคต
Jurong Town Hall
มุ่งหน้า Pandan Reservoir
ภาพภายนอกสถานีจูรงตะวันออก มีรถไฟฟ้าซีเมนส์ ซี 651 ขบวนหนึ่ง กำลังเข้าสู่สถานี

สถานีจูรงตะวันออก (อังกฤษ: Jurong East MRT Station (NS1/EW24)) เป็นสถานียกระดับของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสิงคโปร์ สายเหนือ-ใต้ (เคยเป็นสายย่อยจนถึงปี ค.ศ. 1996) และ สายตะวันออก-ตะวันตก มีชานชาลาเปลี่ยนเส้นทางสำหรับรถไฟฟ้าทั้งสองสาย

สถานีรถไฟฟ้าแห่งนี้ อยู่ทางฝั่งตะวันออกของย่านจูรง มีรถไฟฟ้าช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างย่านที่พักอาศัยยูฮัว, สวนเทบัน, สวนธุรกิจนานาชาติ, ย่านตกตัก ไปยังส่วนอื่น ๆ ของเกาะ นับเป็นสถานีรถไฟฟ้าที่มีความหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในสิงคโปร์[1]

สถานีนี้เป็นสถานีต้นทาง-ปลายทางของสายเหนือ-ใต้ ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน จะมีรถไฟฟ้าวิ่งเพิ่มมาจากศูนย์ซ่อมบำรุงอูลูปันดัน เพื่อมาตั้งต้นทางที่นี่ ส่วนสายตะวันออก-ตะวันตก สถานีนี้ตั้งอยู่ระหว่างสถานีสวนจีน กับสถานีเคลเมนติ และยังเป็นสถานีเริ่มแรกที่มีเสียงประกาศตามสถานี นับตั้งแต่เปิดใช้งานสายย่อย เมื่อปี ค.ศ. 1990[2] ทางตอนระหว่างสถานีจูรงตะวันออก กับสถานีเคลเมนติ เป็นทางตอนที่ยาวที่สุดของสายตะวันออก-ตะวันตก ใช้เวลาเดินทางในช่วงนี้ 4 นาที

สถานีจูรงตะวันออก เป็น 1 ใน 4 สถานี ที่เคยปรากฏในเกมเศรษฐีของสิงคโปร์

แผนผังของสถานี[แก้]

L3 ชานชาลา เอ สายเหนือ-ใต้ มุ่งหน้า  NS28  มารีนาเซาท์เพียร์ โดยจะผ่าน  NS2  บูกิตบาตก (←) เป็นสถานีแรก
ชานชาลาเกาะกลาง ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา บี/ซี สายตะวันออก-ตะวันตก มุ่งหน้า  EW1  ปาเซอร์ริส โดยจะผ่าน  EW23  เคลเมนติ (→) เป็นสถานีแรก
ชานชาลาเกาะกลาง ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา ดี/อี สายเหนือ-ใต้ มุ่งหน้า  NS28  มารีนาเซาท์เพียร์ โดยจะผ่าน  NS2  บูกิตบาตก (←) เป็นสถานีแรก
ชานชาลาเกาะกลาง ประตูรถจะเปิดทางสองด้าน
ชานชาลา เอฟ สายตะวันออก-ตะวันตก มุ่งหน้า  EW29  จูกุน โดยจะผ่าน  EW25  สวนจีน (←) เป็นสถานีแรก
L2 ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร, ศูนย์บริการของสถานี, เจ-วอล์ก
L1 ระดับถนน สถานีขนส่งผู้โดยสารจูรงตะวันออก, ตลาดหลักทรัพย์จูรงตะวันออก, ห้างสรรพสินค้าเจิม, ห้างสรรพสินค้าเวสต์เกต

การเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ[แก้]

รถไฟฟ้า[แก้]

จุดหมายปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
วันจันทร์–เสาร์ วันอาทิตย์
และวันหยุดราชการ
ทุกวัน
สายเหนือ–ใต้
NS28 มารีนาเซาท์เพียร์ 5.16 น. 5.35 น. 22.53 น.
NS19 เตาปาโยฮ์ 23.28 น.
NS16 อังโมกิว 23.58 น.
สายตะวันออก–ตะวันตก
EW1 ปาเซอร์ริส 5.40 น. 6.13 น. 23.45 น.
EW29 จูกุน 5.14 น. 5.44 น. 0.25 น.

การปรับปรุงและพัฒนา[แก้]

โครงการปรับปรุงย่านจูรงตะวันออก (JEMP) ประกอบด้วย การสร้างชานชาลาใหม่ 2 แห่ง และรางรถไฟใหม่ เพื่อให้รถไฟฟ้าสายเหนือ-ใต้ สามารถเข้า-ออกสถานีได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ชานชาลาใหม่ยังช่วยลดหนาแน่นของผู้โดยสาร และลดเวลาที่รอรถไฟฟ้า[3] และยังมีแผนสั่งซื้อรถไฟฟ้าขบวนใหม่ 22 ขบวน เพื่อนำมาใช้งานในสายเหนือ-ใต้ และสายตะวันออก-ตะวันตก โครงการนี้มีกำหนดเสร็จในปี ค.ศ. 2012 โดยเริ่มดำเนินงานในปี ค.ศ. 2009 และเปิดทดลองใช้งานช่วงต้นปี ค.ศ. 2011 ก่อนเปิดใช้งานจริงเมื่อ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2011[4][5]

ชานชาลาเดิม ได้แก่ เอ (มุ่งหน้าทิศตะวันออก), บี (มุ่งหน้าทิศตะวันตก), ซี และ ดี (มุ่งหน้าทิศใต้) ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชานชาลา ซี (มุ่งหน้าทิศตะวันออก สถานีปาเซอร์ริส), เอฟ (มุ่งหน้าทิศตะวันตก สถานีจูกุน), ดี และ อี (มุ่งหน้าทิศใต้ สถานีมารีนาเซาท์เพียร์) ตามลำดับ พร้อมกับมีชานชาลาใหม่ ได้แก่ ชานชาลา เอ (มุ่งหน้าทิศใต้ สถานีมารีนาเซาท์เพียร์ เฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น) และ บี (มุ่งหน้าทิศตะวันออก สถานีปาเซอร์ริส และสถานีท่าอากาศยานจางี)[6]

ในช่วงแรก ๆ ที่ชานชาลาใหม่เปิดใช้งาน ชานชาลาใหม่จะเปิดใช้งานเฉพาะวันทำงานธรรมดา ช่วงเร่งด่วนตอนเช้า 7-9 นาฬิกา ต่อมาได้ขยายไปถึง 10 นาฬิกา และได้เพิ่มช่วงที่ให้บริการ ได้แก่ ตอนเย็น 17-20 นาฬิกา ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2011[7][8]

มีการติดตั้งรั้วกันเสียง เพื่อไม่ให้เสียงรถไฟฟ้ารบกวนผู้คนที่พักอาศัยในแถบนั้น[9]

ทางออกของสถานี[แก้]

  • ฝั่งตะวันออก (สร้างพร้อมกับโครงการ JEMP) — ศูนย์การค้าเจม, บิกบอกซ์
  • ฝั่งตะวันตก — เจคิวบ์, เวสต์เกต, สถานีขนส่งผู้โดยสารจูรงตะวันออก, อาคารไอเอ็มเอ็ม

การปรับปรุงในด้านอื่น ๆ[แก้]

ทางสถานีได้ติดตั้งประตูกั้นชานชาลารถไฟฟ้า เมื่อปี ค.ศ. 2009 เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2009[10] เป็นสถานียกระดับแห่งที่ 3 ที่มีการติดตั้งประตูกั้นนี้ และเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ได้เปิดใช้งานประตูกั้นชานชาลาแห่งใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จ

การติดตั้งพัดลม HVLS ภายในตัวสถานี[แก้]

ได้มีการติดตั้งพัดลมอัจฉริยะ (HVLS) ในสถานียกระดับทั้งหมด 36 สถานี รวมสถานีจูรงตะวันออกด้วย พัดลมนี้ได้ใช้งานจริงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2012

อบัติการณ์[แก้]

การหลอกขู่วางระเบิด[แก้]

ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 นายมัค ฮอย เมง อายุ 29 ปี ได้เข้าไปทำงานเป็นลูกจ้างที่สถานีแห่งนี้ และได้เขียนจดหมายขู่ว่ามีการวางระเบิดที่นี่[11] แต่ในภายหลัง กลับไม่พบเหตุการณ์ระเบิดแต่อย่างใด ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2005 เขาถูกจับและถูกตัดสินจำคุก 2 ปีครึ่ง เนื่องจากได้ขโมยจากร้านอาหารอีกด้วย

การฆาตกรรม[แก้]

หญิงชราวัย 62 ปี ถูกพบในฐานะผู้ได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 เวลา 14 นาฬิกา 35 นาที ก่อนถูกส่งตัวไปรักษาที่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ซึ่งต่อมาเธอได้เสียชีวิตลง ในวันถัดมา ตำรวจสามารถจับฆาตกรชายอายุ 55 ปีได้สำเร็จ[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Government announces plans for Jurong Lake District". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-03. สืบค้นเมื่อ 2015-06-29.
  2. "Jurong East Interchange Station in 1991".
  3. "The Jurong East Modification Project (JEMP)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-29.
  4. "New Platform at Jurong East Station To Open on 27 May". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 2015-06-29.
  5. "Waiting times cut with new platform at Jurong East MRT station". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-18. สืบค้นเมื่อ 2015-06-29.
  6. "New Platform at Jurong East MRT Station". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-09. สืบค้นเมื่อ 2015-06-29.
  7. "New platforms at Jurong East Interchange to operate in evenings". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-08. สืบค้นเมื่อ 2015-06-29.
  8. Jamie Ee Wen Wei (28 May 2011). "Jurong East platform opens". The Straits Times.
  9. Mustafa Shafawi (14 June 2011). "LTA to study noise levels along elevated MRT tracks". Channel News Asia.
  10. "Speech by Mr Raymond Lim, Minister for transport, at the visit to Kim Chuan Depot, 25 January 2008, 9.00 AM". Singapore Government Media Release. 25 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-15. สืบค้นเมื่อ 2015-06-29.
  11. The Straits Times, "Man Jailed For Bomb Hoax", 11 March 2005
  12. "Murder at Jurong East MRT station". AsiaOne. 24 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 1 October 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]