ข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น
ข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก | |||||||
ทหารโซเวียตจับเชลยศึกชาวญี่ปุ่นได้ในยุทธการฮาลฮิน กอล ค.ศ. 1939 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เกออร์กี จูคอฟ วาซีลี บลูย์เคียร์ |
เค็นกิชิ อุเอะดะ โยะชิจิโร อุเมะซุ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ข้อมูลจากเอกสารราชการ: เสียชีวิตหรือสูญหาย 20,302 นาย บาดเจ็บ 18,003 นาย |
ประมาณการของญี่ปุ่น: ทหารเสียชีวิต 29,525 นาย บาดเจ็บ 8,799 นาย ประมาณการของโซเวียต: ความสูญเสียทั้งหมด 147,259 นาย |
ข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น ยังเป็นที่รู้จักกันคือ สงครามชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น เป็นความขัดแย้งตามแนวชายแดนโดยที่ไม่ได้ประกาศสงครามต่อกันซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ถึง ค.ศ. 1939
ญี่ปุ่นได้ขยายพื้นที่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนที่ติดชายแดนกับดินแดนตะวันออกไกลของโซเวียตและเกิดข้อพิพาทเรื่องเส้นแบ่งเขตจนนำไปสู่ความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นกับสหภาพโซเวียต โดยที่ทั้งสองฝ่ายมักจะล่วงละเมิดเขตชายแดนและกล่าวหาซึ่งกันและกันว่าได้ล่วงละเมิดเขตชายแดน โซเวียตและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศที่เป็นรัฐบริวารของพวกเขาอย่างมองโกเลียและแมนจูกัว ได้เข้าต่อสู้รบกันบนชายแดนขนาดเล็กที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและเคลื่อนทัพเพื่อเป็นการสั่งสอน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 จนกระทั่งชัยชนะของโซเวียต-มองโกเลียต่อญี่ปุ่นในยุทธการที่ฮาลฮิน กอล ในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งได้ยุติข้อพิพาทและส่งคืนเส้นเขตชายแดนสู่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนสงคราม(status quo ante bellum)
ความขัดแย้งชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่นมีส่วนอย่างมากต่อการลงนามในกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1941