ข้ามไปเนื้อหา

สกุลศิลปะเวสโซบรุนเนอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรโคโคเวสโซบรุนที่แอบบีชูสเซ็นรีด (Schussenried Abbey)
งานของโดมินิคุส ซิมเมอร์มันน์ที่ วัดวีส์ ประเทศเยอรมนี
ปูนปั้นสมัยปลายบาโรกที่มีลักษณะโรโคโคที่วัดคร็อยซแฮรน (Kreuzherrnkirche) ที่เม็มมิงเก็น (Memmingen)

โรโคโคเวสโซบรุน (ภาษาอังกฤษ: Wessobrunner School) หมายถึงกลุ่มนักปั้นปูนที่เริ่มก่อตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่แอบบีเบ็นนาดิคตินเวสโซบรุน (Wessobrunn Abbey) กลุ่มช่างนี้มีด้วยกันทั้งหมด 600 คนเท่าที่ทราบกัน กลุ่มโรโคโคเวสโซบรุนเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะปูนปั้นทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนีเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18

โรโคโคเวสโซบรุน เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ศิลปะกุสตาฟ ฟอน เบโซลด์ (Gustav von Bezold) และ จอร์จ แฮคเคอร์ (Georg Hacker) ใช้เรียกศิลปินหรือช่างกลุ่มนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1888

การทำงานร่วมกันระหว่างช่างวางอิฐและช่างสลักหิน และช่างปั้นปูนชาวอิตาลีมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ในบาวาเรีย พอมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 โรโคโคเวสโซบรุนก็กลายมาเป็นศูนย์กลางศิลปะปูนปั้นที่สำคัญในยุโรป ช่างจากเวสโซบรุนมิใช่แต่จะรับงานของทางใต้ประเทศเยอรมนีเท่านั้นแต่ยังรับงานจากประเทศฝรั่งเศส ประเทศโปแลนด์ ประเทศฮังการี และ ประเทศรัสเซียด้วย จนช่างอิตาลีไม่สามารถสู้ได้

งานที่ถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอกของโรโคโคเวสโซบรุนก็คืองานที่วัดวีส์ สร้างและตกแต่งโดยสถาปนิกโดมินิคุส ซิมเมอร์มันน์ และโยฮันน์ แบพทิสท์ ซิมเมอร์มันน์เป็นทำจิตรกรรมฝาผนัง ทุกอย่างภายในเป็นสิ่งตกแต่งไปหมดแม้แต่สถาปัตยกรรมของวัด โค้งบริเวณสงฆ์อันที่จริงก็คือโค้งตกแต่งมหึมาที่ซ้อนกันซึ่งเป็นการริเริ่มโดยโดมินิคุส ซิมเมอร์มันน์


สมาชิก

[แก้]

สมาชิกคนสำคัญๆ ของกลุ่มโรโคโคเวสโซบรุนก็ได้แก่:

  • อิกนาซ ฟินสเตอร์วาลเดอร์ (Ignaz Finsterwalder)
  • อันโทน กิเกิล (Anton Gigl)

และตระกูลศิลปินตระกูลอื่นๆ เช่น ชมุซเซอร์ (Schmuzer) , เมิร์ค (Merck) , เราค์ (Rauch) , ไชดอฟ (Schaidauf) , อืเบลแฮ (Übelher) และ เซิพฟ (Zöpf)

การวิวัฒนาการของงานปูนปั้น

[แก้]

ศิลปะการทำปูนปั้นเริ่มมาตั้งแต่ 7000 ปีก่อนคริสตกาลและมารุ่งเรืองที่ประเทศอิตาลีในยุคเรอเนซองส์ ในประเทศเยอรมนีการทำปูนปั้นเริ่มเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1545 ที่วังที่เมืองแลนด์ชุท (Landshut) จากคำบรรยายของ มิเคิล เวนิก (Michael Wenig) ในหนังสือ “Historico-Topographica Descriptio” เมื่อปี ค.ศ. 1701 กล่าวว่าผู้ที่อยู่ในหมู่บ้านไกส์พอยท์ และเฮด ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นอยู่กับแอบบีเวสโซบรุนส่วนใหญ่จะมีอาชีพเป็นช่างปั้นปูนและช่างอิฐ

ประมาณปี ค.ศ. 1750 กิจการการก่อสร้างก็เริ่มลดน้อยลงเพราะวัดและวัดแสวงบุญแบบโรโคโคสร้างกันเสร็จ นอกจากนั้นสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่แบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกโรมัน (Neo-Classical architecture) ก็เริ่มเข้ามาแทนที่ระหว่างปี ค.ศ. 1775 ถึงปี ค.ศ. 1790 ทำให้ศิลปะการทำปูนปั้นมีความนิยมลดลง “สมาคมช่างปูนปั้น” (Society of Stucco-workers) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1783 มีสมาชิก 68 คน เมื่อปี ค.ศ. 1798 ก็ลดลงไปเหลือ 27 คน พอมาถึงปี ค.ศ. 1864 ก็เหลือเพียง 9 คน

โรโคโคเวสโซบรุนเสื่อมลงเมื่อศิลปินเริ่มหันไปหารูปทรงใหม่ที่เรียบง่ายกว่าและคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยมากกว่าแบบเวสโซบรุน ผลงานของโรโคโคเวสโซบรุนจะหาดูได้จากหลายประเทศในยุโรปโดยเฉพาะในประเทศออสเตรีย

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Hugo Schnell, Uta Schedler: Lexikon der Wessobrunner Künstler und Handwerker. Schnell und Steiner, München und Zürich 1988, ISBN 3-7954-0222-0
  • Johannes Goldner u. a.: Wessobrunner Stukkatorenschule. Pannonia, Freilassing 1992, ISBN 3-7897-0209-9
  • Hans Rohrmann: Die Wessobrunner des 17. Jahrhunderts. Die Künstler und Handwerker unter besonderer Berücksichtigung der Familie Schmuzer. EOS, St. Ottilien 1999, ISBN 3-8306-7015-X

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]