สกุลปลาหัวโต
สกุลปลาหัวโต | |
---|---|
ปลาซ่ง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน |
วงศ์ย่อย: | Xenocyprinae |
สกุล: | สกุลปลาหัวโต Bleeker, 1860 |
ชนิดต้นแบบ | |
Leuciscus molitrix Valenciennes, 1844 | |
ชนิด | |
ดูข้อความ | |
ชื่อพ้อง | |
|
สกุลปลาหัวโต (อังกฤษ: Silver carp, Bighead carp) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืด 3 ชนิด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อสกุลว่า Hypophthalmichthys เป็นปลาที่ต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำสาขา
เป็นปลาที่มีลักษณะโดยร่วมคือ มีส่วนหัวโต ตาเล็กอยู่ต่ำกว่ามุมปาก ปากและข้างแก้มกว้าง ครีบหลังเล็กอยู่ประมาณกึ่งกลางลำตัว ครีบก้นเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กแบบขอบเรียบ ตัวมีสีเงินคล้ำที่ด้านหลัง และสีเงินแวววาวที่ด้านท้อง หัวมีสีคล้ำอมแดงหรือสีเนื้อ ครีบมีลักษณะสีจาง ด้านท้องจะแคบหรือกลมมนขึ้นอยู่กับชนิด
เป็นปลาที่ปัจจุบันได้มีการเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ไปทั่วโลก ในประเทศไทย ในชนิด H. molitrix ได้ถูกนำเข้ามาโดยชาวจีนโดยเรือสำเภาจากเมืองซัวเถา ในราวปี พ.ศ. 2465 ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกด้วยการผสมเทียม ปัจจุบัน กลายเป็นปลาเศรษฐกิจและชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย โดยพบมากในชนิด H. molitrix และ H. nobilis ซึ่งถูกเรียกเป็นชื่อภาษาไทยรวม ๆ กันว่า "ปลาจีน" หรือ "ปลาหัวโต" ร่วมกับปลาไน (Cyprinus carpio), ปลาเฉา (Ctenopharyngodon idella)[1]
ชนิด
[แก้]ปัจจุบันมีปลาสามชนิดในสกุลนี้ที่ได้รับการรับรอง:[2]
- H. harmandi Sauvage, 1884 (largescale silver carp)
- H. molitrix (Valenciennes, 1844) (ปลาลิ่น)
- H. nobilis (J. Richardson, 1845) (ปลาซ่ง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "การเลี้ยงปลาจีน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-28. สืบค้นเมื่อ 2010-11-19.
- ↑ Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2014). Species of Hypophthalmichthys in FishBase. June 2014 version.