ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา (MDC)
คําขวัญศูนย์การวิจัยสหวิทยาการที่ไม่ใช่พรรคการเมือง ที่อุทิศให้กับการศึกษาเกี่ยวกับตะวันออกกลางและแอฟริกาในปัจจุบัน
ก่อนหน้าสถาบันรอยเวน ไชโลห์
ก่อตั้งค.ศ. 1966 (ในฐานะสถาบันรอยเวน ไชโลห์); ค.ศ. 1983 (ในฐานะศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา)
สํานักงานใหญ่เทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล
กรรมการบริหาร
ศ.อูซี ราบี
องค์กรปกครอง
มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ
เว็บไซต์dayan.org
เดวิด เบนกูเรียน กล่าวคำปราศรัยกับสมาชิกสถาบันรอยเวน ไชโลห์ (ไม่ทราบวันที่)
ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา
หนึ่งในการบรรยายสาธารณะครั้งสุดท้ายของอดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ยิตซัค ราบิน ที่ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา (เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1995)
เอกอัครราชทูตสหรัฐ ดาเนียล ชาพิโร เข้าเยี่ยมชมศูนย์ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา (ปี ค.ศ. 2012)
เอกอัครราชทูตสหรัฐ ดาเนียล ชาพิโร เข้าเยี่ยมชมศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา (ปี ค.ศ. 2012)

ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา (ฮีบรู: מרכז משה דיין לחקר המזרח התיכון ואפריקה; อังกฤษ: Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies; อักษรย่อ: MDC) เป็นคณะทำงานระดับมันสมองอิสราเอล ที่ตั้งอยู่ในเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาร่วมสมัยและการวิเคราะห์ตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา ภารกิจหลักที่ระบุไว้คือการทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจและประชาชนทั่วไป ทั้งในอิสราเอลและในระดับนานาชาติ แม้ว่าจะแตกต่างจากองค์กรที่คล้ายกันอื่น ๆ โดยการละเว้นจากการแนะนำนโยบายที่เฉพาะเจาะจงทันที

ทีมงานของศูนย์ มีนักวิจัยมากกว่าสามสิบคนจากหลากหลายภูมิหลังและสาขาวิชาต่าง ๆ และมีคุณสมบัติด้านการบัญชาการภาษาอังกฤษ, ฮีบรู, อาหรับ, ตุรกี, เคิร์ด และเปอร์เซีย หลังจากการตื่นตัวของ ‘อาหรับสปริง’ ค.ศ. 2011 และการล่มสลายที่เป็นผลของหลายประเทศในตะวันออกกลาง ทางศูนย์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรอบการตีความใหม่ ๆ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพลศาสตร์ที่ซับซ้อนของภูมิภาคนี้[1][2]

ประวัติ[แก้]

ความคิดแรกเริ่มในการก่อตั้งศูนย์ได้รับการเสนอโดยรอยเวน ไชโลห์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของมอสสาด ผู้ประสงค์จะสร้างองค์กรในอิสราเอลตามแนวชัทแธมเฮ้าส์ในเกาะบริเตนใหญ่ หลังจากการเสียชีวิตของไชโลห์ เทดดี คอลเลค ซึ่งเคยเป็นอธิบดีสำนักงานนายกรัฐมนตรี (และต่อมาได้เป็นนายกเทศมนตรีกรุงเยรูซาเลมที่มีชื่อเสียง) แนะนำว่าสถาบันการศึกษาใหม่สนับสนุนชื่อไชโลห์ ในวันแรก ๆ สถาบันดำเนินการในความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกระทรวงกลาโหม, กระทรวงการต่างประเทศ และสมาคมชาวตะวันออกอิสราเอล[3] ทางสถาบันจัดคณะทำงานโดยการรวมกันของนักวิจัยอาชีพ ซึ่งมักมาจากฝ่ายกลาโหม และผู้สมัครระดับปริญญาเอกร่วมกับมหาวิทยาลัยฮีบรู ในขั้นต้น พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการจัดวิจัยจำนวนมาก ในช่วงเวลานี้ พวกเขาได้พัฒนา "ชื่อเสียงสำหรับความถี่ถ้วน และคุณภาพกึ่งวิชาการ" เดวิด เบนกูเรียน ได้หันมาช่วนเหลือสถาบันไชโลห์ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เพื่อค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการอพยพปาเลสไตน์เมื่อปี ค.ศ. 1948 [3]

ด้วยเหตุผลหลายประการ สถาบันไชโลห์ไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างอิสระ สาเหตุประการหนึ่งคือการได้รับความเดือดร้อนจากการขาดเงินทุน ในปี ค.ศ. 1964 นักวิจัยหนุ่มคนหนึ่งชื่อชิโมน ชาเมียร์ ได้เขียนถึงมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น และแย้งว่าควรจะรวมสถาบันนี้เข้ามา เพราะ "ครอบครอง" คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ... และได้รับการประกันการสนับสนุนกับความร่วมมือของรัฐในวงการอาชีพ รวมทั้งการระดมทุน ตลอดจนการรวบรวมวัสดุที่ใช้ในการวิจัย" ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ สถาบันกลายเป็นสิ่งที่ ศ.กิล ไอย์อัล จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเรียกว่า "การตั้งสถาบันระหว่างสถาบันการศึกษาและข้าราชการ" ที่มักทำงานอย่างใกล้ชิดควบคู่กับหน่วยข่าวกรองทางทหารและ "การจัดประชุมและอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นเฉพาะของวัน ที่พวกเขาเชิญเจ้าหน้าที่ข่าวกรองทหาร, เจ้าหน้าที่ของรัฐ, นักข่าว และนักการเมือง"[3][4]

ในปี ค.ศ. 1983 ทางมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์โมเช ดายัน ซึ่งรวมสถาบันไชโลห์ และหน่วยเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตะวันออกกลาง โดยในสมัยปัจจุบัน ศูนย์โมเช ดายัน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน่วยข่าวกรองของอิสราเอลอีกต่อไป[3][5]

กิจกรรม[แก้]

ศูนย์โมเช ดายัน เผยแพร่สิ่งพิมพ์แปดการวิเคราะห์เป็นรายเดือนหรือครึ่งเดือน แต่ละประเด็นเกี่ยวข้องกับด้านใดด้านหนึ่งของตะวันออกกลางสมัยใหม่ นอกจากนี้ ยังตีพิมพ์หนังสือหลายเล่มเป็นประจำทุกปีภายใต้ตราประทับของตัวเอง และมักให้การสนับสนุนด้านการประชุมสัมมนา, อีเวนต์ และการบรรยายสาธารณะ ศูนย์เก็บรักษาห้องสมุดเป็นที่รวบรวมวารสารผู้เชี่ยวชาญ, บทความ, วัสดุจดหมายเหตุ (รวมทั้งฉบับเอกสารเก่าของอังกฤษ), แหล่งข้อมูลทางเศรษฐกิจและข้อมูลทางสถิติ ตลอดจนวัสดุอ้างอิงอื่น ๆ[6]

ห้องเก็บเอกสารอาหรับของศูนย์โมเช ดายัน มีมากกว่าหนึ่งพันวงล้อของหนังสือพิมพ์แบบไมโครฟิล์ม โดยฉบับแรกเป็นของปี ค.ศ. 1877 ตลอดจนการรวบรวมหนังสือพิมพ์, นิตยสาร และวารสารจากทั่วทุกตะวันออกกลางด้วยการเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์กว่า 6,000 ฉบับ[7]

นอกจากนี้ ศูนย์ยังมีการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยที่มีผลงานเกี่ยวกับประเทศอิสราเอลและตะวันออกกลาง[8] การประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นงานสัมมนาสิบวันเกี่ยวกับการเมืองของประเทศอิสราเอลและประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนประวัติศาสตร์ของภูมิภาค และความสำคัญดังกล่าวในโลกร่วมสมัย[9]

สถาบันรอยเวน ไชโลห์ ที่ต่อมาเป็นศูนย์โมเช ดายัน มีความโดดเด่นสำหรับสิ่งพิมพ์ของการสำรวจตะวันออกกลางร่วมสมัยในปัจจุบัน และมีส่วนสืบทอดบันทึกตะวันออกกลางในสมัยก่อน ซึ่งได้รับการพิจารณาว่าเป็น "ประเมินผลประจำปีของการพัฒนาในตะวันออกกลางที่ครอบคลุมมากที่สุดและเชื่อถือได้"[10]

สิ่งพิมพ์วารสาร[แก้]

  1. เทลอาวีฟโน้ต: การอัปเดตการวิเคราะห์รายเดือนเกี่ยวกับโลกปัจจุบันและการพัฒนาในระดับภูมิภาคในตะวันออกกลาง มีกำหนดการเผยแพร่ประจำทุกวันที่ 10 และ 26 ของทุกเดือน[11]
  2. มิดเดิลอีสต์ครอสโรด: สิ่งตีพิมพ์เชิงวิเคราะห์ภาษาฮีบรู ที่คล้ายกับเทลอาวีฟโน้ต
  3. บายัน: เกี่ยวกับชาวอาหรับในประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นการตีพิมพ์รายไตรมาสของโครงการค็อนราท อาเดอเนาเออร์ สำหรับความร่วมมือของชาวยิวอาหรับที่ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา[12] เป้าหมายของบายันคือการเพิ่มพูนความรู้ของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมอาหรับภายในประเทศอิสราเอล[13]
  4. บีไฮฟ์: สื่อสังคมในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ของโดรอน ฮัลเปิร์น มิดเดิลอีสต์เน็ตเวิร์กอะนาไลซิสเดส ที่ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา ซึ่งศึกษาแนวโน้มที่น่าสังเกตเกี่ยวกับสื่อสังคมอาหรับ, ตุรกี และอิหร่าน
  5. บัสตัน: รีวิวหนังสือในตะวันออกกลาง โดยตีพิมพ์ผ่านสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเพนน์สเตต และรวมถึง "ความเรียงวิจารณ์ขนาดยาวที่เป็นการทบทวนงานวิจัยใหม่อย่างน้อยสามบทความ บทความเหล่านี้วิเคราะห์สาระสำคัญในวงกว้าง หรือประเด็นในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่อยู่นอกเหนือเนื้อหาของหนังสือที่ตรวจสอบ นอกจากนี้ยังมีบทวิจารณ์หนังสือแบบสั้นสิบถึงสิบห้ารายการ รวมถึงบทความวิจารณ์ในการแปล"[14]
  6. อีฟริกิยา: งานวิจัยด้านการวิเคราะห์ที่มุ่งเน้นไปที่ประเทศในแถบแอฟริกาใต้สะฮารา[15]
  7. อิกติซาดี: เกี่ยวกับเศรษฐกิจตะวันออกกลาง ซึ่งวิเคราะห์การพัฒนาทางเศรษฐกิจในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ[16]
  8. ตุรกีสโคป: วิเคราะห์เหตุการณ์ในประเทศตุรกีสมัยใหม่ รวมถึงนโยบายและเหตุการณ์ในต่างประเทศ
  9. มิดเดิลอีสต์นิวสบรีฟ: เผยแพร่ทุกสัปดาห์ โดยสรุปเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์อาหรับ, ตุรกี และเคิร์ด ในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบทบรรณาธิการ กับข่าว

การกำกับดูแลและการเป็นหุ้นส่วน[แก้]

ศูนย์โมเช ดายัน ได้รับการควบคุมโดยคณะกรรมการผู้ว่าราชการอิสราเอล ตามคำแนะนำของสภาที่ปรึกษาระหว่างประเทศ ซึ่งบริหารโดยผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา ศูนย์ได้รับทุนทั้งหมดโดยการมอบเงินทุน, ทุนวิจัย และการบริจาคภาคเอกชนรวมถึงสถาบัน[17]

บางส่วนของโครงการอยู่ในความร่วมมือกับสภาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสาธารณรัฐตุรกี และมูลนิธิค็อนราท อาเดอเนาเออร์ การเชื่อมต่อต่างประเทศอื่น ๆ รวมถึงสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในนครนิวยอร์ก, สถาบันนโยบายต่างประเทศของตุรกีในอังการา, ชัทแธมเฮ้าส์ในกรุงลอนดอน, มหาวิทยาลัยเอมอรี, สถาบันวอชิงตันเพื่อนโยบายตะวันออกใกล้ และมหาวิทยาลัยเทคนิคตะวันออกกลางในอังการา[17]

ในปี ค.ศ. 2014 ศูนย์โมเช ดายัน เริ่มโครงการความร่วมมือระยะเวลา 5 ปีกับศูนย์จอร์จ แอล. มอสส์ / ลอเรนซ์ เอ. ไวน์สไตน์ เพื่อชาวยิวศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ส่วนในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 2015 ศูนย์โมเช ดายัน ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับศูนย์เพื่ออิสราเอลศึกษา (ประเทศจอร์แดน)

สิ่งตีพิมพ์ภายในหน่วยงานล่าสุดที่ได้รับเลือก[แก้]

  • อินบัล ทัล, "การแพร่กระจายข้อความของการเคลื่อนไหว, กิจกรรมของสตรีในความเคลื่อนไหวอิสลามในประเทศอิสราเอล" (ค.ศ. 2016)
  • อิตามาร์ ราได, "เรื่องของสองนคร: ชาวปาเลสไตน์ในกรุงเยรูซาเลมและจัฟฟา, ค.ศ. 1947–1948" (ค.ศ. 2015)
  • เอ็ด. แบรนดอน ฟรีดแมน และบรูซ แมดดี-ไวทซ์แมน, การปฏิวัติที่น่าอับอาย: ความสามัคคีของรัฐในตะวันออกกลางหลังอาหรับสปริง (ค.ศ. 2015)
  • เอ็ดส์. อูซี ราบี และชอล ยาไน, "อ่าวเปอร์เซียและคาบสมุทรอาหรับ: รัฐและสังคมในช่วงเปลี่ยนผ่าน" (ค.ศ. 2014)
  • โจชัว อาร์. กูดแมน, การโต้แย้งอัตลักษณ์ในไซนายใต้: พัฒนาการ, การปฏิรูป และการเปิดเผยเอกลักษณ์ของเบดูอินภายใต้กฎของอียิปต์ (ค.ศ. 2014)
  • เจสัน ฮิลแมน, "พายุในถ้วยน้ำชา": วิกฤติอิรัก-คูเวตในปี ค.ศ. 1961 จากวิกฤตอ่าวไปสู่ข้อพิพาทระหว่างอาหรับ (ค.ศ. 2014)
  • ฟูอัด อยามี, "การจลาจลของซีเรีย" (ค.ศ. 2013)
  • โจเซฟ คอสติเนอร์, "รัฐอ่าว: การเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ" (ค.ศ. 2012)

บุคลากรที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • อูซี ราบี, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ผู้อำนวยการคนปัจจุบันของศูนย์โมเช ดายัน ความเชี่ยวชาญของเขารวมถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของรัฐและสังคมในอ่าวเปอร์เซีย, อาคารของรัฐในตะวันออกกลาง, น้ำมันและการเมืองในตะวันออกกลาง, ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่าน-อาหรับ และความตึงเครียดของชาวซุนนี-ชีอะฮ์[18]
  • อิตามาร์ ราบิโนวิช,[19] ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐ นักวิจัยด้านประวัติศาสตร์และการเมืองของซีเรียและเลบานอน
  • ชิโมน ชาเมียร์, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต อดีตเอกอัครราชทูตอียิปต์และจอร์แดน และอดีตผู้อำนวยการสถาบันรอยเวน ไชโลห์
  • ไอริต แบค, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หัวหน้าฝ่ายแอฟริกาศึกษาที่ศูนย์โมเช ดายัน และเป็นผู้เขียน "การแทรกแซงและอธิปไตยในแอฟริกา: การแก้ปัญหาความขัดแย้งและองค์กรระหว่างประเทศในดาร์ฟูร์" (ค.ศ. 2016)
  • โอฟรา เบนจิโอ, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หัวหน้าเคิร์ดศึกษาที่ศูนย์โมเช ดายัน[20] และบรรณาธิการของ "ชาวเคิร์ด: การสร้างชาติในดินแดนที่กระจัดกระจาย" (ค.ศ. 2014)[21]
  • บรูซ แมดดี-ไวทซ์แมน, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต นักวิจัยอาวุโสของศูนย์โมเช ดายัน และเป็นผู้วิจัยในมหาวิทยาลัยอาวุโสที่สถาบันวิจัยนโยบายต่างประเทศ
  • แอชเชอร์ ซัสเซอร์, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต นักวิจัยอาวุโสของศูนย์โมเช ดายัน, ศาสตราจารย์กิตติคุณแห่งมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ และอดีตผู้อำนวยการศูนย์โมเช ดายัน[22]
  • พอล ริฟลิน, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต นักวิจัยอาวุโสของศูนย์โมเช ดายัน และบรรณาธิการของอิกติซาดี: เศรษฐกิจตะวันออกกลาง[23]
  • มิรา โซเรฟ, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ผู้วิจัยในมหาวิทยาลัยที่ศูนย์โมเช ดายัน
  • เอสตี เวบแมน, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต นักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์โมเช ดายัน
  • อียัล ซิสเซอร์, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต นักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์โมเช ดายัน, อดีตผู้อำนวยการศูนย์โมเช ดายัน และปัจจุบันเป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ

อ้างอิง[แก้]

  1. http://dayan.org/content/about-mdc
  2. Amoyal, Noa (7 March 2015). "Israel Simulation Highlights New Thinking". DefenseNews.com.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Hazkani, Shai (May 13, 2013). "Catastrophic Thinking: Did Ben-Gurion Try to Rewrite History?". Haaretz. สืบค้นเมื่อ January 29, 2017.
  4. "Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies - CFTAU". CFTAU (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  5. "Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies - CFTAU". CFTAU (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  6. "About the MDC Library". Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies. สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  7. "About the MDC Arabic Press Archives". Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies. สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  8. "Countering single-narrative academic tours of Israel | +972 Magazine". 972mag.com. สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  9. "Professor Uzi Rabi". The Common Good (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  10. Clawson, Patrick (March 1998). "Review of Middle East Contemporary Survey: Volume XIX, 1995". Middle East Quarterly. สืบค้นเมื่อ 28 March 2016.
  11. http://dayan.org/journal/tel-aviv-notes-contemporary-middle-east-analysis
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-07. สืบค้นเมื่อ 2018-09-07.
  13. http://dayan.org/journal/bayan-arabs-israel
  14. http://www.psupress.org/Journals/jnls_Bustan.html
  15. http://dayan.org/journal/ifriqiya-africa-research-and-analysis
  16. http://dayan.org/journal/iqtisadi-middle-east-economy
  17. 17.0 17.1 The Moshe Dayan Center เก็บถาวร 2007-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. "Uzi Rabi". สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  19. Itamar Rabinovich เก็บถาวร 2012-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. Middle East Forum, http://www.meforum.org/3838/israel-kurds
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 2018-09-11.
  22. "Professor Asher Susser". Coursera. Coursera.org. สืบค้นเมื่อ 26 March 2016.
  23. "Dr. Paul Rivlin". The Hertzl Institute. สืบค้นเมื่อ 28 March 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]