ศุภะ สุขะ ไจนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศุภะ สุขะ ไจนะ
शुभ सुख चैन

เพลงชาติของรัฐบาลชั่วคราวแห่งอินเดียอิสระ
เนื้อร้องร.อ.อะบิด อะลี, มุมตัซ ฮุสเซ็น, ค.ศ. 1943
ทำนองร.อ.ราม สิงห์ ฐากูร
รับไปใช้2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941
เลิกใช้18 สิงหาคม ค.ศ. 1945
ตัวอย่างเสียง
ไฟล์:आज़ाद हिंद फ़ौज कौमी तराना.ogg

"ศุภะ สุขะ ไจนะ" (ฮินดี: शुभ सुख चैन) เป็นชื่อเพลงชาติ (อูรดู: قومی ترانہ, Qaumī Tarānah) ของรัฐบาลชั่วคราวแห่งอินเดียอิสระ (Arzi Hukumat-e-Azad Hind เรียกโดยย่อ Azad Hind) เพลงนี้มีพื้นฐานมาจากบทกวี ชนะ คณะ มนะ ซึ่งเป็นบทกวีภาษาเบงกอลดัดแปลงเป็นภาษาสันสกฤต ผลงานของรพินทรนาถ ฐากูร หลังจากย้ายการเคลื่อนไหวจากเยอรมนีมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี ค.ศ. 1943 สุภาษ จันทระ โพส โดยความช่วยเหลือของมุมตัซ ฮุสเซ็น (Mumtaz Hussain) นักเขียนประจำสถานีวิทยุอินเดียอิสระ และพันเอกอะบิด ฮะซัน ซัฟฟรานี (Abid Hassan Saffrani) แห่งกองทัพแห่งชาติอินเดีย เขาได้เขียนเพลงชนะ คณะ มนะ ของฐากูรขึ้นใหม่เป็นภาษาฮินดูสตานี ในชื่อ "ศุภะ สุขะ ไจนะ" เพื่อใช้เป็นเพลงชาติ[1]

เนตาชี (ฉายาของสุภาษ จันทระ โพส) ให้ความสำคัญกับบทเพลงไว้ในฐานะที่มาของพลังในในการเตรียมใจสู้จนถึงที่สุด เขาได้ลงมายังสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพแห่งชาติอินเดีย ณ อาคารคาเธย์บิลดิ้ง ในประเทศสิงคโปร์ และให้ร้อยเอกราม สิงห์ ฐากูร (Ram Singh Thakur)[2] ประพันธ์ทำนองสำหรับใช้กับเพลงที่ได้แปลมาจากผลงานต้นฉบับภาษาเบงกอลของรพินทรนาถ ฐากูร โดยขอให้เขาแต่งเป็นทำนองมาร์ชซึ่งไม่ทำให้คนฟังแล้วหลับ แต่ปลุกคนที่หลับอยู่ให้ตื่นขึ้นมาแทน ต่อมาอินเดียได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ในวันถัดมา ชวาหระลาล เนห์รู ได้ชักธงติรังคะขึ้นเหนื้อเชิงเทินป้อมแดงเมืองเดลลี และกล่าวคำปราศรัยต่อประชาชาติ ในโอกาสนี้ ร้อยเอกราม สิงห์ ฐากูร ได้รับเชิญให้เล่นทำนอง "เพลงชาติ" (Qaumi Tarana) ของกองทัพแห่งชาติอินเดียพร้อมกับวงออร์เคสตร้าของเขาเป็นกรณีพิเศษ[3]

ประวัติ[แก้]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บทเพลงวันเท มาตะรัม เป็นบทเพลงซึ่งถูกขับร้องในการชุมชุมประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ในการประกาศจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวแห่งอินเดียอิสระที่สิงคโปร์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 ฝูงชนได้ร้องเพลงวันเท มาตะรัม อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิมกลับรู้สึกไม่สะดวกใจนัก เพราะเพลงนี้ใช้การอุปมาด้วยสัญลักษณ์ในศาสนาฮินดู และไม่พอใจในนิยายที่มีเนื้อหาโน้มเอียงไปทางต่อต้านมุสลิมเรื่อง "อานันทมฐะ" ("มหาวิหารแห่งสวรรค์") ซึ่งได้ตีพิมพ์บทเพลงนี้เอาไว้เป็นที่แรกอีกด้วย บรรดาผู้นำของกองทัพแห่งชาติอินเดียในสิงคโปร์ล้วนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และหวังว่าสุภาษ จันทระ โพส ผู้นำของกองทัพและรัฐบาลเฉพาะกาลจะแก้ปัญหานี้ได้ ลักษมี สหคัล (Lakshmi Sahgal) สมาชิกกองทัพฝ่ายปฏิบัติการ สนับสนุนให้เลือกเพลงชนะ คณะ มนะ ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของรพินทรนาถ ฐากูร และได้ขับร้องในการประชุมของสภาคองเกรสแห่งชาติอินเดียอยู่หลายครั้งมาใช้ เธอได้เรียบเรียงเพลงขึ้นเพื่อใช้ร้องในการประชุมสตรีซึ่งจัดขึ้นโดยโพส โพสได้เลือกเอาเพลงนี้ด้วยเห็นว่าเป็นตัวแทนของชาติได้อย่างแท้จริง แม้กระนั้น เขาก็ไม่พอใจกับข้อเท็จจริงที่ว่าเนื้อเพลงดังกล่าวเป็นภาษาเบงกอลที่ได้รับอิทธิพลภาษาสันสกฤตสูงมาก และได้สั่งให้ดำเนินการถอดความหมายโดยอิสระออกเป็นภาษาฮินดูสตานีแทน[4]

บทแปลซึ่งมีชื่อว่า "ศุภะ สุขะ ไจนะ" จึงถูกเขียนขึ้นโดยร้อยเอกอะบิด อะลี ส่วนทำนองสำหรับเนื้อดังกล่าวได้ประพันธ์ขึ้นโดย ร้อยเอกราม สิงห์ ฐากูร[3] เพลงนี้ได้เข้ามาแทนที่เพลงวันเท มาตะรัม ในฐานะเพลงชาติอย่างเป็นทางการของรัฐบาลเฉพาะกาล และได้นำไปใช้ขับร้องในการประชุมทุกครั้ง อันรวมถึงการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนที่โพสจะจากไปด้วย[5] ในบางครั้งมักถือว่าเป็นบทร้องฉบับภาษาฮินดีของเพลงชาติอินเดีย "ชนะ คณะ มนะ" แม้ความหมายของเพลง "ศุภะ สุขะ ไจนะ" จะผิดแผกจากเพลงต้นฉบับอยู่บ้างก็ตาม ไม่อาจถือว่าเป็นการแปลความหมายอย่างแท้จริงได้

ในวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1950[6] ดร.ราเชนทระ ปราสาท ผู้ซึ่งเป็นประธานาธิบดีอินเดียในเวลาต่อมา ได้ประกาศคำวินิจฉัยขั้นสุดท้ายให้เพลง "ชนะ คณะ มนะ" เป็นเพลงชาติของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นตัวเลือกเดียวกันกับที่เนตาชี สุภาษ จันทระ โพส ได้เลือกไว้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 และได้เล่นในฐานะเพลงชาติอินเดียอิสระเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1942 ณ เมืองฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี

บทร้อง[แก้]

อักษรเทวนาครี ปริวรรตเป็นอักษรละติน
(ISO 15919)
ปริวรรตเป็นอักษรไทย คำแปล

शुभ सुख चैन की बरखा बरसे ,
भारत भाग है जागा
पंजाब, सिन्ध, गुजरात, मराठा,
द्राविड़ उत्कल बंगा
चंचल सागर, विन्ध्य, हिमालय,
नीला यमुना गंगा
तेरे नित गुण गाएँ,
तुझसे जीवन पाएँ
सब तन पाए आशा।
सूरज बन कर जग पर चमके,
भारत नाम सुभागा,
जए हो! जए हो! जए हो!
जए जए जए जए हो!॥

॥ भारत नाम सुभागा ॥
 
सब के दिल में प्रीत बसाए
तेरी मीठी वाणी,
हर सूबे के रहनेवाले,
हर मज़हब के प्राणी,
सब भेद और फरक मिटा के,
सब गोद में तेरी आके,
गूँथे प्रेम की माला।
सूरज बनकर जग पर चमके,
भारत नाम सुभागा,
जए हो! जए हो! जए हो!
जए जए जए जए हो!॥

॥ भारत नाम सुभागा ॥

शुभ सवेरे पंख पखेरे,
तेरे ही गुण गाएँ,
बास भरी भरपूर हवाएँ,
जीवन में रुत लाएँ,
सब मिल कर हिन्द पुकारे,
जय आज़ाद हिन्द के नारे।
प्यारा देश हमारा।[a]
सूरज बन कर जग पर चमके,
भारत नाम सुभागा,
जए हो! जए हो! जए हो!
जए जए जए जए हो!॥

॥ भारत भाग है जागा ॥

Shubh sukh chain kī barkhā barse,
Bhārat bhāg hai jāgā.
Punjāb, Sindh, Gujarāt, Marāthā,
Drāvid, Utkal, Bangā,
Chanchal sagar, Vindhya, Himālaya,
nīlā Yamunā, Gangā.
Tere nit gun gāyen,
tujhse jīvan pāye,
sab tan pāye āshā.
Sūraj ban kar jag par chamke,
Bhārat nām subhāgā,
Jai ho! Jai ho! Jai ho!
Jai, jai, jai, jai ho!.

Bhārat nām subhāgā.

Sab ke dil mein prīt basae
teri mīthi vāni,
Har sūbē ke rahnewāle,
har mazhab ke prāni,
Sab bhed aur farak mitā kē
Sab godh mein tēri aake,
Gūnthē prēm ki mālā.
Sūraj ban kar jag par chamke,
Bhārat nām subhāgā,
Jai ho! Jai ho! Jai ho!
Jai, jai, jai, jai ho!

Bhārat nām subhāgā.

Shubh savere pankh pakhere,
tere hī gun gāye,
bās bhari bharpūr hawāen,
jeevan men rut lāye,
sab mil kar Hind pukāre,
jai Āzād Hind ke nāre.
Pyāra desh hamārā.
Sūraj ban kar jag par chamke,
Bhārat nām subhāga,
Jai ho! Jai ho! Jai ho!
Jai, jai, jai, jai ho!

Bhārat bhāg hai jāgā.

ศุภ สุข ไจน กี พรขา พรเส
ภารต ภาค ไห ชาคา
ปํชาพ, สินฺธ, คุชราต, มราฐา
ทฺรวิฑฺ, อุตฺกล, พํค,
จํจล สาคร, วินฺธฺย, หิมาลย,
นีลา ยมุนา, คํคาฯ
เตเร นิต คุณ คาเยํ
ตุฌเส ชีวน ปาเยํ
สพ ตน ปาเอ อาศาฯ
สูรช พน กร ชค ปร จมเก
ภารต นาม สุภาคา
ชย โห, ชย โห, ชย โห
ชย ชย ชย ชย โหฯ

ภารต นาม สุภาคา

สเพ เก ทิล เมํ ปฺรีต พสาเย,
เตรี มีฐี วาณีฯ
หร สูเพ เก รหเนวาเล,
หร มชหพ เก ปฺราณี,
สพ เภท เอาร ผรก มิฏา เก,
สพ โคท เมํ เตรี อาเก,
คูมฺเธ เปฺรม กี มาลาฯ
สูรช พน กร ชค ปร จมเก
ภารต นาม สุภาคา
ชย โห, ชย โห, ชย โห
ชย ชย ชย ชย โหฯ

ภารต นาม สุภาคา

ศุภ สเวเร ปํข ปเขเร,
เตเร หี คุณ คาเยํ,
พาส ภารี ภรปูร หวาเอํ,
ชีวน เมํ รุต ลาเยํ,
สพ มิล กร หินฺท ปุกาเร,
ชย อาชาท หินฺท เก นาเร
ปฺยาร เทศ หมารา
สูรช พน กร ชค ปร จมเก
ภารต นาม สุภาคา
ชย โห, ชย โห, ชย โห
ชย ชย ชย ชย โหฯ

ภารต ภาค ไห ชาคา

สายฝนแห่งความสุขอันวิเศษหลั่งลงมา
บัดนี้อินเดียได้ตื่นขึ้นมาแล้ว
ทั้งปัญจาบ สินธุ คุชราต มราฐา
ทราวิฑ อุตกัล พังคะ
ทะเลอันมีคลื่น เขาวินธัย เขาหิมาลัย
แม่น้ำยมนา แม่น้ำคงคาสีเข้ม
ต่างสรรเสริญท่าน
รับชีวิตจากท่าน
ทุกคนต่างมีความหวัง
จงรุ่งเรืองดังตะวันฉายแสงแก่โลกเถิด
นามแห่งภารตะอันเป็นมงคล
จงมีชัย จงมีชัย จงมีชัย
ชโย ชโย ชโย จงมีชัยชนะ!

นามแห่งภารตะอันเป็นมงคล

เสียงอันไพเราะของท่านจงยังให้ทุกดวงใจ
เต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก
ผู้อยู่อาศัยในทุกๆ มณฑล
ทุกเชื้อชาติศาสนา
ละทิ้งความแตกต่างของกันและกัน
ทุกคนนั่งอยู่ในตักของท่าน
ร้อยพวงมาลาแห่งรัก
จงรุ่งเรืองดังตะวันฉายแสงแก่โลกเถิด
นามแห่งภารตะอันเป็นมงคล
จงมีชัย จงมีชัย จงมีชัย
ชโย ชโย ชโย จงมีชัยชนะ!

นามแห่งภารตะอันเป็นมงคล

อรุณมงคลสาดแสงทุกเช้า
สรรเสริญท่านไม่เคยหยุด
สายลมพัดพากลิ่นหอมหวน
ปลุกให้ทุกชีวิตรื่นรมย์
ทั่วทั้งอินเดียพรั่งพร้อมกัน
เปล่งคำขวัญ "ชโย อินเดียอิสระ"
ประเทศที่เรารักยิ่ง
จงรุ่งเรืองดังตะวันฉายแสงแก่โลกเถิด
นามแห่งภารตะอันเป็นมงคล
จงมีชัย จงมีชัย จงมีชัย
ชโย ชโย ชโย จงมีชัยชนะ!

อินเดียได้ตื่นขึ้นมาแล้ว

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. (भारत प्यारा हमारा IAST: Bhārat pyāra hamārā) was also sung.[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Morning Song of India". wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 2010-11-03.
  2. "Capt. Ram Singh Thakur's interview". Rediff on NET.
  3. 3.0 3.1 "A tribute to the legendary composer of National Anthem", The Tribune, 2002-05-04, สืบค้นเมื่อ 2008-11-10, Snippet: ... Capt Ram Singh would be remembered for his composition of Jana Gana Mana, the original script of which was a little different. It was Sukh Chain Kee Barkha Barse, Bharat Bagiya Hai Jaga. ...
  4. Fay, Peter Ward (1995), The Forgotten Army: India's Armed Struggle for Independence 1942-1945, Ann Arbor: University of Michigan Press, ISBN 0-472-08342-2, pp. 230-234
  5. Fay, Peter Ward (1995), The Forgotten Army: India's Armed Struggle for Independence 1942-1945, Ann Arbor: University of Michigan Press, ISBN 0-472-08342-2, p. 380
  6. Volume XII. Tuesday, 24 January 1950. Online Transcript, Constituent Assembly Debates
  7. "National Anthem of Azad Hind (1941-1945) (Vocal)". YouTube.