ซาฮา ฮาดิด
เดม ซาฮา ฮาดิด DBE RA | |
---|---|
![]() ฮาดิดที่ศูนยืวัฒนธรรมเฮย์ดาร์อะลีเยฟ, 2013 | |
เกิด | ซาฮา โมฮัมมัด ฮาดิด 31 ตุลาคม ค.ศ. 1950 แบกแดด, ประเทศอิรัก |
เสียชีวิต | 31 มีนาคม ค.ศ. 2016 (65 ปี) ไมอามี, รัฐฟลอริดา, สหรัฐ |
สัญชาติ | อิรัก, สหราชอาณาจักร |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งเบรุต สถาบันสถาปัตยกรรมศาสตร์สมาคมสถาปัตยกรรม |
บิดามารดา | Mohammed Hadid Wajeeha Sabonji |
เว็บไซต์ | www |
การทำงาน | ซาฮา ฮาดิด อาร์คิเท็กส์ |
ผลงานสำคัญ | สถานีดับเพลิงวีทรา, MAXXI, บริดจ์พาวิลเลียน, ศูนย์ศืลปะร่วมสมัย, ศูนย์เฮย์ดาร์ อะลีเยฟ, ริเวอร์ไซด์มิวเซียม |
เดม ซาฮา โมฮัมมัด ฮาดิด DBE RA (อาหรับ: زها حديد Zahā Ḥadīd, โรมาเนีย: Zaha Mohammad Hadid, 31 ตุลาคม 1950 – 31 มีนาคม 2016) เป็นสถาปนิก, ศิลปิน และนักออกแบบชาวอังกฤษ-อิรัก และเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของวงการสถาปัตยกรรมในปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 ฮาดิดิเกิดที่เมืองแบกแดด ประเทศอิรัก และสมัครเข้าศึกษาต่อที่สถาบันสถาปัตยกรรมศาสตร์สมาคมสถาปัตยกรรมในปี 1972 งานออกแบบของฮาดิดมีความสนใจที่จะหาระบบมาทดแทนวิธีร่างแบบแบบดั้งเดิม ประกอบกับเธอได้รับอิทธิพลจากลัทธิซูพรีมาทิสม์และอะว็องต์-การ์แบบรัสเซีย ฮาดิดได้ใช้การละเลงสี (painting) เป็นเครื่องมือออกแบบ และใช้นามธรรมเป็นหลักการในการตรวจสอบเพื่อ "ตรวจสอบใหม่ (reinvestigate) บรรดาการทดลองที่ถูกทิ้งและไม่ได้ทดลองของลัทธิโมเดิร์นนิสม์ (Modernism) [...] เพื่อเปิดเผยสาขา (fields) ใหม่ ๆ ชองสิ่งก่อสร้าง"[1]
เดอะการ์เดียน เรียกขานเธอว่าเป็น "ราชินีแห่งเส้นโค้ง" (Queen of the curve)[2] ผู้ "ปลดปล่อยเรขนาคณิตในทางสถาปัตยกรรม และให้อัตลักษณ์เชิงแสดงออกใหม่ทั้งหมด (a whole new expressive identity)"[3]
ผลงานชิ้นสำคัญของเธอ เช่น ลอนดอนอควาทิกเซนเตอร์ให้กับโอลิมปิกปี 2012, พิพิธภัณฑ์ศิลปะบรอด, พิพิธภัณฑ์ MAXXI ที่โรม และ โรงอุปรากรกว่างโจว[4] รางวัลของเธอบางส่วนนั้นมอบให้ภายหลังมรณกรรมของเธอ เช่น รางวัลบริทปี 2017 และขณะที่เธอเสียชีวิตยังคงมีผลงานอาคารอีกมากที่ยังก่อสร้างอยู่ เช่น ท่าอากาสยานนานาชาติต้าซิง ที่ปักกิ่ง และสนามกีฬาอัลวักรอฮ ที่กาตาร์ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่แข่งขันฟีฟ่าปี 2022[5][6][7]
ในปี 2004 ฮาดิดเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมพริทซ์เคอร์[8] และได้รับรางวัลด้านสถาปัตยกรรมสูงสุดของสหราชอาณาจักร รางวัลสเตอร์ลิง ในปี 2010 และ 2011 และในปี 2012 เธอได้รับสถานะเดมโดยพระราชินีเอลิซาเบธที่สอง และในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 หนึ่งเดือนก่อนเธอเสียชีวิต[9] เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับพระราชทานเหรียญราชเดียรติยศทองคำจากราชวิทยาลัยสถาปนิกอังกฤษ[10][11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Serrazanetti, Francesca; Schubert, Matteo, บ.ก. (2011). Zaha Hadid: Inspiration and Process in Architecture. China: Moleskine. p. 56. ISBN 9788866130048.
Technology's rapid development and our ever-changing lifestyles created a fundamentally new and exhilarating backdrop for building, and in this new world context I felt we must reinvestigate the aborted and untested experiments of Modernism – not to resurrect them, but to unveil new fields of building.
- ↑ "Queen of the curve' Zaha Hadid died at aged 65 from heart attack". The Guardian. 29 November 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ Kimmelman, Michael (31 March 2016). "Zaha Hadid, Groundbreaking Architect, Dies at 65". The New York Times. ISSN 0362-4331.
- ↑ Kamin, Blair (1 April 2016). "Visionary architect 1st woman to win Pritzker". Chicago Tribune. p. 7.
- ↑ "Dame Zaha Hadid's Brit Awards statuette design unveiled". BBC News. 1 December 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFIFA 2022 Stadium
- ↑ Johnson, Ian (24 November 2018). "Big New Airport Shows China's Strengths (and Weaknesses)". New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ Nonie Niesewand (March 2015). "Through the Glass Ceiling". Architectural Digest. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ "Zaha Hadid receives Royal Gold Medal". architecture.com.
- ↑ "Dame Zaha Hadid awarded the Riba Gold Medal for architecture". BBC News. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:2