ศาสนาอิสลามกับกลุ่มคนแอลจีบีที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันผิดกฎหมาย:
  โทษประหารชีวิตแต่ไม่ถูกนำบังคับใช้
  โทษจำคุกตลอดชีวิต
  โทษจำคุก
  ไม่บังคับใช้บทลงโทษ

ทัศนคติต่อกลุ่มคนอย่างเลสเบียน, เกย์, รักร่วมสองเพศ, และกะเทย (แอลจีบีที) และประสบการณ์ที่พึงได้รับของกลุ่มคนในโลกมุสลิมได้รับอิทธิพลมาจากศาสนา, ข้อบัญญัติ, สังคม, การเมือง, และประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม[1][2][3][4] คัมภีร์อัลกุรอานบรรยายเรื่องราวของ "กลุ่มชนของนบีลูฏ" ว่าได้ถูกพระเจ้าทรงพิโรธ เนื่องจากการที่ชายมีสัมพันธ์ทางกามรมณ์ระหว่างกันและกัน[5][6][7] แต่นักประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่มีมุมมองว่าศาสดามุฮัมมัดไม่ได้กล่าวห้ามความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศ ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับกลุ่มคนรุ่นราวคราวเดียวกัน[8] ในขณะเดียวกัน "ทั้งคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษต่างประณามการกระทำรักร่วมเพศอย่างสิ้นเชิง";[9][5][10][11] ซึ่งมี หะดีษ บางบทกล่าวถึงบทกำหนดโทษสำหรับผู้ละเมิดถึงประหารชีวิตจากการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายรักร่วมเพศหรือหญิงรักร่วมเพศภายในที่สาธารณะ[1][2][12][13]

ปรากฏหลักฐานเป็นที่เล็กน้อยสำหรับการรายงานพฤติกรรมรักร่วมเพศในสังคมอิสลามในช่วงต้นศตวรรษถึงครึ่งศตวรรษของประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม (ช่วงพุทธศตวรรษที่ 11),[12] เป็นที่รู้กันว่าเป็นความสัมพันธ์แบบชายรักชาย[10] และถูกเพิกเฉยแต่ไม่ถูกทำนองคลองธรรมในแถบอาระเบีย[8] รักร่วมเพศเป็นสิ่งที่ต้องห้าม (ฮะรอม) ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม (มัซฮับ) แต่ละท้องที่ โดยจะมีบทลงโทษอย่างการเฆี่ยนตี, การปาหิน, และประหารชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม (มัดรอสะหฺ)[14][14] ในขณะเดียวกัน รักร่วมเพศเป็นสิ่งที่พอจะยอมรับได้ในทางปฏิบัติช่วงสังคมก่อนประวัติศาสตร์อิสลาม,[2][8][10][12][13] จากการบันทึกทางประวัติศาสตร์ บทลงโทษถูกใช้กับกรณีรักร่วมเพศน้อยครั้ง แต่มักใช้กับกรณีการข่มขืนและ "การละเมิดศีลธรรมอย่างร้ายแรงเป็นที่ประจักษ์"[12] โฮโมโรติกและเปเดรัสติสได้ปรากฏในวรรณกรรมและบทกวีในภาษาหลักของโลกอิสลามตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงยุคใหม่[8][12][15][13] ความรับรู้ถึงรักร่วมเพศตามวรรณกรรมของโลกอิสลามถูกมองว่าคล้ายคลึงกับประเพณีของกรีกกับโรมันในสมัยโบราณ มากกว่าที่จะหมายความถึงรสนิยมทางเพศในปัจจุบัน[8][12][16]

ในยุคสัมยใหม่ ทัศนคติสาธารณะต่อรักร่วมเพศในโลกอิสลามมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 จากการขยายการแผยแพร่ศาสนาของอิสลามมูลฐานวิทยาตั้งแต่การเคลื่อนไหวของสะลาฟีย์และวะฮาบีย์[14] โลกมุสลิมคงได้รับอิทธิพลของยุโรปในเรื่องแนวคิดเรื่องเพศและบรรทัดฐานที่แพร่หลายในขณะนั้น ประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นใหญ่คงใช้บทลงโทษทางอาญาต่อรักร่วมเพศที่บัญญัติในช่วงแรกของอาณานิคมภายใต้การปกครองของยุโรป[14] ขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวของกลุ่มแอลจีบีทีได้รับความสนใจในยุโรปและตะวันตก กลุ่มอิสลามสุดโต่งมองว่ายุโรปนั้นเชื่อมโยงกับรักร่วมเพศและต้องการความเสื่อมทางศีลธรรม[17] ในวัฒนธรรมสังคมร่วมสมัย อคติ, ความรุนแรง และการเลือกปฏิบัติ รวมถึงข้อบัญญัติต่างปรากฎต่อกลุ่มแอลจีบีทีในโลกมุสลิม[1] และทวีคูณรุนแรงโดยกลุ่มอนุรักษสังคมที่ปรากฏในช่วงนี้อย่างกลุ่มอิสลามิตในบางประเทศ[14][18][19] มีกฎหมายต่อต้านกิจกรรมทางเพศแบบรักร่วมเพศในประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ซึ่งกำหนดโทษประหารชีวิตไว้เฉพาะบางประเทศ[20]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Rehman, Javaid; Polymenopoulou, Eleni (2013). "Is Green a Part of the Rainbow? Sharia, Homosexuality, and LGBT Rights in the Muslim World" (PDF). Fordham International Law Journal. Fordham University School of Law. 37 (1): 1–53. ISSN 0747-9395. OCLC 52769025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2018. สืบค้นเมื่อ 30 October 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 Schmidtke, Sabine (June 1999). "Homoeroticism and Homosexuality in Islam: A Review Article". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. Cambridge and New York: Cambridge University Press on behalf of the School of Oriental and African Studies (University of London). 62 (2): 260–266. doi:10.1017/S0041977X00016700. eISSN 1474-0699. ISSN 0041-977X. JSTOR 3107489. S2CID 170880292.
  3. Murray, Stephen O. (1997). "The Will Not to Know: Islamic Accommodations of Male Homosexuality". ใน Murray, Stephen O.; Roscoe, Will (บ.ก.). Islamic Homosexualities: Culture, History, and Literature. New York and London: NYU Press. pp. 14–54. doi:10.18574/nyu/9780814761083.003.0004. ISBN 9780814774687. JSTOR j.ctt9qfmm4. OCLC 35526232. S2CID 141668547. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
  4. Polymenopoulou, Eleni (18 May 2020). "Forum: LGBTQ+ Issues in International Relations, Human Rights & Development – Same-Sex Narratives and LGBTI Activism in the Muslim World". Georgetown Journal of International Affairs. Washington, D.C.: Walsh School of Foreign Service at the Georgetown University. ISSN 1526-0054. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2020. สืบค้นเมื่อ 7 December 2021.
  5. 5.0 5.1 Rowson, Everett K. (2006). "Homosexuality". ใน McAuliffe, Jane Dammen (บ.ก.). Encyclopaedia of the Qurʾān. Vol. 2. Leiden: Brill Publishers. pp. 444–445. doi:10.1163/1875-3922_q3_EQCOM_00085. ISBN 90-04-14743-8.
  6. 7:80-84; 11:77-83; 21:74; 22:43; 26:165–175; 27:56–59; and 29:27–33.
  7. Kligerman (2007) pp. 53–54
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Murray, Stephen O.; Roscoe, Will; Allyn, Eric; Crompton, Louis; Dickemann, Mildred; Khan, Badruddin; Mujtaba, Hasan; Naqvi, Nauman; Wafer, Jim; Westphal-Hellbusch, Sigrid (1997). "Conclusion". ใน Murray, Stephen O.; Roscoe, Will (บ.ก.). Islamic Homosexualities: Culture, History, and Literature. New York and London: NYU Press. pp. 307–310. doi:10.18574/nyu/9780814761083.003.0004. ISBN 9780814774687. JSTOR j.ctt9qfmm4. OCLC 35526232. S2CID 141668547. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.
  9. Rowson, Everett K. (October 1991). "The Effeminates of Early Medina" (PDF). Journal of the American Oriental Society. American Oriental Society. 111 (4): 671–693. CiteSeerX 10.1.1.693.1504. doi:10.2307/603399. ISSN 0003-0279. JSTOR 603399. LCCN 12032032. OCLC 47785421. S2CID 163738149. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 October 2008. สืบค้นเมื่อ 7 November 2021.
  10. 10.0 10.1 10.2 Bosworth, C. E.; van Donzel, E. J.; Heinrichs, W. P.; Lewis, B.; Pellat, Ch., บ.ก. (1986). "Liwāṭ". Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Vol. 5. Leiden: Brill Publishers. doi:10.1163/1573-3912_islam_SIM_4677. ISBN 978-90-04-16121-4.
  11. Mohd Izwan bin Md Yusof; Muhd. Najib bin Abdul Kadir; Mazlan bin Ibrahim; Khader bin Ahmad; Murshidi bin Mohd Noor; Saiful Azhar bin Saadon. "Hadith Sahih on Behaviour of LGBT" (PDF). islam.gov.my (ภาษาอังกฤษ). Government of Malaysia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2018. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 Rowson, Everett K. (30 December 2012) [15 December 2004]. "HOMOSEXUALITY ii. IN ISLAMIC LAW". Encyclopædia Iranica. Vol. XII/4. New York: Columbia University. pp. 441–445. doi:10.1163/2330-4804_EIRO_COM_11037. ISSN 2330-4804. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2013. สืบค้นเมื่อ 13 April 2021.
  13. 13.0 13.1 13.2 Everett K. Rowson (2004). "Homosexuality". ใน Richard C. Martin (บ.ก.). Encyclopedia of Islam and the Muslim World. MacMillan Reference USA.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 Ibrahim, Nur Amali (October 2016). "Homophobic Muslims: Emerging Trends in Multireligious Singapore". Comparative Studies in Society and History. Cambridge and New York: Cambridge University Press. 58 (4): 955–981. doi:10.1017/S0010417516000499. ISSN 1475-2999. JSTOR 26293235. S2CID 152039212.
  15. Khaled El-Rouayheb. Before Homosexuality in the Arab-Islamic World 1500–1800. pp. 12 ff.
  16. Ali, Kecia (2016). Sexual Ethics And Islam. Oneworld Publications (Kindle edition). p. 105.
  17. "How homosexuality became a crime in the Middle East". The Economist. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-03. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
  18. Siraj, Asifa (September 2012). ""I Don't Want to Taint the Name of Islam": The Influence of Religion on the Lives of Muslim Lesbians". Journal of Lesbian Studies. Taylor & Francis. 16 (4: Lesbians, Sexuality, and Islam): 449–467. doi:10.1080/10894160.2012.681268. PMID 22978285. S2CID 22066812.
  19. Zaharin, Aisya Aymanee M.; Pallotta-Chiarolli, Maria (June 2020). "Countering Islamic conservatism on being transgender: Clarifying Tantawi's and Khomeini's fatwas from the progressive Muslim standpoint". International Journal of Transgender Health. Taylor & Francis. 21 (3): 235–241. doi:10.1080/26895269.2020.1778238. ISSN 1553-2739. LCCN 2004213389. OCLC 56795128. PMC 8726683. PMID 34993508. S2CID 225679841.
  20. Ghoshal, Neela, บ.ก. (26 January 2022). ""Even If You Go to the Skies, We'll Find You": LGBT People in Afghanistan After the Taliban Takeover". www.hrw.org (ภาษาอังกฤษ). New York: Human Rights Watch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2023. สืบค้นเมื่อ 21 February 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]