ชายรักร่วมเพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชายรักร่วมเพศสองคนจูบในงานเกย์ไพรด์
สัญลักษณ์ดาวอังคารสองอันทับซ้อนเป็นภาพแทนของชายรักร่วมเพศ

ชายรักร่วมเพศ หรือ เกย์ผู้ชาย (อังกฤษ: Gay men) หมายถึงบุคคลรักร่วมเพศที่เป็นผู้ชาย หรือผู้ชายที่มีอัตลักษณ์หรือพฤติกรรมทางเพศโน้มเอียงไปหาผู้ชายด้วยกันเป็นหลัก ในบางครั้ง ทั้งชายรักสองเพศ และ ชายโฮโมโรแมนติก อาจนิยามตนเองว่าเกย์ นอกจากนี้ยังมีเกย์ชายอีกจำนวนมากที่นิยามตัวเองว่า เควียร์[1] คำอื่น ๆ ที่ปรากฏใช้เป็นสแลงในอดีตสำหรับเรียกคนกลุ่มเดียวกันนี้ มีทั้ง แพนซี (pansy), แฟรี (fairy), เนลลี (nelly) และ ซิส (sissy)

นีล แพทริก แฮร์ริส และ เดวิด เบิร์ตกา คู่สมรสชายรักร่วมเพศในศตวรรษที่ 21

ชายรักร่วมเพศในปัจจุบันช่วงศตวรรษที่ 21 หลายพื้นที่ของโลกยังคงต้องประสบกับการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ขณะที่ในสหรัฐ กลุ่มชายรักร่วมเพศยังคงพบการเลือกปฏิบัติบ้างในชีวิตประจำวัน[2] ปัจจุบันบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่เปิดเผยว่าตนเองเป็นชายรักร่วมเพศ เช่น ทิม คุก, ทอม ฟอร์ด หรือ รูพอล เป็นต้น ขณะที่ในแวดวงนักการเมืองก็มีทั้งอาทิ พีต บูติเจิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสหรัฐ, ซาวีเอ เบิทเทิล นายกรัฐมนตรีของประเทศลักเซมเบิร์ก, ลีโอ วาแรดการ์ รองหัวหน้ารัฐบาลของไอร์แลนด์, เอลีโย ดี รูโป อดีตนายกรัฐมนตรีของเบลเยียม เป็นต้น หรือในวงการบันเทิงซึ่งปัจจุบันได้มีบุคคลสาธารณะออกมาเปิดเผยว่าตนเองเป็นชายรักร่วมเพศมากขึ้นอาทิ เอียน แม็กเคลเลน, เอลตัน จอห์น, เวนท์เวิร์ท มิลเลอร์, แมตต์ โบเมอร์, ริกกี มาร์ติน เป็นต้น ร่วมถึงในวงการกีฬาอาทิ โทมัส ฮิทเซิลส์แพร์เกอร์, ทอม เดลีย์, ดาร์เรน ยัง, กัส เคนเวิร์ทตี เป็นต้น

คำว่า เกย์ เคยถูกใช้เป็นคำเรียกชายรักร่วมเพศมาตลอดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น "บาร์เกย์" ยังคงปรากฏใช้ในกรณีของเกย์ผู้ชายเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในปลายศตวรรษที่ 20 คำว่าเกย์ได้ถูกแนะนำโดยชุมชนแอลจีบีทีให้นำมาใช้ เรียกสมาชิกของกลุ่มรักร่วมเพศ[3] โดยให้ "เลสเบียน" เรียกหญิงรักร่วมเพศ และ "เกย์ผู้ชาย" เรียกชายรักร่วมเพศโดยเฉพาะ[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Goldberg, Shoshana K.; Rothblum, Esther D.; Meyer, Ilan H.; Russell, Stephen T. "Who Identifies as Queer? A Study Looks at the Partnering Patterns of Sexual Minority Populations". American Psychological Association. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  2. "The Effects of Negative Attitudes on Gay, Bisexual, and Other Men Who Have Sex with Men". CDC. U.S. Department of Health & Human Services. 18 January 2019. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  3. "Avoiding Heterosexual Bias in Language". American Psychological Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2015. สืบค้นเมื่อ 14 March 2015. (Reprinted from "Avoiding heterosexual bias in language". American Psychologist. 46 (9): 973–974. 1991. doi:10.1037/0003-066X.46.9.973.)
  4. "GLAAD Media Reference Guide - Terms To Avoid". GLAAD. 25 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2012. สืบค้นเมื่อ 21 April 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]