วิชัย วงศ์ไชย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดร.วิชัย วงศ์ไชย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (86 ปี)
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสศาสตราจารย์ยุพา วงศ์ไชย

เภสัชกร ดร.วิชัย วงศ์ไชย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พรรคพลังธรรม[1] เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีบทบาทในทางด้านการเมืองคนสำคัญของพรรคพลังธรรม จนได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคพลังธรรม (กำกับดูแลภาคเหนือ) และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตน้ำดื่มดิวดรอป[2]

ดร.วิชัย เป็นข้าราชการบำนาญ และอาจารย์พิเศษภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานกรรมการบริษัทเชียงใหม่วงศ์ไชยกรุ้ป จำกัด และหน้าที่ต่างๆ เช่น กรรมการมูลนิธิอนุสารสุนทรเพื่อคนหูหนวก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิการศึกษาผู้พิการ กระทรวงศึกษาธิการ อดีตนายกสโมสรโรตารีเชียงใหม่ภูพิงค์ ที่ปรึกษาสหกรณ์น้ำดื่มภาคเหนือ วิทยากรสโมสรฝึกพูดเชียงใหม่ เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

ดร.วิชัย วงศ์ไชย เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายหลาน และนางคำออน วงศ์ไชย จบการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนทรายมูล และมัธยมที่ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จากนั้นได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้รับปริญญาตรีเภสัชศาสตร์ และปริญญาโททางชีวเคมี

จากนั้นได้รับทุนรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ศึกษาที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา จนได้รับปริญญาเอก สาขาชีวเคมี (Ph.D. Biochemistry) และยังจบการศึกษาพิเศษ หลักสูตรวิทยากรจริยธรรม จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) และหลักสูตรสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง ของกองบัญชาการทหารสูงสุด

ดร.วิชัย สมรสกับศาสตราจารย์ ยุพา วงศ์ไชย อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีบุตรี 1 คน ดือ ดร.ศศิชา วงศ์ไชย

ชีวิตราชการ[แก้]

ดร.วิชัย วงศ์ไชย รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเคยดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี ตำแหน่ง รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และยังได้ดำรงตำแหน่งอื่นอีกหลายตำแหน่ง อาทิ กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานสภาอาจารย์ 2 สมัย และประธานสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การก้าวสู่การเมือง[แก้]

ดร.วิชัย วงศ์ไชย ก้าวเข้าสู่การเมืองระดับชาติ สังกัดพรรคพลังธรรม เคยดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคพลังธรรม และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)จังหวัดเชียงใหม่ 2 สมัย

ในสมัยแรก จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 และได้รับแต่งตั้งให้เป็น ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (ถวิล ไพรสณฑ์)[4] กรรมาธิการวิสามัญงบประมาณ พ.ศ. 2536 กรรมาธิการการสาธารณสุข กรรมาธิการวิทยาศาสตร์ รองประธานกรรมาธิการวิสามัญภัยแล้ง ประธานกรรมการพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองประธานอนุกรรมาธิการพระราชบัญญัติวิชาชีพ (เภสัชกรรมและสภาทันตกรรมแห่งประเทศไทย) และประธานอนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบนิคมอุตสาหกรรมลำพูนต่อการสาธารณสุข

ในสมัยที่สอง จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองประธานกรรมาธิการเปิดเผยการประชุมลับและตรวจรายงานการประชุม ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมาธิการวิสามัญพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกรรมาธิการพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์[5]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 ดร.วิชัย ได้ลงสมัครในนามพรรคพลังธรรมเช่นเดิม แต่ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 7 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[6]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ดร.วิชัย ได้ลงสมัครในระบบัญชีรายชื่อ ในนามพรรคเสรีธรรม ลำดับที่ 17 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในปี พ.ศ. 2552 ดร.วิชัย วงศ์ไชย ได้ลงสนามเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งในสนามเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ได้รับหมายเลข 7 [7] แต่ผลปรากฏว่า ได้รับคะแนนเพียง 1,354 คะแนน [8]ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  2. "บริษัทน้ำดื่มดิวดรอป จำกัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๓๔/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง [นายวิชัย วงศ์ไชย ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]
  4. คำสั่งทบวงมหาวิทยาลัย ที่ ๔๒/๒๕๓๘ เรื่อง การแต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (นายวิชัย วงศ์ไชย)
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-28. สืบค้นเมื่อ 2004-09-28.
  6. ผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2004-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์กรมการปกครอง
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-23. สืบค้นเมื่อ 2009-09-22.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-30. สืบค้นเมื่อ 2012-07-30.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗