วิกิพีเดีย:เสนอบทความคุณภาพ/วัฒนธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัฒนธรรม[แก้]

วัฒนธรรม ถูกเสนอเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2551 และจะได้รับการพิจารณาภายในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551
เสนอชื่อ Sry85 (บทความนี้แปลมาจากภาษาอังกฤษที่เป็นบทความคุณภาพ ระดับสูง รบกวนช่วยพิจารณาด้วยนะครับ)
สนับสนุน
  1. สนับสนุนค่ะ --Tinuviel 18:28, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
คัดค้าน
เสนอแนะการปรับปรุง
  1. หัวข้อที่ 3-8 เป็นหัวข้อย่อยของ หัวข้อ 2 หรือเปล่า--161.200.255.162 20:03, 28 มกราคม 2551 (ICT)
    • ใช่แล้วครับ ตอนนี้แก้ไขแล้ว --Sry85 20:55, 28 มกราคม 2551 (ICT)
  2. บางประโยคอ่านแล้วงงค่ะ ขอยกตัวอย่างตามข้างล่างนี้ (จะเป็นประโยคที่อ่านภาษาไทยแล้วติดขัด งง จึงยกมานะคะ ยังไงก็รบกวนแนะนำด้วยค่ะ)
    • หัวข้อ "การนิยามวัฒนธรรม" ข้อความว่า "ในขณะที่ยังเป็นชุด มันก็จะเปลี่ยนแปลงไปทำให้เราสามารถพรรณนาได้ถึงวิวัฒนาการของกฎหมาย เครื่องมือฯ และการแต่งงานดังกล่าวได้" งงกับคำว่า ชุด น่ะค่ะ ย้อนไปดูต้นฉบับภาษาอังกฤษแล้วก็ไม่เข้าใจค่ะ
      • การแปล ผู้แปลได้แปลตามต้นฉบับภาษาอังกฤษ ที่อาจดูเข้าใจยากไปหน่อย แต่ก็ต้องตีความตามแต่ละท่าน -ตามการตีความของผม น่าจะแปลว่า มีนักวิชาการหลายท่านได้ตีความหมายวัฒนธรรมไว้หลายความหมาย และคุณ อัลเฟรด ครูเบอร์ และไคลด์ คลักคอห์น ได้รวบรวมไว้ใน "วัฒนธรรม: การทบทวนเชิงวิกฤติว่าด้วยมโนทัศน์และนิยาม" ซึ่งมี องค์ประกอบของวัฒนธรรม อย่าง กฎหมาย เครื่องมือสมัยหิน การแต่งงาน ฯลฯ รวมๆ กัน ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบวัฒนธรรมที่กล่าวถึง ก็มีวัฒนธรรมในแต่ละแบบเกิดขึ้นอีก ---- ให้ยกตัวอย่างก็น่าจะเป็น สมมติวัฒนธรรมจีน จะประกอบด้วยกฎหมาย การแต่งงาน ฯลฯ และทางด้าน การแต่งงาน ก็มีวัฒนธรรมของมันอีก ...แต่ก็รวมกันเป็นวัฒนธรรมจีน และมันก็เปลี่ยนแปลงกันไปตามช่วงเวลาของมัน ...ประมาณนี้มั้งครับ .... การแปล แบบนี้ก็น่าจะคงยังต้องคงรูปของการเขียนของผู้เขียนให้ตีความกันไป จะดีกว่า--Sry85 23:03, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
      • ขอบคุณค่ะ ส่วนตัวมีพื้นความรู้ทางด้านนี้ค่อนข้างน้อย จึงอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจค่ะ ขอบคุณที่ช่วยอธิบายนะคะ --Tinuviel 23:48, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
    • หัวข้อ "เอกวัฒนธรรมนิยม" "although recent increases in migration have led many European states to experiment with forms of multiculturalism." น่าจะแปลว่า "แต่การเพิ่มขึ้นของการย้ายถิ่นฐานในช่วงไม่นานมานี้ ทำให้หลายประเทศเริ่มหันไปใช้แนวทาง "อเนกวัฒนธรรมนิยม" บ้างแล้ว" --Tinuviel 21:33, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
      • แก้ไขตามที่แนะนำแล้วครับ --Sry85 23:03, 2 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
  3. อีกนิดค่ะ "Cultures, by predisposition, both embrace and resist change, depending on culture traits. For example, men and women have complementary roles in many cultures. One gender might desire changes that affect the other, as happened in the second half of the 20th century in western cultures. Thus there are both dynamic influences that encourage acceptance of new things, and conservative forces that resist change." คิดว่าน่าจะหมายถึง "แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ไม่ว่าในทางยอมรับหรือต่อต้าน ย่อมขึ้นอยู่กับรากฐานของวัฒนธรรมในสังคมนั้น ตัวอย่างเช่น ความเป็นชายและหญิงที่ต่างมีบทบาทอยู่ในหลายวัฒนธรรม เพศใดเพศหนึ่งอาจต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกระทบต่ออีกเพศหนึ่ง ดังเช่นที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมตะวันตกในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักดันชักจูงทั้งสองทาง คือการกระตุ้นให้ยอมรับสิ่งใหม่ และการอนุรักษ์ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้น" ค่ะ --Tinuviel 01:00, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
    • แก้ไขแล้วครับ --Sry85 15:10, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
  4. ภาษา ผมว่าการใ้ช้ภาษาบางส่วนอ่านดูแล้วไม่ค่อยเข้าใจหรือเปล่าครับ เช่น "คำว่า "วัฒนธรรม" มาจากภาษาบาลีบวกกับภาษาสันสกฤต" "ในภาษาอังกฤษของคำว่าวัฒนธรรม "culture" " "เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนต ไทเลอร์ เขียนมุมมองด้านมานุษยวิทยาสังคมไว้ ในสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2414 " หรือบางประโยคอาจจะต้องตีความหมายกันอีกรอบ เช่น "วัฒนธรรมสำแดงได้ด้วยดนตรี" "นิยามดังกล่าวนี้ และอีกหลายนิยามช่วยทำให้เกิดแคตาลอกขององค์ประกอบของวัฒนธรรม " หรือ ถ้าเป็นศัพท์ทางวิชาการอาจจะทำลิ้งภายในไว้ด้วยครับ และถ้าเป็นศัพท์ที่ไม่เจอกันบ่อย ก็อาจจะขยายความไว้บ้าง เช่น "วิสัยสามารถ" "เชิงของปทัสฐาน (Norm)" "ปริภูมิ-เวลา" โดยรวมเท่าที่อ่านมา 2 หัวข้อ รู้สึกเหมือนกำลังอ่านตำราทางสังคมศาสตร์เลยครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 21:59, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
    • วัฒน "สมาส" กับ ธรรม ครับ, อ้อ "แคตาลอก" ผมก็งงเหมือนกัน--ธวัชชัย 22:11, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
      • ได้แก้ไขเรื่องภาษาแล้วครับ น่าจะพออ่านง่ายขึ้นหน่อย ส่วนคำว่า วิสัยสามารถ กับ ปทัสฐาน ไม่รู้จะใช้คำไหนให้เหมาะสมกว่านี้ ขอคงไว้ นะครับ --Sry85 23:45, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
        • คงไว้คงไม่มีปัญหานะครับ แต่ควรขยายความหรือสร้างลิ้งภายในเพื่ออธิบายความหมายเหล่านั้นนะครับ ผมลองตรวจศัพท์บัญญัติของ norm พบว่า ทางรัฐศาสตร์และปรัชญา สามารถใช้ บรรทัดฐาน, ปทัสถาน, ปทัฏฐาน ซึ่งเขียนแตกต่างจาก ปทัสฐาน ที่ปรากฏในบทความ ผมไม่รู้ว่าในบทความนี้ต้องการสื่อความหมายของคำว่า norm ออกมาในทิศทางไหน แต่ถ้าความหมายของ ปทัฏฐาน ที่ใช้ในบทความเหมือนกับ บรรทัดฐานและปทัสถาน ผมว่าน่าจะเลือกใช้คำว่า บรรทัดฐาน ดีกว่า เพราะบทความควรจะใช้สำนวนที่อ่านเข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไปมากที่สุดครับ นอกจากความหมายจะต่างกันก็คงไว้แล้วอธิบายเพิ่มเติมครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 00:13, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
        • คิดเหมือนกันว่าคำว่า ปทัสฐาน คือ บรรทัดฐาน แต่ถ้ามันอยู่ในรูปประโยคที่ว่า "เชิงของบรรทัดฐาน" มันจะดูแปลกๆ (รึเปล่า?) --Sry85 00:43, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
          • ผมว่า ถ้าเป็น เชิงบรรทัดฐาน น่าจะดูดีกว่าคับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 01:28, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
            • แก้ตามคุณ ScorpianPK แนะนำแล้วครับ --Sry85 21:01, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
              • น่าจะลองตรวจสอบจุดอื่น ๆ ที่มีการใช้ ปทัสฐานด้วยนะครับ - ScorpianPK
    • หัวข้อวัฒนธรรมในเชิงของอารยธรรม "ใช้ตัวบ่งชี้วัฒนธรรมด้วย "อารยธรรม" แยกความเปรียบต่างของวัฒนธรรมด้วย "ธรรมชาติ"" แยกความเปรียบต่างตรงนี้ต้องการสื่ออะไรครับ-- ScorpianPK
  5. ขยายความ บางส่วนน่าจะขยายความสักนิดครับ เพราะอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรนะครับ เช่น "และโดยกฎระเบียบ นักโบราณคดีจะมุ่งเฉพาะไปที่วัฒนธรรมที่เป็นเรื่องราวเท่านั้น" น่าจะขยายตรง "โดยกฎระเบียบ" ครับ ว่ากฎระเบียบอะไร --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 21:59, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
    • ตัดคำว่า กฎระเบียบ ออก แล้วครับ --Sry85 00:00, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
  6. หัวข้อ "การนิยามวัฒนธรรม" ย่อหน้าที่ 4 อ่านแล้วรู้สึกว่า อัลเฟรด ครูเบอร์ และไคลด์ คลักคอห์น (2495) แต่งหนังสือเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้ความหมายของวัฒนธรรมครอบคลุมกว่าของเอ็ดเวิร์ด เบอร์เนต ไทเลอร์ (2414) และ ยูเนสโก (2543)--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 21:59, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
    • ความหมายคือ จาก เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนต ไทเลอร์ (2414) และ ยูเนสโก (2543) ได้ให้คำนิยาม วัฒนธรรม ซึ่งน่าจะครอบคลุมแล้ว แต่คุณ อัลเฟรด ครูเบอร์ และไคลด์ คลักคอห์น (2495) ก็ออกหนังสือ รวมความหมายนิยามวัฒนธรรม ... เพราะคำว่าวัฒนธรรม เป็นอะไรที่นามธรรม ถึงแม้ทั้ง 2 ความหมายข้างต้นจะดูเข้าใจแล้ว แต่ก็ยังไม่พอ .... ความหมายน่าจะเป็นอย่างนี้ครับ --Sry85 00:43, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
      • แต่ที่เขียนในบทความมันไม่ใช่แบบนี้นะครับ ถ้าลองอ่านดู "ในขณะที่นิยามทั้งสองนี้ครอบคลุมช่วงของความหมายได้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่ครอบคลุมถึงการใช้คำว่า "วัฒนธรรม" ได้ ดังนั้น เมื่อ พ.ศ. 2495 อัลเฟรด ครูเบอร์ และไคลด์ คลักคอห์น ได้รวบรวมรายการนิยามของคำ "วัฒนธรรม" ที่มีใช้กันอยู่ขณะนั้นไว้ได้ถึง 164 ความหมาย " ซึ่งหมายถึง นิยามของเอ็ดเวิร์ด เบอร์เนต ไทเลอร์ (2414) และ ยูเนสโก (2543) ยังไม่ครอบคลุม ดังนั้น อัลเฟรด ครูเบอร์ และไคลด์ คลักคอห์น (2495) จึงรวบรวมนิยามทั้ง 164 ความหมาย เพื่อให้ดูครอบคลุมมากขึ้น ตรงนี้ก็ควรจะแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 01:48, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
        • ผมลองแก้ไขประโยคนิดหน่อยนะครับ ไม่ถูกใจย้อนได้นะครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 02:47, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
  7. ช่วยๆ กันตรวจแก้ครับ, "การประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมได้เป็นการหมายถึงนวัตกรรมใดที่..." (แปลจาก "Cultural invention has come to mean any innovation that is...") ยังงงๆ ครับ (come to หมายถึง reach or be brought to a specified situation)--ธวัชชัย 23:30, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
    • ช่วยด้วยคน... แก้เป็นว่า "การประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม ได้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีประโยชน์แก่กลุ่มชนและแสดงถึงพฤติกรรมของพวกเขา โดยมิได้เป็นสิ่งซึ่งจับต้องได้" ดีไหมคะ --Tinuviel 00:05, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
    • จะว่าไป ภาษาที่แปลยังมีกลิ่นนมเนยอยู่แยะเหมือนกันค่ะ แหะๆ ติดที่ว่าเราไม่ค่อยมีพื้นความรู้ จะช่วยแปลก็กลัวแปลผิดน่ะค่ะ --Tinuviel 00:08, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
      • อยากช่วยแก้เหมือนกันครับ แต่กลัวแก้แล้วจะทำให้ความหมายผิดไปกันใหญ่ เลยขออนุญาตมาพูดคุยกันในนี้แทนแล้วกันนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 00:13, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
        • ได้แก้ตามที่คุณ Tinuviel แนะนำแล้วครับ ...อันที่จริง บทความนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้าง นามธรรมมากๆ ต้องอาศัยความรู้หลายๆ ด้าน และจินตนาการ ในการอ่านพอสมควร ซึ่งจริงๆแล้ว อ่านก็งง แต่ก็ต้องใช้การสรุปเอาเองตามความเข้าใจของตัวเอง เพราะเนื้อหามันนามธรรมมาก นักวิชาการอธิบายเรื่องนามธรรม ก็จะพูดแบบนามธรรม ให้ตีความกันเอาเอง .... ตัวผมไม่ได้เขียนบทความนี้เอง แต่ได้อ่าน ก็คิดว่าเป็นบทความที่ดี มีหลายแง่มุม ที่ทำให้เรื่อง ที่ลอยๆ อยู่ให้เห็นภาพชัดเจนได้ ขอบคุณครับที่ช่วยๆ กันแก้ไข --Sry85 00:43, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
          • ผมว่าปัญหามันไม่น่าจะอยู่ที่บทความเป็นนามธรรมนะครับ แต่น่าจะอยู่ที่ภาษาที่ใช้มากกว่า ซึ่งดูเหมือนจะทำให้ยากต่อการเข้าใจนะครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 01:48, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
  8. บทนำ น่าจะสรุปส่วนสำคัญของบทความ ตอนนี้ส่วนบทนำเป็นสิ่งที่ไม่มีในบทความนะครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 11:42, 6 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
    • สรุปเนื้อหาบทนำแล้วคร้บ --Sry85 13:07, 6 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
  9. หัวข้อวัฒนธรรมในเชิงสัญลักษณ์ มีประชาชนต้องมาก่อน-ไทย รวมอยู่ในอ้างอิงของ Bourdieu, P. 1977 ด้วยเหรอครับScorpianPK
    • เพิ่มอ้างอิงของไทยแล้วครับ --Sry85 18:14, 6 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)