วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร/ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน[แก้]

ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ถูกเสนอเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558 และจะได้รับการพิจารณาภายในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
หากบทความไม่ผ่านการพิจารณาในรอบแรก จะได้รับการพิจารณาครั้งสุดท้ายภายในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เสนอชื่อโดย Sry85 (พูดคุย) เขียนบทความโดยคุณ @Tikmok:
สนับสนุน
  1. เห็นด้วย --Opalzasw (พูดคุย) 11:48, 25 มิถุนายน 2558 (ICT)
คัดค้าน
เสนอแนะการปรับปรุง
  1. ไม่ควรมีสรรพนาม "คุณ" ในบทความ จะทำให้การเขียนดูไม่เป็นสารานุกรม --Horus | พูดคุย 19:57, 23 มิถุนายน 2558 (ICT)
    • อ่านดูแล้วก็เป็นสารานุกรมดีนะครับ ลองอ่านบริบทประโยค เป็นประโยคการตั้งคำถามที่แปลมาจากภาษาอังกฤษ อาทิ What do you find unpleasant about noisy parties? แปลเป็น "คุณไม่ชอบใจอะไรในงานปาร์ตี้ที่หนวกหู" แปลตรงตัวนะครับ แต่ก็ได้แก้ไขคำซ้อนไปบ้าง –Sry85 (พูดคุย) 21:59, 23 มิถุนายน 2558 (ICT)
      • ตัวอย่าง เช่น ในบทนำ "เราจะเรียกว่ามีความลำเอียงนี้เมื่อสะสมหรือกำหนดจดจำข้อมูลที่เราเลือกเฟ้น หรือว่าเมื่อมีการตีความหมายข้อมูลอย่างลำเอียง" ควรเป็น "จะเรียกว่ามีความลำเอียงนี้เมื่อสะสมหรือกำหนดจดจำข้อมูลที่บุคคลเลือกเฟ้น หรือว่าเมื่อมีการตีความหมายข้อมูลอย่างลำเอียง" แบบหลังจะดูเป็นสารานุกรมมากกว่าไหมครับ คือ บางจุดมันใช้ได้โอเค แต่คิดว่าไม่ทั้งหมดแน่นอน --Horus | พูดคุย 21:08, 25 มิถุนายน 2558 (ICT)
        • เหมือนผู้เขียนจะแปล คำว่า เรา จาก people ในภาษาอังกฤษเขาใช้คำนี้ ผมแก้ไปบางส่วน แต่บางส่วนก็คงไว้ ที่ดูไม่ขัดหูมาก –Sry85 (พูดคุย) 21:23, 25 มิถุนายน 2558 (ICT)
      • สารานุกรมควรเขียนเป็นข้อเท็จจริง ไม่เขียนแนวสนทนากับผู้อ่าน เพราะอาจเกิดปัญหา POV ขึ้นได้ --奥虎 ボンド 21:25, 25 มิถุนายน 2558 (ICT)
        • อ่านดูแล้ว ใช้คำว่า เรา เยอะเหมือนกันครับ แต่ย้อนไปดูภาษาอังกฤษ ก็ใช้คำว่า people เช่นกัน มีคำอื่นรึเปล่าครับ หรือจะใช้คำว่า มนุษย์–Sry85 (พูดคุย) 21:32, 25 มิถุนายน 2558 (ICT)
  2. การเขียนศัพท์เทคนิค ขอท้วงดังนี้
    1. ใช้คำไทยวงเล็บอังกฤษเพียงครั้งเดียวในบทความก็พอแล้ว ครั้งต่อ ๆ มาก็ใช้ภาษาเดียวก็พอ
      • ตรงไหนบ้างนะครับ ผมลองไล่ดูแล้ว ดูเหมือนไม่ซ้ำนะครับ หรือว่าพลาดตรงไหนไป–Sry85 (พูดคุย) 22:06, 23 มิถุนายน 2558 (ICT)
    2. คำใดที่มีบทความหรือคำภาษาไทยแน่นอนแล้ว ควรใช้คำนั้นเป็นหลัก แล้วเอาภาษาอังกฤษใส่วงเล็บแทน เช่น "publication bias (ความเอนเอียงในการตีพิมพ์ผลงาน)" ควรเป็น "ความเอนเอียงในการตีพิมพ์ผลงาน (publication bias)" --Horus | พูดคุย 20:06, 23 มิถุนายน 2558 (ICT)
  3. ในเชิงอรรถมีการอรรถธิบายอีกแล้ว ควรใช้ประโยชน์จากไฮเปอร์ลิงก์วิกิพีเดียมากกว่า --Horus | พูดคุย 20:06, 23 มิถุนายน 2558 (ICT)
      •  สำเร็จ ย้ายไปเป็นบทความ–Sry85 (พูดคุย) 22:27, 23 มิถุนายน 2558 (ICT)
  4. บางคำควรแก้ไขให้ดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น เช่น "ความอยู่ยงคงกระพัน" --Horus | พูดคุย 20:06, 23 มิถุนายน 2558 (ICT)
    • อาจจะใช้คำว่า ความคงอยู่ แต่ไม่รู้ผู้แปลมีความเห็นว่ายังไง เหมือนมีนัยยะแฝงอยู่ (การมีอยู่เรื่อยไป) ตามบริบท–Sry85 (พูดคุย) 22:39, 23 มิถุนายน 2558 (ICT)
      • ต้องขอบคุณคุณ Hoorus และ คุณ Sry85 ที่ช่วยกันแก้ มีนัยแฝงอยู่นิดเดียว คือ คนเขียนภาษาอังกฤษใช้คำพูดที่เจาะจงมาก belief perseverance เผอิญไม่พบพจนานุกรมที่แปลตรงความหมาย แต่แปลว่า endurance ได้เหมือนกัน จึงเสนอใช้คำแปลของคำนั้น คือ "ทนทาน" และ "ยั่งยืน" ขอบคุณอีกทีครับ ขอให้ประสบความสำเร็จในการเพิ่มความรู้ความเข้าใจครับ --Tikmok (พูดคุย) 13:17, 7 กรกฎาคม 2558 (ICT)