วิกิพีเดีย:สารวิกิพีเดีย/11-2553/ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารวิกิพีเดีย

สารวิกิพีเดีย

การระดมทุนทำลายสถิติ บทความคัดสรรรอบครึ่งปี และอื่น ๆ

ผู้ใช้:Horus 9 ธันวาคม 2553, ก


การเริ่มต้น "ทดสอบทางเทคนิค" การระดมทุนอย่างไม่เป็นทางการทำลายสถิติยอดบริจาค

แม้ว่าจะอธิบายว่าเป็น "การทดสอบทางเทคนิค" ก่อนเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤศจิกายน การระดมทุนในวันแรก ๆ ของวิกิมีเดียนับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน ก็ได้สร้างสถิติใหม่โดยมียอดบริจาคสูงสุดภายในหนึ่งวัน โดยในวันที่ 13 พฤศจิกายน มีเงินบริจาคกว่า 517,938.57 ดอลล่าร์สหรัฐจากผู้ให้บริจาคจำนวน 18,246 คน

ปรากฏว่าการเพิ่มขึ้นนอกกล่าวมาจากการใช้ป้ายกราฟฟิกซึ่งแสดงภาพส่วนตัวของจิมมี เวลส์ (ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างการทดสอบ ถึงจุดที่ว่าในช่วงแรกจะไม่มีป้ายข้อความใดที่ถูกส่งเข้ามาโดยประชาคมจะได้รับการนำไปใช้เลย) แต่ผู้อ่านจำนวนมากพบว่าป้ายดังกล่าวเป็นการก้าวก่ายกันเกินไป เจ้าหน้าที่ Deniz Gultekin ได้อธิบายว่า "ป้ายใหญ่ก็จริง แต่ก็มีประสิทธิภาพเช่นกัน" ในขณะที่ ขณะที่อาสาสมัครทีมสื่อสังคม (SM) User:Fetchcomms ได้รายงานว่า "มีทัศนคติของ ... "อย่ามีรูปจิมมีเลย ได้โปรด" บนทวิตเตอร์จำนวนมาก" และชี้ว่าผลตอบรับยินดีกับการออกแบบของป้ายอื่นที่จะถูกใช้ในภายหลังมากกว่า ผู้อ่านบางคนมีปฏิกิริยาขบขันในการพบภาพเวลส์มองพวกเขาจากด้านบนของหน้าวิกิพีเดีย มีคนหนึ่งได้เปรียบเทียบป้ายกับบทความโรคกลัวการถูกจ้องมอง อีกหลายคนมองป้ายว่าเป็น "จิมมี เวลส์ อันเดตสเคิร์จแห่งวิกิพีเดีย"

แผนกประชาคมของมูลนิธิได้โพสต์ข้อความประกาศการระดมทุนอย่างเป็นทางการ (""2010 Contribution Campaign launched") และการเผยแพร่สื่อในวันที่ 15 พฤศจิกายน จากแผนกการพัฒนาทั่วโลก ("Seventh Annual Campaign to Support Wikipedia Kicks Off") The Signpost

บทความคัดสรรรอบครึ่งปี

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ปฏิบัติการเท็งโงได้ผ่านการคัดเลือกเป็นบทความคัดสรรลำดับที่ 81 หลังจากสถานีอวกาศนานาชาติได้ผ่านการคัดเลือกเป็นบทความคัดสรรลำดับที่ 80 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ซึ่งห่างกันนับ 6 เดือน โดยระหว่างนั้น ได้มีการเสนอบทความคัดสรรหลายบทความ แต่ไม่ผ่านการคัดเลือก คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (23 กรกฎาคม) พระอภัยมณี (10 สิงหาคม) สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (5 ตุลาคม) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (19 ตุลาคม) ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม (4 พฤศจิกายน) และเอลวิส เพรสลีย์ (7 พฤศจิกายน)

โดยในหน้าเสนอบทความดังกล่าว มีผู้สนับสนุนบทความ 1 เสียง และข้อเสนอปรับปรุงลิงก์ในบทความถือว่าไม่มีผลต่อการคัดเลือกบทความคัดสรร

ข่าวสั้น

  • สตรีในวิกิพีเดีย: ในการโพสต์ล่าสุด ชื่อเรื่องว่า "Unlocking the Clubhouse: Five ways to encourage women to edit Wikipedia" ผู้อำนวยการบริหาร ซู การ์ดเนอร์ ได้สรุปการขาดการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในวิกิพีเดียและในวัฒนธรรมหุบเขาซิลิกอนโดยทั่วไป และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงประเด็นปัญหานี้ การ์ดเนอร์ ผู้ซึ่งเริ่มทำงานในด้านการกระจายเสียงสาธารณะได้ชี้ให้เห็นสถิติที่สำคัญหลายประการ: มีผู้ร่วมพัฒนาวิกิพีเดียเพียง 13% เท่านั้นที่เป็นสตรี และน้อยกว่า 2% ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เสรี และร้อยละที่ลดลงของผู้เชี่ยวชาญหุบเขาซิลิกอน ซู การ์ดเนอร์ได้ยกคำกล่าวมาจาก "Unlocking the Clubhouse" หนังสือในปี พ.ศ. 2544 ในหัวข้อที่เขียนโดยนักวิชาการ เจน มาร์โกลิส และแอลเลน ฟิชเชอร์ และได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ MIT โดยสรุปเป็นใจความหลัก 5 ประเด็น The Signpost
  • แผนผังความคิดจากบทความวิกิพีเดีย: เว็บไซต์ en.inforapid.org ได้ให้ไดอะแกรมคล้ายแผนผังความคิดซึ่งแสดงความเชื่อมโยงระหว่างบทความวิกิพีเดียใด ๆ กับบทความที่คล้ายกัน ได้รับการประกาศโดยบริษัทเยอรมัน Inforapid ในฐานะที่เป็นโครงการไม่ใช่เชิงพาณิชย์เพื่อสาธิตเซิร์ฟเวอร์ "KnowledgeMap" ฝ่าย WikiMindMap เองก็ได้จัดทำแผนผังความคิดที่คล้ายกัน (โดยใช้ซอฟต์แวร์ FreeMind เป็นหลัก) ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยมีโครงสร้างที่เรียบง่ายกว่า แต่มีข้อดีตรงที่อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบเสรี The Signpost
  • ทำไมนักวิชาการไม่ร่วมแก้ไข: บนวิกิวิทยาลัย en:User:Mietchen (ผู้ซึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการวิจัยของมูลนิธิวิกิมีเดียและล่าสุดได้เป็นบรรณาธิการจัดการของซิติเซนเดียม) ได้ลำดับรายการ "สิบเหตุผลหลักที่นักวิชาการไม่ร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย" โดยตั้งใจให้เป็น "พื้นฐานสำหรับการอภิปรายการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญในวิกิพีเดียและโครงการวิกิอื่น ๆ The Signpost
หน้าหลัก เกี่ยวกับ ความเห็น ขอรับรายเดือน กรุ