วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร/ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์[แก้]

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถูกเสนอเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และจะได้รับการพิจารณาภายในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
หากบทความไม่ผ่านการพิจารณาในรอบแรก จะได้รับการพิจารณาครั้งสุดท้ายภายในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เสนอชื่อโดย Clumsy
สนับสนุน
  1. สนับสนุนค่ะ --Nini(๑→ܫ←)ノ♫♬ 23:23, 5 สิงหาคม 2553 (ICT)
คัดค้าน
เสนอแนะการปรับปรุง
  1. คิดว่าส่วน เกร็ด ถ้าทำได้ ควรรวมเข้ากับส่วนอื่นของบทความ หรือไม่ก็เปลี่ยนชื่อครับ เพราะวิกิพีเดียไม่รวบรวมเกร็ดความรู้ --Horus | พูดคุย 21:18, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    1. ได้รูปแบบมาจากบทความ "Bürgerliches Gesetzbuch" (หน้าไทย: "เบือร์แกร์ลิชส์เกเซทซ์บุค") หรือ "ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน" ที่ใส่ "trivia" ("เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย" เห็นว่าคำแปลนี้ตรงความหมายดี) ไว้ตรงก้น
    2. ส่วน "เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย" ในบทความ "ป.พ.พ." นี้ ไม่เชิงเป็นเกร็ดความรู้ ("insignificant knowledge") ตามนโยบาย จะเป็นอะไรก็อธิบายไม่ค่อยถูก แต่มันก็ควรรู้จริง ๆ น่ะแหละ ประกอบกับไม่เห็นเหมาะสมจะใส่ไว้ข้างบน (เพราะเป็นเรื่อง "ประวัติ") จึงแยกหัวข้อย่อยมารวมกันไว้เป็น "เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย"
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๒๑:๒๘ นาฬิกา (ICT)
    • เปลี่ยน "เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย" เป็น "ลักษณะของตัวบท" เพราะเห็นว่าเกี่ยวกับตัวบท (provisions)
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๒๑:๔๑ นาฬิกา (ICT)
  2. ลิงก์เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ควรมีบทความครับ --Horus | พูดคุย 21:18, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • รบกวนขยายความหน่อยค่ะ :)
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๒๑:๒๘ นาฬิกา (ICT)
    • ผมหมายถึงลิงก์ในบทความนี้ควรเป็นลิงก์แดงให้น้อยที่สุดครับ และส่วน บทความหลัก หรือ ดูเพิ่มที่ ไม่ควรมีลิงก์แดง ถ้าผมมีเวลาว่างอาจจะช่วยถมนะครับ --Horus | พูดคุย
  3. จะว่าอะไรไหมครับถ้าผมจะเปลี่ยนเลขเป็นเลขอารบิกตามบทความส่วนใหญ่ --Horus | พูดคุย 21:20, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีหลักเกณฑ์อะไรจึงจะใช้เลขไทยได้ แต่เห็นว่า บทความนี้เป็นเรื่องไทยจริง ๆ กับทั้งวงการกฎหมายและศาลไทยเองก็มีนโยบายใช้เลขไทย ตำรับตำราคำอธิบายกฎหมาย คำพิพากษา รวมถึงตัวบทกฎหมายเอง จะใช้เลขไทยทั้งสิ้น บทความนี้จึงใช้เลขไทย แต่หากจะเปลี่ยนก็แล้วแต่ มิได้ยึดติดกับตัวเลขมากมายค่ะ
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๒๑:๓๔ นาฬิกา (ICT)
    • ตอนนี้ได้แปลงเป็นเลขอารบิกแล้ว อาจมีข้อผิดพลาดบางประการ ถ้ามีก็แก้ได้เลยครับ --Horus | พูดคุย 08:18, 18 กรกฎาคม 2553 (ICT)
  4. โดยทั่วไปดีแล้วครับ อยากจะเติมเกร็ดนิดเดียว คือ คำว่า "บรรพ" มาจาก book ไม่แน่ว่า ร. 6 เป็นผู้ทรงกำหนดเองด้วยหรือไม่
    --taweethaも 21:57, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • ใช้ "บรรพ" รัชกาลที่ ๖ บัญญัติสำหรับ "Book" มีแหล่งอ้างอิงด้วย แต่ไม่รู้จะไปใส่เนื้อหาตรงไหนดี ประกอบกับปัจจุบัน คำว่า "บรรพ" มิได้ใช้แต่สำหรับ "ป.พ.พ." อย่างเดียวอีักแล้วด้วย (ระเบียบคณะกรรมการอะไรสักอย่างที่มีหน้าที่ร่างกฎหมาย แต่ไม่ใช่คณะกรรมการกฤษฎีกา กำหนดให้ เวลาทำประมวลกฎหมาย ให้ "บรรพ" เป็นหน่วยใหญ่สุด) มันเลยกลายเป็นคำทั่ว ๆ ไปไปแล้ว
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๒๒:๐๖ นาฬิกา (ICT)
    • จะใส่ตรงเกร็ด หรือจะเขียนมันเป็นอีกบทความก็ได้ แต่ผมคิดว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นที่มาของศัพท์กฎหมายที่ใช้กันในภาษาไทยและเป็นคำที่ไม่ใครกล้าเปลี่ยน ! --taweethaも 22:14, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
  5. ปกติแล้วจะมีข้อวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายไทยอยู่มาก ไม่มีข้อใดเข้ากับ ป.พ.พ. ได้บ้างเลยหรือ จะไม่ใส่ฎีกาบ้างหรือครับ
    --taweethaも 21:57, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • นอกจากที่ใส่ไว้ใน "ลักษณะของตัวบท" แล้ว ดูเหมือนไม่ค่อยมีวิจารณ์โดยรวม จะเ้ป็นวิจารณ์การปรับบทของศาลมากกว่า
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๒๒:๐๖ นาฬิกา (ICT)
    • ทีกฎหมายอาญา ยังมีวิพากษ์วิจารณ์กันมากมาย ถ้า ป.พ.พ. ไม่มีบ้างเลยคงจะแปลก เรื่องหนี้เขาแก้จาก 50 บาทแล้ว ก็คงไม่เป็นที่น่าวิพากษ์วิจารณ์อีกต่อไป แต่ผมคิดว่ายังหาเรื่องที่สำคัญจริงๆ และมีคนพูดถึงอยู่ได้อีกหลายเรื่องแน่นอน อาจลองดูเว็บของรัฐสภาดูร่างเสนอแก้ที่มีอยู่ในสภามาเติมสีสันให้บทความก็ได้ คนอ่านจะได้รู้ว่ากฎหมายเป็นของคนเป็น และมีชีวิตเช่นเดียวกับเรา กฎหมายไม่ใช่ของคนที่ตายไปแล้ว (ไม่จำเป็นต้องเขียน แต่ถ้าสื่อได้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านอย่างมาก)--taweethaも 22:18, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • อย่างที่บอกเช่นกัน มันเป็นเรื่องย่อยมากกว่า ป.พ.พ. โดยรวม เช่น แก้เรื่องหมั้น จาก "ชาย" "หญิง" เป็น "บุคคลใด" เพื่อให้เท่าเทียม, แก้ให้ทั้งชายทั้งหญิงก็เรียกค่าทดแทนได้, ล่าสุด แก้เรื่องหมั้นต้องมีของหมั้น ไม่งั้นสัญญาไม่เกิด ฯลฯ ถ้ามีข้อมูลที่เห็นสมควร ก็แก้ไขเพิ่มเติมบทความได้ค่ะ (ช่วงนี้ข้าพเจ้ามีเวลาเข้ามาเขียนมาตอบก็นับว่ามากแล้วนะนี่)
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๒๒:๓๙ นาฬิกา (ICT)
    นั่นแหละครับ ก็เป็น contemporary issue ที่แม้ว่าเป็นส่วนย่อย แต่แสดงให้เห็นถึงพลวัตร มิฉะนั้นแล้วผมอ่านบทความนี้รู้สึกว่าเป็นกฎหมายของคนตายมากกว่ากฎหมายของคนเป็น (คิดได้อีกอันหนึ่งเรื่องแก้เรื่องสินส่วนตัว/สินสมรส นั่นก็เก่าพอดู แต่เป็นตัวอย่างการแก้ไขที่สะท้องการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวไทยได้ แสดงถึงความเป็นปัจเจกชนของคู่สมรสมากขึ้น) ส่วนเรื่องหญิงๆ ชายๆ ผมรู้สึกว่ามันไปสะท้อนผ่านกฎหมายอาญา คำนำหน้านาม และคำวินิจฉัยของศาล รธน. มากกว่าใน ป.พ.พ. ใน ป.พ.พ. เรื่องพวกนี้ถ้าจะวิพากษ์วิจารณ์กันจริงๆ ก็คงต้องพูดถึง Civil Union / De facto relationship มากกว่า ไม่อยากพูดมากกว่านี้เดี๋ยวพาออกทะเล --taweethaも 22:50, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • นึกไม่ออกว่าวันนั้นจะพูดอะไร แต่บัดนี้นึกออกแล้ว เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ กะจะเขียนอยู่แล้ว คือ ในหัวข้อ "การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งเละพาณิชย์" และโปรดดู คำตอบข้อ ๙
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๑๕:๒๑ นาฬิกา (ICT)
  6. วิ.แพ่ง พูดถึงนิดเดียวเองครับ ของมันอยู่คู่กัน ถ้าอีกอันยังไม่มีบทความ ก็สงเคราะห์บรรยายเพิ่มให้อีกนิดหน่อยก็ดีนะครับ
    --taweethaも 22:23, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
  7. ตัวกฎหมายฉบับเต็ม ถ้าลิงก์ PDF โดยตรงเลยได้ไหมครับ ไม่ต้องผ่านห้องสมุดกฎหมาย และถ้าจะคัดลองลงวิกิซอร์สอีกทางก็จะดีไม่น้อย
    --taweethaも 22:23, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • ในห้องสมุดกฎหมายของกฤษฎีกา มี "ผีดีเอฟ" ซึ่งเคยลองลิงก์มาแล้ว แต่ตั้งแต่เว็บกฤษฎีกาปรับปรุงใหม่ ลิงก์ตรง ๆ ไม่ได้เลย จึงต้องอ้อมให้ไปเข้าห้องสมุดกฎหมายแทน (แต่ดูเหมือนของ "โครงการกฎหมายลองดู" ที่ใส่ไว้ด้วย จะมี "ผีดีเอฟ" ให้เหมือนกัน แต่ลิงก์ตรง ๆ ไม่ได้เหมือนกันมั้ง)
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๒๒:๓๔ นาฬิกา (ICT)
    งั้นก็ลอกลงวิกิซอร์สโลดเลย --taweethaも 22:50, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
  8. นอกเหนือจากหัวข้อ ประวัติ โครงสร้าง และลักษณะของตัวบท ควรมีหัวข้อในด้าน ผลกระทบ ไม่ว่าจะในแง่สังคมหลังการออกกฎหมายหรือผลกระทบด้านอื่นๆ --Sry85 18:12, 11 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • มีเนื้อหาเช่นนี้อยู่ในหัวข้อข้างต้นแล้ว มีลักษณะกลืนกัน พาดพิงถึงกัน จึงมิได้แยกเด่นชัด (เช่น เป็นการกลับไปใช้ระบบกฎหมายเดิมเหมือนสมัยตราสามดวง เพราะไทยใช้ระบบซีวิลลอว์ ฝรั่งด่า เปลี่ยนไปเอากฎหมายคอมมอนลอว์แบบอังกฤษมาใช้ชั่วคราว ก่อนจะกลับไปซีวิลลอว์ เป็นการพลิกสังคมไป ๆ มา ๆ แบบหน้ามือเป็นหลังมือ หรือกรณีเปลี่ยนระบบสังคมจากหลายผัวหลายเมีย เป็นผัวเดียวเมียเดียว เป็นต้น)
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๑๕:๑๓ นาฬิกา (ICT)
      • ควรแยกออกมาเป็นหัวข้อ เพื่อผู้อ่านจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนกว่า อันเนื่องด้วยส่วนประวัติมีเนื้อหาอันยาวเหยียด และคำพูดต่างๆ ที่ยาวมาก จะได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนจริงๆ ว่าอะไรคือผลกระทบ --Sry85 15:56, 16 กรกฎาคม 2553 (ICT)
  9. หัวข้อ การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีแต่หัวข้อ ยังไม่มีเนื้อหา --Sry85 18:12, 11 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • ใช่ค่ะ เพราะมันย่อย ประการหนึ่ง เนื้อหามันมาก ประการหนึ่ง ต้องใช้เวลารวบรวม ประการหนึ่ง จึงทำเป็นลิงก์ (สำหรับเริ่มเป็นหน้าบทความใหม่) ค้างไว้เพื่อรอคอยทำต่อไปในอนาคต กระนั้น ถึงแม้หน้านี้ยังไม่สร้างก็หาได้กระทบต่อบทความ "ป.พ.พ." แต่ประการใดไม่ เพราะถึงจะเกี่ยวข้องกัน แต่เนื้อหาก็ค่อนข้างเป็นอิสระต่อกัน (ถึงขนาดที่ควรเริ่มเป็นบทความใหม่) จึงยังมิได้สร้างขึ้นพร้อม ๆ กัน
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๑๕:๑๕ นาฬิกา (ICT)
      • ควรสรุปออกมา หรือไม่ก็สร้างบทความเพื่อขยายความ เพราะมีแต่หัวข้อ บทความก็ยังไม่สมบูรณ์ --Sry85 15:56, 16 กรกฎาคม 2553 (ICT)
  10. quote หลายแห่งยาวเกินไปหรือไม่ครับ น่าจะลดทอนและย้ายลงวิกิซอร์สได้บางส่วน --taweethaも 18:16, 11 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • ไม่เกินไปนะ เพราะตัดมาแต่เฉพาะส่วนสำคัญแล้ว ต้นฉบับจริง ๆ ยาวเป็นหลายหน้า ส่วนมากเป็นพวกราชโองการ ราชดำรัส ราชสาร และหลายส่วนเป็นราชโองการประกาศกฎหมายซึ่งในวิกิซอร์สก็มีอยู่แล้ว
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๐, ๑๕:๑๑ นาฬิกา (ICT)
    ลองคิดปริมาณคร่าวๆ เป็น % ของบทความซิครับ มันจะเยอะกว่าบทความทั่วไปไหม ขนาดบทความเรื่อง declaration of independence หรือบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายหรือประกาศที่สำคัญ ก็มิได้มีปริมาณ quote ที่มากอย่างมีนัยสำคัญระดับนี้ ลองมองคร่าวๆ แล้วกันครับว่าในปััจุบัน เนื้อหาที่เรียบเรียงเอง มีเท่าไหร่ของบทความ และ quote รวมทั้งอ้างอิง มีเท่าไหร่ สำหรับอ้างอิงตรงท้ายดีแล้ว ถ้าคิดว่าเยอะไปจับใส่กล่องได้ ส่วน quote ถ้าทุกแห่งมีอ้างอิงที่เข้าถึงได้ง่ายแล้ว ผมยังคิดว่าสามารถลดทอนตัดให้สั้นลงหรือตัดออกไปบ้าง เพื่อให้เนื้อหาที่เรียบเรียงขึ้นมาเองเด่นขึ้นมา ผู้อ่านที่สนใจ quote เหล่านั้นสามารถศึกษาต่อได้จากแหล่งอ้างอิงที่ให้ไว้ --taweethaも 19:28, 17 กรกฎาคม 2553 (ICT)
  11. ผมไม่แน่ใจว่าต้องเปลี่ยนชื่อบทความเป็น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย หรือเปล่าเพราะกฎหมายแพ่งประเทศอื่นก็มี รอผู้เชี่ยวชาญมาเพิ่มเติมอีกทีแล้วกันครับ --Chale yan 14:50, 12 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • ไม่ต้อง เพราะประเทศไทยประเทศเดียวที่ใช้ชื่อ "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" (Civil and Commercial Code) ส่วนประเทศอื่น ๆ และรัฐในประเทศอื่น ๆ ล้วนใช้ชื่อ "ประมวลกฎหมายแพ่ง" (Civil Code)
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๖, ๑๕:๒๓ นาฬิกา (ICT)
  12. ในหัวข้อ ลักษณะของตัวบท ควรมีหัวข้อย่อย concept ของกฎหมาย (Writing about particular concepts) ใช่ หัวข้อ การให้เหตุผลในตัวบท ที่เป็น concept รึเปล่า อ่านแล้วไม่ค่อยแน่ใจ en:Wikipedia:Manual of Style (legal)) --Sry85 15:56, 16 กรกฎาคม 2553 (ICT)
    • "concept" ที่ว่า คือ กรอบของกฎหมาย (ดู บทความ "Law of Thailand" ก็จะบอกว่า ในประเทศไทย กฎหมายสารบัญญัติ มีกรอบอย่างไร อาทิ ประเภทกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดอย่างนั้นอย่างนี้) ซึ่งในบทความนี้มีแล้ว อยู่ในส่วนโครงสร้างของ ป.พ.พ. ที่กล่าวว่า ป.พ.พ. วางบทกฎหมายเรื่องแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจัดหมวดหมู่เป็น ๖ บรรพ บรรพนี้ว่ากระไร บรรพนั้นว่ากระไร
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๗.๑๖, ๑๖:๒๕ นาฬิกา (ICT)